f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self - Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านน้ำราบ
วันที่   9   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 102
Bookmark and Share


 บทสรุปผู้บริหาร  

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

โรงเรียนบ้านนน้ำราบ   ตั้งอยู่   เลขที่  167 หมู่ 4  ตำบลบางสัก  อำเภอกันตัง  จังหวัดตรัง

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น    

พื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เปิดจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 

ถึงระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนจำนวน 101 คน มีบุคลากรจำนวน 8 คน ประกอบด้วย    

ข้าราชการครูจำนวน 6 คน  ครูอัตราจ้างของโรงเรียนจำนวน 1 คน  เจ้าที่ธุรการจำนวน 1 คน

       ความเป็นมา

โรงเรียนบ้านน้ำราบตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2486 โดยการนำของ นายพร้อม ทองชนะ กำนันตำบลบางสักในขณะนั้นและ ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านที่เห็นความสำคัญของการศึกษา ต้องการให้บุตรหลานมีความรู้ความสามารถอ่านออกเขียนได้จึงช่วยกัน สละแรงงาน วัสดุสร้างอาคารเรียนชั่วคราว  ขนาด  4 X 8  เมตร หลังคามุงด้วยใบจาก ฝากั้นไม้กระดาน โดยนายแฟ็ด สะหมาด เป็นผู้อุทิศ ที่ดินให้ 6 ไร่

 1 งาน มีนายแดง หมื่นโพธิ์ เป็นครูใหญ่และครูท่านแรกของโรงเรียนนี้ เปิดทำการสอนตั้งแต่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในขณะนั้นมีนักเรียนชายหญิง รวมทั้งหมด 28 คน เมื่อ พ.ศ. 2506 นายประกอบ คำโต ครูใหญ่โรงเรียนบ้านน้ำราบ ได้ประสานงานกับคณะกรรมการ ของตำบลขอสถานที่ที่ดินทุ่งมะเมา ซึ่งเป็นที่ดินสาธารณะของหมู่บ้าน เพื่อใช้เป็นที่ปลูกสร้างโรงเรียนที่ประชุม คณะกรรมการตำบลเห็นชอบด้วย เนื้อที่ทั้งหมด 14 ไร่ 3 งาน 18 ตารางวา ชาวบ้านได้สละเงิน แรงงาน  สมทบกับเงินทางราชการก่อสร้างอาคารเรียนถาวร ขนาด 9 X 18 เมตร ( อาคารเรียนไม้ ) แล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2512 ปัจจุบันโรงเรียนบ้านน้ำราบ เปิดสอน 2 ระดับก่อนประถมศึกษา และระดับประถมศึกษา

เขตบริการการจัดการศึกษาของโรงเรียน

               ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

 1. ระดับการศึกษาปฐมวัย      

       มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก           มีผลการประเมินอยู่ในระดับ   ดีเลิศ

   มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ               มีผลการประเมินอยู่ในระดับ   ดีเลิศ

   มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ         มีผลการประเมินอยู่ในระดับ   ดีเลิศ

   1.1 มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ดีเลิศ

         1. กระบวนการพัฒนา

       โรงเรียนบ้านน้ำราบได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็กตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีรูปแบบการจัดการเรียนสอนที่ครูผู้สอนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธีการ เทคนิค รูปแบบที่ทันสมัย น่าสนใจ ผ่านเครื่องมือสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ โดยจะมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยครูจัดการเรียนรู้ที่     เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ออกแบบกิจกรรมที่หลากหลาย มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยการจัดโครงการ กิจกรรมในการพัฒนาเด็กอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้เด็กมี  พัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เหมาะสมกับวัยและเป็นไปตามสภาพที่ พึงประสงค์ สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และบรรลุตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

       2.  ผลการพัฒนา

     เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตตามวัย มีน้าหนัก ส่วนสูง และสมรรถภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน  มีทักษะการเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็กประสานสัมพันธ์กัน มีสุขนิสัยการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยที่ดีและปฏิบัติจนเป็นนิสัยได้ ปฏิบัติตนในการหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีพฤติกรรมร่าเริงแจ่มใส รู้จักยอมรับ ชื่นชม และพอใจในความสามารถ และผลงานของตนเองและผู้อื่น กล้าพูด กล้าแสดงออก เหมาะสมกับวัย รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่นตามโอกาส ช่วยเหลือตนเองใน

       3. จุดเด่น

    เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา บรรลุตามเป้าหมายสถานศึกษา กำหนด มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตร มีโครงการกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาให้บรรลุ  เป้าหมาย ปรัชญา วิสัยทัศน์และจุดเน้นการศึกษาปฐมวัย มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมของครู ผู้บริหารและผู้ปกครองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

       4. จุดที่ควรพัฒนา

        1. ควรส่งเสริมให้เด็กดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองและปฏิบัติจนเป็นนิสัยดูแลเด็กให้รู้จักการหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อโรคที่ระบาดในยุคปัจจุบัน

   2. ควรส่งเสริมให้เด็กรู้จักการไหว้การยิ้มทักทายมีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ การมีมารยาทในการพูด  การรู้จักใช้คำพูดขอบคุณ ขอโทษ การใช้วาจาสุภาพเหมาะสมกับวัย

       3. ครูนำเทคนิคการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ และส่งเสริมด้านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานบ้านวิทยาศาสตร์น้อยอย่างต่อเนื่อง

        5.  แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

        ๑. พัฒนาเกี่ยวกับการใฝ่เรียน ใฝ่รู้ สนใจเรียนรู้รอบตัว การซักถาม สำรวจ ทดลอง การสังเกต  การพูดคุย  การถ่ายทอดความคิด และทดลองวิธีการใหม่ ๆ ที่แตกต่าง

        2. ส่งเสริมให้เด็กได้ใช้สื่อเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ให้มากขึ้น และพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กับเด็กให้มากกว่านี้

        1.2 มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ดีเลิศ

            1. กระบวนการพัฒนา

  โรงเรียนบ้านน้ำราบได้ดำเนินการบริหารและจัดการสถานศึกษาโดยเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย มี การกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน มีการจัดทาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีการวางแผน และจัดอัตรากาลังครูให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมกับจานวนผู้เรียนและห้องเรียน ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดทักษะและมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็กเป็นรายบุคคล จัดให้มีชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนปฐมวัย มีการจัดสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ พร้อมทั้งมีสื่อและเทคโนโลยีที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิด  การเรียนรู้

             2. ผลการพัฒนา

 โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น มีครูเพียงพอต่อชั้นเรียน ครูมีทักษะและความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของครูเครือข่ายปฐมวัย เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ มีสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนที่สะอาด ปลอดภัย และเอื้อต่อการเรียนรู้ มีสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุน การจัดประสบการณ์ มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

              3. จุดเด่น

สถานศึกษามีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่นและลงมือปฏิบัติจริงการจัดการเรียนรู้ตอบสนองความต้องการ  และความแตกต่างของเด็ก  ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข มีครูจบการศึกษาปฐมวัยและครูที่ผ่านการอบรมด้านการศึกษาปฐมวัยครบชั้น  ทำให้ การจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีการส่งเสริมพัฒนาความรู้ ความสามารถด้านวิชาชีพแก่ครู และบุคลากรอย่างต่อเนื่อง มีสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์      

  การเรียนรู้ และมีการเปิดช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน

              4.  จุดควรพัฒนา

 1. ใช้สื่อและเทคโนโลยีการสอนที่หลากหลายสอดคล้องกับการจัดประสบการณ์และพัฒนาการของเด็ก

 2. จัดกิจกรรม PLC ในสายชั้นอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง

มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

2. ส่งเสริมและพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมแบบ Active Learningกิจกรรมโครงงาน กิจกรรมสะเต็มศึกษา ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อย่างต่อเนื่อ

     1.3  มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ดีเลิศ

           1. กระบวนการพัฒนา

 โรงเรียนบ้านน้ำราบดำเนินการส่งเสริมให้ครูระดับปฐมวัยมุ่งพัฒนาเด็กปฐมวัย ให้มีพัฒนา การครบทั้ง ๔ ด้าน คือด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างสมดุล  และเต็มศักยภาพ โดยความร่วมมือของพ่อแม่และครอบครัว ชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง จัดทำแผนการจัดประสบการณ์จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา ออกแบบและบูรณาการ การจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยผ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงและปฏิบัติอย่างมีความสุข ให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระตาม  ความต้องการ ความสนใจความสามารถตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลหลากหลายรูปแบบ มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีมาบูรณาการการสอนตามหน่วยการเรียนรู้ ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพได้จริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการสมวัย

2.  ผลการพัฒนา

 ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างสมดุลเต็มศักยภาพ เด็กได้รับประสบการณ์ตรงและปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้ลงมือปฏิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข ครูสามารถจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน และเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้เด็ก ครูมีการประเมินพัฒนาการเด็ก โดยวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล จากกิจกรรม และกิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือการวัด และวิธีการที่หลากหลาย ครอบคลุม เหมาะสมกับวัยเด็ก ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

          3. จุดเด่น

จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลศักยภาพ โดย ครูมีการวิเคราะห์เป็นรายบุคคล มีการจัดทาแผนประสบการณ์จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตามความต้องการ ความสนใจ และความสามารถ ซึ่งกิจกรรมที่หลากหลายสามารถสนองตอบการเรียนรู้ของเด็กรายบุคคล เด็กได้เล่นเรียนรู้ ลงมือและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุง แก้ปัญหา และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

           4. จุดควรพัฒนา

๑. ครูควรได้รับการอบรมการพัฒนาศักยภาพของด้านการผลิตสื่อการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีการติดตามและประเมินผลพัฒนาการเด็กอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

2. ครูจัดกิจกรรมให้เด็กแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

3. การนำผลสะท้อนการจัดการเรียนการสอนของครู มาเป็นประเด็นในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน

แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

1. ส่งเสริม และพัฒนาการใช้สื่อเทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ให้มากกว่าเดิม

2. เชิญวิทยากรท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้ ลงมือทำ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข

 

2.  ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

มาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพของผู้เรียน                                         มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ                           มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ 

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ    มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

                 กระบวนการพัฒนา

         โรงเรียนบ้านน้ำราบได้ดำเนินการโดยการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา

พุทธศักราช 2562 ตามหลักสูตรแกนกลาง พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) เพื่อให้ผู้เรียน

เกิดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาและส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาให้ประชากรวัยเรียนทุก       

คนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยการพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้เป็นบุคคลที่มี 

ความรู้คู่คุณธรรมมีความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ การพัฒนาสู่คุณภาพระดับสากล

ยกระดับคุณภาพผู้เรียนทุกคนให้มีพัฒนาการเหมาะสมกับวัย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น มีคุณธรรม และ

สำนึกความเป็นไทย โดยเน้นการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น มีทักษะการคิดวิเคราะห์ เชื่อมั่นในการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และมีความสามารถด้านเทคโนโลยี โดยผู้เรียน

ได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพสอดคล้องกับความถนัดและเต็มตามศักยภาพ ในปัจจุบันโรงเรียนจัดกิจกรรม การเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพในการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละ กลุ่มสาระที่สูงขึ้น มีผล การประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร มีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์

และเขียน และมีผล การทดสอบระดับชาติ เป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดและจะต้องมีความพร้อมในทุก ๆ ด้านในการสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักพัฒนาตนเองเพื่อ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีจิตอาสา รักและหวงแหนในศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ของตนเอง มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี กล้าแสดงออก ยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างที่มี ความหลากหลาย สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ในส่วนของครู ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่มีความหลากหลาย ส่งเสริมทักษะใน การทำงานที่เน้นการลงมือปฏิบัติ การใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร เน้นให้เกิดทักษะในการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณมีความสามารถในการแก้ปัญหา ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ

           ผลการพัฒนา

  ด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของโรงเรียนบ้านน้ำราบ พบว่า ผลการประเมิน ทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (RT) เฉลี่ยร้อยละ 93.36 ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 3.2 ผล การประเมินทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (RT) รวม ๒ ด้าน เฉลี่ยร้อยละ 93.36 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ร้อยละ 14.36 ผลการประเมินทดสอบความสามารถ พื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) รวม ๒ ด้าน เฉลี่ยร้อยละ 43.55 ค่าเฉลี่ยลดลงจากปีการศึกษา ๒๕๖5 ร้อยละ 14.23 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาภาษาไทย เฉลี่ยร้อยละ

69.63 ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นนจากปีการศึกษา ๒๕65 ร้อยละ 18.53 วิชาคณิตศาสตร์ เฉลี่ยร้อยละ 25.02ค่าเฉลี่ย เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๖5 ร้อยละ 3.84 วิชาวิทยาศาสตร์ เฉลี่ยร้อยละ 38.75 ค่าเฉลี่ยเพิ่มชี้น จากปีการศึกษา ๒๕๖5 ร้อยละ 4.37 วิชาภาษาอังกฤษ เฉลี่ยร้อยละ 29.17 ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา

๒๕๖5 ร้อยละ 3.91

           จุดเด่น

 ประเด็นพิจารณาที่ ๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

            พบว่า หลักสูตรมีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายเป็นไปตามความต้องการของ ผู้เรียนและสภาพปัญหาสอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและชุมชน/ท้องถิ่น นำผลจากกระบวนการ PLC สร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนพัฒนาผู้เรียนตามประเด็นท้าทายแบบ Active Learning มีการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านและเขียนการสื่อสารในภาษาไทยพบว่า ผลการประเมินทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (RT) เฉลี่ยร้อยละ 93.36 ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น จากปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 3.2 ผลการประเมินทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียน ระดับชาติ (RT) รวม ๒ ด้าน เฉลี่ยร้อยละ 93.36 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ร้อยละ 14.36 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ระดับ 3 ขึ้นไป เฉลี่ยร้อยละ 91.78 ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๖5 ร้อยละ 18.84 ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ระดับ 3 ขึ้นไป เฉลี่ยร้อยละ 84.93 ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๖5 ร้อยละ 4.68 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ระดับ 3 ขึ้นไป เฉลี่ยร้อยละ89.04 ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก ปีการศึกษา ๒๕๖5 ร้อยละ 10.03

         ประเด็นพิจารณาที่ ๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

 โรงเรียนบ้านน้ำราบ มีการพัฒนาทักษะในการทำงานของนักเรียนมีการส่งเสริมอาชีพ กิจกรรม

แนะแนวเพื่อการประกอบอาชีพ มีผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผ่านร้อยละ 100 ประเมินผ่านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ลูกเสือ เนตรนารี จิตอาสาร้อยละ 100 นักเรียนผ่านการประเมิน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ร้อยละ 98.61 นักเรียนมีคุณธรรม คุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามสถานศึกษา กำหนดมีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไทยได้รับการส่งเสริม การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน จากการทำกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ มีการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย นักเรียนได้รับการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่าง การส่งเสริมประชาธิปไตยในสถานศึกษาโดยประเมินการทำกิจกรรมโครงการส่งเสริม ประชาธิปไตยในสถานศึกษาร้อยละ 100 นักเรียนได้รับการดูแลตาม ๕ ขั้นตอนของระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนจากผลการคัดกรองนักเรียน ร้อยละ ๑๐๐ นักเรียนได้รับการดูแล ส่งเสริมสุขภาวะทางร่างกายจาก โครงการอาหารกลางวัน

ร้อยละ ๑๐๐

           จุดควรพัฒนา

            การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดกระบวนการเรียน การสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในบางกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่จะส่งผลต่อการสอบวัดผลระดับชาติ การจัดกระบวนการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ การคิดแก้ปัญหาด้วยตนเองของผู้เรียน การคิดเชิงสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์นวัตกรรมสู่งานอาชีพให้กับผู้เรียน

  แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

  1.โรงเรียนมีการกำหนดกรอบโครงการและกิจกรรมที่มีความครอบคลุม มีการจัดลำดับความสำคัญ ของแต่ละโครงการและกิจกรรมที่มีความเร่งด่วนในการที่จะนำมาปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนให้ดีขึ้นมา

เป็นพื้นฐานในการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน

2.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อนำไปพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาผลการทดสอบระดับชาติ

๓. พัฒนาทักษะวิชาการ ทักษะวิชาชีพ ทักษะชีวิตความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่

เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ผลงานเป็นนวัตกรรม

4.  พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจ  เห็นคุณค่าและร่วมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและสร้างมูลค่า

     2.1   มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ดีเลิศ 

      กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านน้ำราบจัดกระบวนการบริหารและการจัดการ เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ได้มี

การปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปีให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหา และ ความต้องการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษา ร่วมทั้งให้มีความสอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ของประเทศ จัดสรรงบประมาณ ทรัพยากรต่าง ๆ และสรุปผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมีการบริหาร อัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีระบบการนิเทศภายใน การนำข้อมูล มาใช้ในการพัฒนา บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม การวางแผน ปรับปรุง พัฒนา และ ร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา

      ผลการพัฒนา

           โรงเรียนบ้านบ้านน้ำราบ มีแผนพัฒนาการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ที่เป็นไปได้ในการ ปฏิบัติ ตามกำหนดเป้าหมายมาตรฐานการศึกษา กลยุทธ์ นโยบายและจุดเน้น วิสัยทัศน์และพันธกิจ ที่ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน และนโยบายของรัฐ มีระบบบริหาร จัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจนส่งผลต่อ คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านน้ำราบ ได้พิจารณาแผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ ๒๕๖6 มีผลจากการดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตร สถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครู และบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และ จัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ มีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดี ถูกสุขลักษณะ

จุดเด่น

โรงเรียนบ้านน้ำราบมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่กำหนดไว้ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของ สถานศึกษาตามความต้องการของชุมชน มีวัตถุประสงค์ของแผนการจัดการศึกษาของชาติ นโยบายของรัฐบาล และต้นสังกัด ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม พัฒนางานวิชาการเน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน ตามหลักสูตร สถานศึกษา และส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญตรงตามความต้องการ ให้เป็น ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงานและจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา

จุดควรพัฒนา

การเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา ผู้เรียน สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง

และมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา ในการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา มีการจัดกิจกรรม ในด้านการพัฒนาวิธีการเรียนรู้ในชุมชนท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น และควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครู ผู้ปกครอง นักเรียนและชุมชนเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่อย่างสม่ำเสมอ

     แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

โรงเรียนบ้านน้ำราบมีแผนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานร่วมกัน มีแผนการจัด สภาพแวดล้อม ทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพโดยเฉพาะภายในห้องเรียน

2.3 มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีผลการประเมินอยู่ในระดับ :                             ดีเลิศ      

           กระบวนการพัฒนา

 โรงเรียนบ้านน้ำราบได้ดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการจัด

กิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่าน กระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนําไปจัดกิจกรรมได้จริง มีรูปแบบ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะทางวิชาการ ทักษะความสามารถพิเศษ ต่างๆตามความถนัด กล้าแสดงออก แสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้นําเสนอผลงาน และสามารถนําไป ประยุกต์ใช้ในชีวิต สนับสนุนให้ครูทุกกลุ่มสาระมีการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้ง ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่ หลากหลาย มีการจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC จัดการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงบริบทของชุมชน และมีการประเมินผู้เรียนอย่างหลากหลายตามกิจกรรมที่กำหนด

ผลการพัฒนา

ครูมีความรู้และความมุ่งมั่นตั้งใจ เพื่อการจัดการเรียนการสอน สามารถนาความรู้ที่ได้รับจาก การพัฒนาตนเองมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลายและมีความสอดคล้องกับหลักสูตร สถานศึกษา เข้าใจปัญหาและความต้องการของผู้เรียน ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนของครูครอบคลุม ทักษะกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดเด่น

โรงเรียนบ้านน้ำราบส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยดำเนิน การประเมินและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา  ครูผู้สอนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาตนเอง อยู่เสมอ มีการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมห้องเรียนให้เหมาะสมแก่การเรียนรู้ มีการตรวจสอบและประเมิน ความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนวิธีการที่หลากหลายอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน

จุดควรพัฒนา

โรงเรียนบ้านน้ำราบส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้ยังไม่ส่งเสริมกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติจริง เท่าที่ควร โรงเรียนบ้านน้ำราบจึงควรส่งเสริมให้ครูวิเคราะห์ผู้เรียน เพื่อวางแผนออกแบบการเรียนรู้และ ส่งเสริมศักยภาพนักเรียนให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งข้อตกลงการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ

ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ควรมีการนาภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย

ทุกระดับชั้นให้มากขึ้น โดยเน้นการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติและพัฒนา กระบวนการคิดของตนเอง

แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

โรงเรียนบ้านน้ำราบมีแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยเน้นฝึกความรับผิดชอบ ความเป็น ระเบียบเรียบร้อยให้มีความสอดคล้องกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา สนับสนุนงบประมาณเพื่อ การผลิตและการใช้สื่อ และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ภายในโรงเรียนให้พอเพียงต่อ ความต้องการของผู้เรียนและผู้สอนให้มากยิ่งขึ้น



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.