[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566
ผู้เขียน : โรงเรียนวัดไตรสามัคคี
วันที่   25   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 206
Bookmark and Share


บทสรุปของผู้บริหาร

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

ชื่อโรงเรียน : โรงเรียนวัดไตรสามัคคี 

ที่อยู่ : เลขที่ 200  หมู่ที่ 5  ถนนเพชรเกษม  (ตรัง-กระบี่)  ตำบลวังคีรี อำเภอห้วยยอด  จังหวัดตรัง

สังกัด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

โทรศัพท์/โทรสาร :  075-290248                                  

E–mail : wattraisamakkee200@gmail.com 

เปิดสอน : ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6                                               

ข้อมูลผู้บริหารโรงเรียน

นางสาวศุภลักษณ์   พรมสุวรรณ    ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไตรสามัคคี เบอร์โทรศัพท์ 0964151691

นายเวชพงศ์   หนูด้วง                 รองผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไตรสามัคคี  เบอร์โทรศัพท์ 0826322345

ข้อมูลบุคลากรของสถานศึกษา

จำนวนบุคลากร  22  คน  จำแนกเป็น ข้าราชการครู  18  คน ครูอัตราจ้าง  3  คน ธุรการ  1  คน

ข้อมูลนักเรียน  (ข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2566)

จำนวนนักเรียน รวม 404 คน จำแนกเป็นระดับก่อนประถมศึกษา 81 คน ระดับประถมศึกษา 323 คน

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1. ระดับการศึกษาปฐมวัย

          มาตรฐานที่  1  คุณภาพของเด็ก   มีผลการประเมินอยู่ในระดับ :  ยอดเยี่ยม

            1. กระบวนการพัฒนา

            โรงเรียนมีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนให้มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ส่งเสริมและมุ่งพัฒนาคุณภาพเด็กให้มีพัฒนาการเรียนรู้ในหลายๆ ด้าน หลากหลายวิธีโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

          2. ผลการพัฒนา

          เด็กมีร่างกายเจริญเติบโตตามวัย มีสุขนิสัยที่ดี มีนิสัยรักความสะอาด และดูแลรักษาความสะอาดได้ด้วยตนเองมีความตระหนักถึงความปลอดภัย รู้จักการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุและโรคต่างๆ

          3. จุดเด่น

          เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เหมาะสมตามวัยและความสามารถของแต่และบุคคล มีสุขภาพร่างกาย ที่สมบูรณ์ แข็งแรงตามวัย รู้จักสังเกต สนใจสิ่งรอบตัว กล้าซักถาม รักการเรียนรู้ มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน

          4. จุดควรพัฒนา

          ครูพัฒนาเทคนิคการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา  คิดสร้างสรรค์ และทักษะเบื้องต้นได้

          5. แผนการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

          ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ปกครอง ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาเด็กด้านการเรียนรู้ ด้านคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์

          มาตรฐานที่  2  กระบวนการบริหารและการจัดการ   มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ยอดเยี่ยม   

1. กระบวนการพัฒนา

             โรงเรียนมีแนวปฏิบัติในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ที่เหมาะสมกับวัย โดยมีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา นำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการที่ครอบคลุมด้านวิชาการ ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจไว้อย่างชัดเจน

          2. ผลการพัฒนา

           โรงเรียนมีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติ ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา เหมาะสมกับวัย

          3. จุดเด่น

           โรงเรียนมีหลักสูตรปฐมวัยที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยตามปรัชญาหลักการและธรรมชาติของการจัดการศึกษาปฐมวัย ที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีครูจบการศึกษาปฐมวัยและครูจ้างที่ผ่านการอบรมด้านการศึกษาปฐมวัยครบชั้น

          4. จุดควรพัฒนา

          ส่งเสริมให้ครูปฐมวัยจัดทำวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง การมีส่วนร่วม ของผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานภายนอกในการจัดการศึกษาปฐมวัย เข้ารับการอบรมและนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์

          5. แผนการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

          สร้างเครือข่ายของผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา การจัดหาสื่อเทคโนโลยีที่มีความทันสมัย และฝึกให้เด็กได้ใช้สื่อเทคโนโลยี

          มาตรฐานที่  3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ยอดเยี่ยม

1. กระบวนการพัฒนา

             โรงเรียนมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะกับพัฒนาการเด็ก จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบ Active Learning ด้วยเทคนิควิธีที่หลากหลาย จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสมกับวัย

          2. ผลการพัฒนา

           เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และมีการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ในบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้อย่างมีความสุข

          3. จุดเด่น

          เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง  มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียนและจัดบรรยากาศในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้

          4. จุดควรพัฒนา

          ควรส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กปฐมวัยเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องควบคู่กับโรงเรียน นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้และเปิดโอกาศให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลายมากขึ้น

          5. แผนการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

          รักษาระดับคุณภาพ มาตรฐาน การจัดการศึกษาปฐมวัย โดยการจัดโครงการและกิจกรรมทุกกิจกรรมอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          มาตรฐานที่  1  คุณภาพของผู้เรียน   มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ดีเลิศ

1. กระบวนการพัฒนา

             โรงเรียนให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนโดยการจัดการศึกษาด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูผู้สอนจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learningส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถ ในการสร้างนวัตกรรมด้วยการดำเนินการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการในรายวิชาต่าง ๆ

          2. ผลการพัฒนา

          ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด เกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์คิดแก้ปัญหา ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีคุณลักษณะ ความสามารถและทักษะที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21ได้รับการพัฒนาจากรูปแบบการสอนตามที่เหมาะสมกับช่วงวัยด้วยรูปแบบการสอนและสื่อที่มีคุณภาพเหมาะสมกับผู้เรียน

          3. จุดเด่น

          ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าค่าเป้าหมายของโรงเรียน มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่หลักสูตรกำหนด แต่งกายสะอาด  มารยาทเรียบร้อย สามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนด

          4. จุดควรพัฒนา

          ควรมีการส่งเสริมในเรื่องการอ่านและการเขียนให้ผู้เรียน จัดทำโครงงานเชิงบูรณาการ และเน้นให้ผู้เรียนคิดเองทำเองโดยใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้าออกแบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นตามหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง

          5. แผนการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

          โรงเรียนได้มีแผนพัฒนาผู้เรียนในด้านการอ่านและการเขียน และจัดหาแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัยให้นักเรียนสามรถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีการนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการสอนของครูมากขึ้น

          มาตรฐานที่  2  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ยอดเยี่ยม   

1. กระบวนการพัฒนา

            สถานศึกษาใช้กระบวนการ PDCA ในการบริหารงานและจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบมี มีการจัดกระบวนการศึกษาโดยได้มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาด้านต่างๆ

          2. ผลการพัฒนา

สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของสถานศึกษานโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่นและสอดคล้องกับแนวปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ มีหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ครบทุกสาระการเรียนรู้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          3. จุดเด่น

          สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ตรงตามความต้องการของชุมชนและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

          4. จุดควรพัฒนา

          ควรกำหนดนโยบาย กรอบภาระงาน ภารกิจ เป้าหมายของงาน การมอบหมายงานให้ละเอียดชัดเจนมากยิ่งขึ้น ง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ ลดขั้นตอนและลดความซ้ำซ้อน และการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการในปัจจุบัน  

          5. แผนการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

             สถานศึกษาได้จัดทำแผนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพและความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น

          มาตรฐานที่ 3 กระบวนการการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ : ยอดเยี่ยม

1. กระบวนการพัฒนา

            จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง วางรากฐาน ด้านสุขภาพให้เข้มแข็งด้วยการเตรียมความพร้อม สถานศึกษาได้ดำเนินการส่งเสริมให้ ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมได้ลงมือปฏิบัติ

          2. ผลการพัฒนา

           ครูผู้สอนมีความรู้และความมุ่งมั่นตั้งใจ เพื่อการจัดการเรียนการสอน สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนาตนเองมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลายและมีความสอดคล้องกับหลักสูตร

          3. จุดเด่น

          ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน มีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ โดยการคิด  ได้ปฏิบัติจริง มีการให้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย แสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยี มีส่วนร่วมใน  การจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูผู้สอนจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคลและแผนการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมห้องเรียนให้เหมาะสมแก่ การเรียนรู้

          4. จุดควรพัฒนา

          ควรมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลายทุกระดับชั้นให้มากขึ้นโดยเน้นการเรียนการสอนแบบ Active Learning ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติควรนำเทคโนโลยีให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มากขึ้นและควรให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีเพื่อนักเรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง

          5. แผนการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

รูปภาพประกอบด้วย ข้อความ, ลายมือ, จดหมาย, ตัวอักษร

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ            สถานศึกษามีแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยเน้นฝึกความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัยให้มีความสอดคล้องกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา                          

 

 

ลงชื่อ             

(นางสาวศุภลักษณ์   พรมสุวรรณ)

         ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไตรสามัคค



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งยางงาม ปีการศึกษา 2566 24 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งยางงาม 24 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งยางงาม 24 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งยางงาม 24 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ 23 มิ.ย. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.