f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านคลองลุ
วันที่   9   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 116
Bookmark and Share


บทสรุปผู้บริหาร

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

  ชื่อ โรงเรียนบ้านคลองลุ ที่อยู่ 88/1 หมู่ที่ 7 ตำบลคลองลุ  อำเภอกันตัง   จังหวัดตรัง  รหัสไปรษณีย์ 92110  เบอร์โทรศัพท์ 075-292709 E–mail : klonglu.ll@gmail.com  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2  เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก ระดับก่อนประถม และระดับประถมศึกษา 

         เขตพื้นที่บริการ 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านคลองลุ , หมู่ที่ 2 บ้านท่าดาน , หมู่ที่ 7 บ้านท่าจูด

         ปัจจุบันมีผู้บริหารโรงเรียน ชื่อ นางสาวสุริยาพร  ฮ่องช่วน  เบอร์โทรศัพท์  083 – 650 7468

         จำนวนครู  12 คน  จำแนกเป็น ข้าราชการครู  11  คน  ครูอัตราจ้าง 1 คน

          จำนวนนักเรียน รวม 126  คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล  34 คน ระดับประถมศึกษา  92 คน  (ข้อมูล 10 พฤศจิกายน 2566 )                 

         โรงเรียนบ้านคลองลุ มุ่งพัฒนานักเรียนทุกคนให้ได้รับการเสริมสร้างพัฒนาการ เกิดกระบวน    การเรียนรู้ตามความเหมาะสมในทุกๆด้านอย่างมีคุณภาพตามหลักสูตร เป็นบุคคลที่มีคุณธรรม นำความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มุ่งสู่การพัฒนาโรงเรียนในทุกๆด้านตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดเพื่อพัฒนานักเรียนทุกคนให้มีประสิทธิภาพที่ดีสอดคล้องกับ

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน “พัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษา มีการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ อยู่อย่างพอเพียง ประสานความร่วมมือจากชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการพัฒนาการศึกษาอย่างเป็นระบบ”

อัตลักษณ์ของโรงเรียน  “มีความรู้และมีทักษะด้านกีฬา เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับร่างกายและจิตใจ มีสมรรถภาพร่างกายตามเกณฑ์ที่กำหนด”    

          เอกลักษณ์ของโรงเรียน  “น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและส่งเสริมความรู้ด้านศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย นำมาปฏิบัติ”  

 

 

 

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

 

มาตรฐาน

ระดับคุณภาพ

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก

ยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

ยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

ยอดเยี่ยม

สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา

ยอดเยี่ยม

 

 

 

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1.      ระดับการศึกษาปฐมวัย

1.1 มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ยอดเยี่ยม

กระบวนการพัฒนา

                    สถานศึกษาจัดอาหารกลางวันตามระบบ School lunch มีอาหารเสริม(นม)ให้กับเด็ก  มีการวัดน้ำหนักและส่วนสูงทุกเดือน จัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ เพื่อให้ทำงานอย่างมีความสุข จัดโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม จัดกิจกรรมให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียน มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สร้างสรรค์ผลงานตามความคิดและจินตนาการ                       

              ผลการพัฒนา

                   เด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูง เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน มีทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายรู้จักหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค ร่าเริงแจ่มใส ควบคุมอารมณ์ตนเองได้เหมาะสมกับวัย ชื่นชม ในศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว สามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน เด็กมีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยและปฏิบัติตนตามศาสนาที่ตนนับถือได้

 

               จุดเด่น

                   เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย น้ำหนัก ส่วนสูง เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานสามารถ ดูแลรักษาสุขภาพของตนเองได้ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ปฏิบัติตนตามศาสนาที่ตนนับถือ ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาเด็ก     

 

     จุดที่ควรพัฒนา

                    ควรจัดกิจกรรมให้ผู้ปกครอง ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อสร้าง    ความมั่นใจ ความกล้าแสดงออกให้กับเด็ก ส่งเสริมทักษะทางภาษาที่เหมาะสมกับวัย  ครูกับผู้ปกครองควรร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพฤติกรรมของเด็กทั้งที่บ้านและโรงเรียน การทำข้อมูลเด็กรายบุคคล แล้วนำผลมาวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาของเด็กเป็นรายบุคคล

 

               แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

การจัดกิจกรรมที่เน้นการปฏิบัติตามกระบวนการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างหลากหลาย

                   ๒ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นการคิดวิเคราะห์และเน้นให้เด็กปฐมวัยปฏิบัติ (Active Learning ) ส่งเสริมพัฒนาครูเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เชิงปฏิบัติการด้านทักษะ และการใช้นวัตกรรมในงานที่ได้รับมอบหมาย และมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง

        

          ๑.๒  มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการมีผลการประเมินอยู่ในระดับ      ยอดเยี่ยม

               กระบวนการพัฒนา

                   สถานศึกษามีหลักสูตรยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและบริบทของท้องถิ่น จัดการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการปฏิบัติ ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์ต่างๆบริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก กำหนดมาตรฐานการศึกษา ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาโดยมีคณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนา

 

     ผลการพัฒนา

สถานศึกษามีหลักสูตรที่ยืดหยุ่น และสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและบริบทของท้องถิ่น นักเรียนได้รับการพัฒนาครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน มีครูที่จบการศึกษาปฐมวัยเพียงพอกับชั้นเรียน ครูมีทักษะในการจัดประสบการณ์โดยเน้นเด็กเป็นสำคัญและการประเมินพัฒนาการเด็ก   เป็นรายบุคคลคำนึงถึงความปลอดภัย มีมุมประสบการณ์ต่างๆ มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบเสาะ    หาความรู้  

    จุดเด่น

มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่นนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพมีครูเพียงพอกับชั้นเรียน มีวัสดุและอุปกรณ์เพียงพอ มีมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพ โดยคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิ

            จุดที่ควรพัฒนา

          ส่งเสริมการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน ให้ครูจัดทำ

แผนการจัดประสบการณ์แบบอิงมาตรฐานโดยใช้หลักสูตรสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมที่มี             ความปลอดภัย จัดหาและส่งเสริมการผลิตการพัฒนาสื่อนวัตกรรม การจัดประสบการณ์เทียบเคียงมาตรฐานสากลมีเทคนิควิธีการ การจัดกระบวนการเรียนรู้ออกแบบการเรียนรู้แบบใหม่ๆ จัดทำวิจัยชั้นเรียน

 

     แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

      พัฒนาครูเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการในด้านต่างๆของงานปฐมวัย การจัดห้องเรียนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการเด็ก แสงสว่างเพียงพอ ปราศจากเสียงรบกวน  มีความปลอดภัย สะอาด เป็นระเบียบ มีสื่อที่เหมาะสมตามวัย มีสนามเด็กเล่นที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัย

 

.๓ มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ

ยอดเยี่ยม

            กระบวนการพัฒนา

                    จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านเต็มศักยภาพ จัดทำแผนการจัดประสบการณ์จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษาสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับ    ช่วงอายุ ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็กด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย                   

               ผลการพัฒนา 

                    ครูจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้านทั้ง 4 ด้าน จัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันและนำผลการประเมินที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพเด็ก

 

     จุดเด่น

มีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้านทั้งด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา           ด้านอารมณ์ จิตใจและด้านสังคม สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและนอกห้องเรียน ครูมีสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงอายุและวัยของเด็ก 

 

จุดที่ควรพัฒนา

     สถานศึกษาควรจัดกิจกรรมที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันภายในสถานศึกษาระหว่าง

สถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น โดยให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมอย่างเป็นระบบและกำหนดการปฏิบัติงานที่ชัดเจน

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

                การเข้าร่วมอบรมพัฒนาความรู้ในการผลิตสื่อนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำมาจัดทำสื่อการสอนประกอบแผนการจัดประสบการณ์ในกิจกรรมหลัก ๖ กิจกรรม แบบบูรณา ส่งเสริมผู้เรียนให้มีสุขนิสัยและสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและสมบูรณ์โดยผ่านการเล่นเครื่องเล่นสนามแบบ BBL. โรงเรียนผ่านการทำกิจกรรมในโครงการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน โครงการพัฒนาการศึกษาเด็กปฐมวัย และโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยรวมถึงกิจกรรมกีฬาสีเครือข่าย  ทั้งนี้ยังมีโครงการอาหารเสริมนม โครงการอาหารกลางวัน เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน 

แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับปฐมวัย

          . เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย ด้านน้ำหนักและส่วนสูง เป็นไปตามเป้าหมายของสถานศึกษา  เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม มีความร่าเริง แจ่มใส มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข รู้จักช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันได้ดี ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย

        . โรงเรียนบ้านคลองลุมีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียน และนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายตระหนักและเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัยจัดกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนักรู้และเข้าใจหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

        ๓. โรงเรียนบ้านคลองลุจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง4 ด้านอย่างสมดุล เต็มศักยภาพโดยความร่วมมือของพ่อแม่ครอบครัวและชุมชนผู้เกี่ยวข้องสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เรียนรู้ลงมือทำและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้โดยเด็กมีส่วนร่วม ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ครูประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม นำผลการประเมินที่ได้ไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

 

2.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

มาตรฐาน

ระดับคุณภาพ

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน

ดีเลิศ

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

ยอดเยี่ยม

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ 

            เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ยอดเยี่ยม

สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา

ยอดเยี่ยม

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

2.   ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

 

2.1  มาตรฐานที่ 1   คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

     กระบวนการพัฒนา

            โรงเรียนได้ดำเนินการโดยการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาพุทธศักราช 2565 ตามหลักสูตรแกนกลาง พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้นักเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ คู่คุณธรรม มีความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีทักษะการคิดวิเคราะห์ เชื่อมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความสามารถด้านเทคโนโลยี ได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ   ตามความถนัดและเต็มตามศักยภาพ 

 

     ผลการพัฒนา

ผลการประเมินทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (RT) ของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 รวม ๒  ด้าน เฉลี่ยร้อยละ 82.27 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ร้อยละ 3.27 

ผลการประเมินทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ด้านภาษาไทยมีผลเฉลี่ยร้อยละ 52.00 สูงกว่าปีที่ผ่านมา ร้อยละ 7.09 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–6  ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับ 3 ขึ้นไปปีการศึกษา 2566        คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 59.33  ผลการดำเนินงานจากการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถใน      การคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ นักเรียนมีผลการประเมินความสามารถ ในระดับดีขึ้นไป คิดเป็นค่าร้อยละ  80.22  ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2565   

 

    จุดเด่น

มีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายเป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน นำผลจากกระบวนการ PLC ไปพัฒนาผู้เรียนตามประเด็นท้าทายแบบ Active Learning            มีการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านและเขียน การสื่อสารที่มีคุณภาพดีขึ้น  มีการพัฒนาทักษะในการทำงาน มีการส่งเสริมอาชีพ นักเรียนมีการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบน           ความแตกต่างและหลากหลาย

 

     จุดที่ควรพัฒนา

ควรมีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง ปรับเปลี่ยนวิธีการจัด

กระบวนการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในบางกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่จะส่งผลต่อการสอบวัดผลระดับชาติ การจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ การคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง การคิดเชิงสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์นวัตกรรมสู่งานอาชีพให้กับผู้เรียน

 

แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

              1. โรงเรียนกำหนดกรอบโครงการและกิจกรรมที่มีความครอบคลุม จัดลำดับความสำคัญของแต่ละโครงการและกิจกรรมที่มีความเร่งด่วนในการที่จะนำมาปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้ดีขึ้น

                 2. การจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนให้มีทักษะการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณและ ทักษะ   การคิดวิเคราะห์ เพื่อนำไปพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาผลการทดสอบระดับชาติ          

2.2  มาตรฐานที่ 2   กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ    ยอดเยี่ยม

     กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านคลองลุมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ของโรงเรียนไว้อย่าง

ชัดเจน มีการวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ทฤษฎี  KL TEAM โมเดล มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาวิชาการที่มุ่งเน้นคุณภาพของผู้เรียนตรงตามหลักสูตรสถานศึกษา มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  มีการให้การนิเทศ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้ารับการอบรมและพัฒนาตนเองในทุกรูปแบบ

 

               ผลการพัฒนา

โรงเรียนมีการวางแผนการพัฒนาระบบบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา ซึ่งมีผล     

การประเมินอยู่ในระดับ ดี มีแผนพัฒนาการศึกษาที่ครอบคลุมวิสัยทัศน์ และพันธกิจของโรงเรียน มี      การกำกับติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลโดยใช้วงจรคุณภาพ โดยใช้รูปแบบ KL TEAM โมเดล      ของสถานศึกษา ส่งผลให้การบริหารจัดการของฝ่ายบริหารงานวิชาการมีการดำเนินงานได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ทางโรงเรียนยังมีการส่งเสริมความสามารถให้กับนักเรียนได้แสดงความสามารถของตนเองในกิจกรรมการแข่งขันทักษะทางวิชาการในระดับต่างๆอย่างต่อเนื่อง ครูได้รับการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

 

     จุดเด่น

โรงเรียนมีการวางเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจที่ชัดเจนสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ด้านการบริหารงานบริหารแบบมีส่วนร่วมกระจายอำนาจบริหารงาน 4 ฝ่ายอย่างชัดเจน     มีระบบประกันคุณภาพภายใน มีแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ครอบคลุมทุกด้าน คณะกรรมการสถานศึกษามีความตั้งใจมีความพร้อมในการปฏิบัติตามหน้าที่ร่วมกับชุมชนและเครือข่ายผู้ปกครอง 

     จุดที่ควรพัฒนา

บางครั้งการดำเนินงานในส่วนของการบริหารจัดการยังขาดความชัดเจน เด็ดขาด ส่งผลให้ประสิทธิภาพของผลงานที่ได้ยังไม่เป็นที่ประจักษ์ ด้านการดำเนินงานตามโครงการในบางโครงการยังไม่ครอบคลุมตามกิจกรรมที่กำหนด ควรดำเนินการให้มีความเด่นชัด นำจุดบกพร่องมาแก้ปัญหาและพัฒนาให้มีผลการดำเนินโครงการให้ดีขึ้น ควรมีการติดตามและประเมินผลกิจกรรมที่ต่อเนื่อง

    แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

                     ส่งเสริมและกระตุ้นความสนใจให้ครูได้รับการอบรมเทคนิคการสร้างสื่อเทคโนโลยี     ในรูปแบบต่างๆจากหน่วยงานที่มีการจัดอบรมเพื่อให้ครูได้ฝึกปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ สามารถนำเทคนิคต่างๆมาจัดทำสื่อที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน

         2.3  มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีผลการประเมินอยู่ ในระดับ ยอดเยี่ยม

         กระบวนการพัฒนา

         มีจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิด และปฏิบัติจริง มีการพัฒนาหลักสูตร

สถานศึกษา จัดกิจกรรมสอนเสริมเพิ่มทักษะการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน ครูศึกษาหลักสูตรวิเคราะห์ตัวชี้วัด กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ ออกแบบหน่วยการเรียนรู้  จัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วัดประเมินผลตามสภาพจริงด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย จัดกิจกรรมที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก จัดทำปฏิทินวิชาการกำหนดเวลาเรียนไว้อย่างชัดเจน

 

  ผลการพัฒนา

     โรงเรียนมีการส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียนให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีสมรรถนะตาม

หลักสูตรและคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 สนับสนุนให้ครูเข้ารับการอบรมพัฒนาความรู้ครูมีแผน      การจัดการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐  ครูได้รับการนิเทศการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนมีสื่อเทคโนโลยี มีห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูดูแลเอาใจใส่นักเรียน วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม และอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งผลให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีในการเรียนทำให้ผลการเรียนดีขึ้นมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด

 

     จุดเด่น

          โรงเรียนมีการส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียนให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีสมรรถนะตามหลักสูตรและคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 ครูได้รับการสนับสนุนให้เข้ารับการอบรมพัฒนาความรู้         มีการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่มีความหลากหลาย สร้างโอกาสให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพของตนเอง โรงเรียนมีสื่อที่มีความพร้อมต่อการใช้งาน มีระบบสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมได้ทั่วถึง        มีการจัดแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน ครูเอาใจใส่นักเรียนมีการจัดชั้นเรียนเชิงบวก มีการวัดและประเมินผลที่มีความหลากหลาย

     จุดที่ควรพัฒนา

ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ควรมีโครงงานหรือนวัตกรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนให้มากขึ้นเพื่อที่จะส่งผลให้โรงเรียนเกิดนวัตกรรม 1 โรงเรียน 1 นวัตกรรม ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนที่สามารถนำผลงานไปเผยแพร่แก่สาธารณชนได้

 

             แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

                    โรงเรียนมีการติดตามการจัดทำเอกสารที่เป็น เอกสาร หลักฐาน ร่องรอยของการดำเนินงานตามกิจกรรมต่างๆ ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน ส่งเสริมให้ครูจัดทำวิจัย         ในชั้นเรียนเพื่อนำปัญหาที่เกิดมาแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาให้มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น

                                                                                          

 (นางสาวสุริยาพร  ฮ่องช่วน)

                      ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองลุ



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.