f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านลำภูรา
วันที่   16   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 112
Bookmark and Share


บทสรุปของผู้บริหาร

 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

Ø  ชื่อโรงเรียนบ้านลำภูรา ที่อยู่ 163 ถนนเพชรเกษม หมู่ 3 ตำบลลำภูรา  อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

92190

ชื่อผู้บริหารโรงเรียน  

     นายสุวิทย์ ดาวังปา   เบอร์โทรศัพท์   085-6645940

     นางสาวกมลทิพย์  บุญเสน รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านลำภูรา

จำนวนครู  21 คน  จำแนกเป็น ข้าราชการครู 20 คน พนักงานราชการ 0 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน

จำนวนนักเรียน รวม 474 คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล 135 คน ระดับประถมศึกษา 339 คน  (ข้อมูล 31 มีนาคม  2567)

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1.     ระดับการศึกษาปฐมวัย

1.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

1.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

1.3   มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ 

 มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนบ้านลำภูราส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ทางโรงเรียนได้ส่งเสริมสนับสนุน และเสริมแรงให้กับผู้เรียน มีการดำเนินการโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีวินัยในตนเอง ประหยัดและพอเพียง จัดโครงการที่เหมาะสมในช่วงวัย สนับสนุนครูจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการนักเรียนโดยมีการจัดประสบการณ์ ครบทั้ง 6 กิจกรรมหลัก ครอบคลุมการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก พัฒนาอารมณ์ จิตใจ และปลูกฝังคุณธรรม พัฒนาสังคมนิสัย พัฒนาการคิด พัฒนาภาษา และส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก

 

ผลการพัฒนา

          โรงเรียนบ้านลำภูราสามารถจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา อย่างสมดุลเต็มตามศักยภาพ โดยความร่วมมือของพ่อแม่ผู้ปกครอง ครอบครัวชุมชนและผู้เกี่ยวข้องทั้งยังเป็นแบบอย่างที่ดีจากการพัฒนาการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญทำให้โรงเรียน บ้านลำภูรามีการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ  มีกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดประสบการณ์ มีบรรยากาศที่ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ และมีการประเมินผลเด็กตามสภาพจริงอย่างต่อเนื่อง

จุดเด่น

          โรงเรียนบ้านลำภูรา มีการแผนงาน โครงการ กิจกรรม และการจัดประสบการณ์เรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างชัดเจน และเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง โดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกด้าน สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ถูกต้องตามหลักการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และเป็นแบบอย่างได้ มีครูที่จบการศึกษาปฐมวัย และครูที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญในด้านการจัดประสบการณ์ มีครูครบชั้นเรียนส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี มีแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่มีความสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เหมาะสมกับวัยและศักยภาพของผู้เรียน มีการวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคลของนักเรียน มีการจัดประสบการณ์ตามแผนการจัดประสบการณ์ของหลักสูตรต้านทุจริตเพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนัก ให้เด็กปฐมวัยมีคุณธรรม จริยธรรม ด้านความพอเพียง มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริตและมีจิตสาธารณะ จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาอย่างสมดุล เต็มศักยภาพโดยความร่วมมือของพ่อแม่ผู้ปกครอง ชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

จุดที่ควรพัฒนา

การอำนวยความสะดวกและบริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ของครูยังไม่เพียงพอ ไม่มีความหลากหลาย และไม่ปลอดภัยในการใช้งาน ครูปฐมวัยทุกคนต้องมีความรู้ความเข้าใจระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ถูกต้อง ควรจัดกิจกรรมเพื่อเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนกับแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น สร้างกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น แหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้าน ห้องสื่อการเรียนรู้ เป็นต้น ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรม ค้นหาแนวทางการจัดกิจกรรมที่มีความแปลกใหม่หลากหลาย ให้โอกาสในการเลือกแหล่งเรียนรู้ที่ตนเองสนใจ โดยพิจารณาจากความเหมาะสมในด้านความปลอดภัย  ความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน

 

2.   ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.1  มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

1.2  มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

1.3  มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

       มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนบ้านลำภูรา มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนได้เน้นย้ำ ความสามารถในการอ่าน การเขียน การ สื่อสาร การคิดคำนวณตามเกณฑ์ การคิดวิเคราะห์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถอภิปราย แลกเปลี่ยน ความคิดเห็นและแก้ปัญหา ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร มีความก้าวหน้าทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเป้าหมายของหลักสูตร และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค โรงเรียนบ้านลำภูราได้การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน มีการแต่งตั้งคณะทำงาน ดำเนินการจัดระบบบริหารและสารสนเทศอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับสภาพภายใน ด้านจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และสภาพภายนอก ด้านโรงเรียนบ้านลำภูราจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องว่าผู้เรียนทุกคนจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ และให้ความสำคัญกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ส่งเสริมครูใช้สื่อการเรียนการสอนและแหล่งการเรียนรู้ที่ทันสมัยและหลากหลาย  และนำกระบวนการจัดการเรียนรู้ แบบ DLTV  โปรแกรมนำเสนอ Power point สื่อการเรียน  E-Book มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น เพื่อส่งเสริมการคิด การแก้ปัญหา และการใช้คอมพิวเตอร์ในการสืบค้นความรู้

ผลการพัฒนา

โรงเรียนส่งเสริมการพัฒนาและฝึกทักษะการคิด เน้นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ฝึกทักษะกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีความรู้ มีทักษะ สามารถสร้างนวัตกรรม ประดิษฐ์ชิ้นงานเชิงสร้างสรรค์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต การส่งเสริม และพัฒนาทักษะการใช้สื่อและเทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้ในการสืบค้นข้อมูล การสรุปองค์ความรู้ นิสัยรักการอ่าน การเรียนรู้  ใฝ่รู้ใฝ่เรียน สำหรับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง  ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามมาตรฐาน การเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณภาพด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิต และคุณลักษณะที่พึงประสงค์  มีจิตใจที่ดีงาม มีจิตสาธารณะ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต  ครูใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนด้วย จึงช่วยเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากขึ้น อีกทั้ง ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการจัดการเรียนการสอนของครูและนักเรียนได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตร

แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

1. ส่งเสริมการพัฒนาและฝึกทักษะการคิด เน้นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา

จุดเด่น

ครูผู้สอนศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐาน ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ ออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้

วิธีการสอน สื่อและแหล่งเรียนรู้ ตลอดจนการวัดผลประเมินผลด้วยวิธีการหลากหลาย  จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง  และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด   มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนาตนเองและ สังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน อย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรม มีความรู้ ทักษะพื้นฐานในการจัดการ เจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น ผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและจิตสำนึก ตามที่สถานศึกษากำหนดโดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม

          โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้  โรงเรียนได้มีการประชุมแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วยผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา  การประชุมระดมสมอง  การประชุมกลุ่ม  เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ  เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา สภาพปัญหา  ความต้องการพัฒนา  และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ปกครองพึงพอใจ ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายของโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ โดยเด็ก ครู พ่อแม่  ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมและพอใจในการดำเนินการ จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้       

จุดที่ควรพัฒนา

โรงเรียนเน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา  และทุกกลุ่มเป้าหมาย การจัดการเรียนการสอนยังคงต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะ การจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต การใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สื่ออุปกรณ์ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องคอมพิวเตอร์  และห้องเรียน ยังไม่เพียงพอกับความต้องการจำเป็น บางอย่างสภาพไม่พร้อมใช้งาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลป้อนกลับ  เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ที่แตกต่างหลากหลายด้วยการระดมความคิดของนักเรียนและร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม ช่วยในการยกระดับผลสัมฤทธิ์แต่ละกลุ่มสาระประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง นักเรียนส่วนใหญ่ยังต้องได้รับการพัฒนาต่อไป มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของแต่ละระดับชั้น ผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ (พื้นฐาน) และผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

 

                                                            



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.