f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านป่ากอ
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านป่ากอ
วันที่   16   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 57
Bookmark and Share


 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

ชื่อโรงเรียนบ้านป่ากอ  ที่อยู่ 289  หมู่ที่ 6 ตำบลนาวง  อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

ชื่อผู้บริหารโรงเรียน   นายดนัยนันท์  ขุนสาเร๊ะ  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองหมอ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่ากอ  เบอร์โทรศัพท์ 082-815-3880

จำนวนบุคลากรของสถานศึกษาทั้งหมด  11  คน  จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน

ข้าราชการครู   6  คน  ครูอัตราจ้าง  2  คน เจ้าหน้าที่อื่น ๆ  2  คน

จำนวนนักเรียน   รวม  43  คน    จำแนกเป็น ระดับปฐมวัย 8  คน ระดับประถมศึกษา  35  คน

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

๑.     ระดับการศึกษาปฐมวัย สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา   ระดับ ดีเลิศ

   .๑ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก                              มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

        .๒ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ        มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

        .๓ มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

          กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนบ้านป่ากอมีกระบวกการพัฒนาเด็กที่หลากหลาย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ มีการจัดกิจกรรมสุขภาพดีมีสุข เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายให้กับเด็ก สนับสนุนให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมให้มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ปลูกฝังเด็กรู้จักประเพณีวัฒนธรรม ด้วยกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ ดนตรี ให้นักเรียนได้วาดภาพ ระบายสี เพื่อสร้างจินตนาการและมีอารมณ์ผ่องใส ให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ทั้งในและนอกห้องเรียน

          การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนบ้านป่ากอได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และ   พันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัย ได้แก่ การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น โดยหลักสูตรมุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพสำหรับด้านระบบกลไก การเสริมสร้างความตระหนักรับรู้  และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

          โรงเรียนบ้านป่ากอจัดการศึกษาปฐมวัยมุ่งเน้นความสำคัญของพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ กิจกรรมแบบ Active learning เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงผ่านการลงมือทำด้วยตนเอง เกิดการเรียนรู้และมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา

ผลการพัฒนา

จากผลการดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปตามเป้าหมายที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน ซึ่งจากผลการประเมินสรุปว่าได้ระดับ ดีเลิศ หลักฐาน ผลที่สนับสนุนการประเมินตนเองมีดังนี้ 1) เด็กร้อยละ 91.67 มีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ 2)เด็กร้อยละ 87.50 มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ เหมาะสมตามวัย 3) เด็กร้อยละ 87.50 มีพัฒนาการที่ดีทางสังคม รู้จักการช่วยเหลือตนเอง มีน้ำใจต่อคนรอบข้าง และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข 4) เด็กร้อยละ 68.75 มีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่ดี เหมาะสมตามวัย รู้จักการคิดแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี มีทักษะการสื่อสารที่ดี

จุดเด่น

เด็กมีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายเหมาะสมตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ที่กำหนด มีทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายตามวัย การทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่-เล็ก ประสานสัมพันธ์ เด็กมีสุขภาพอนามัย สุขนิสัยที่ดี แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย ช่วยเหลือตนเองได้ตามวัย เด็กมีทักษะการคิดพื้นฐานและทักษะการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง  โรงเรียนบ้านป่ากอ มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ซึ่งมีความสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น โรงเรียนมีการส่งเสริม และสนับสนุนให้ครูได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพ และมีการบริหารที่มีคุณภาพเปิดโอกาสให้ฝ่ายมีส่วนร่วม ผู้สอนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการครอบคลุมทุกด้านอย่างสมดุล และเต็มตามศักยภาพตามความแตกต่างของแต่ละบุคคล ผู้สอนมีการสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงผ่านการเรียนรู้แบบ Active learning และการเรียนรู้การทดลองตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ห้องเรียน มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการหลากหลาย และสามารถนำผลการประเมินพัฒนาการไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

จุดที่ควรพัฒนา

          ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดรวบยอด โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนาและจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะการคิดรวบยอดเพิ่มมากขึ้น การส่งเสริม/พัฒนาครูปฐมวัยให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ควรจัดหาครูผู้สอนระดับปฐมวัยที่จบหลักสูตรหรือวิชาเอกปฐมวัยโดยตรง การจัดแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน การจัดเครื่องเล่นสนามให้มีความหลากหลาย และคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กเป็นหลัก

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

โรงเรียนบ้านป่ากอ มีการส่งเสริมให้เด็กมีทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ คิดรวบยอด มีการส่งเสริมและพัฒนาครูในการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะการคิดรวบยอดเพิ่มมากขึ้น มีการจัดหาสื่อ สื่อเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาประสบการณ์ผู้เรียนที่เน้นทักษะกระบวนการคิดในรูปแบบหลากหลาย มีการจัดหาครูให้เพียงพอกับชั้นเรียนเหมาะสม  ครูมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการเด็กในทุกด้านและมีการวัดผลประเมินผลพัฒนาการเด็กด้วยวิธีการที่หลากหลาย รวมทั้งจัดทำโครงการให้ผู้ปกครอง ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เต็มตามศักยภาพต่อไป

๒.    ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา ระดับ ดีเลิศ

2.๑ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก                               มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

     2.๒ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ        มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

     2.๓ มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

 

          กระบวนการพัฒนา

          โรงเรียนบ้านป่ากอมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข จึงกำหนดมาตรฐานการศึกษาการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่ออาชีพ 2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด มีสุขภาพทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น ความเป็นไทย และการยอมรับที่อยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและความหลากหลาย

          โรงเรียนบ้านป่ากอมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ไว้อย่างชัดเจนสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนตามความต้องการของชุมชน มีการดำเนินการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา ดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพ จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน

          โรงเรียนบ้านป่ากอส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง

          ผลการพัฒนา

จากผลการดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปตามเป้าหมายที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน ซึ่งจากผลการประเมินสรุปว่าได้ระดับ ดีเลิศ ผลที่สนับสนุนการประเมินตนเองมีดังนี้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ร้อยละ 100 ผ่านการประเมินการอ่านและการเขียน และมีร้อยละ 73.53 มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีขึ้นไป ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสาร มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาได้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด ผลการทดสอบระดับชาติ (RT, NT และ O-NET) ยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด  นักเรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมอาสา ไม่มีอัตราเสี่ยงการติดสิ่งเสพติด มีโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเข้มแข็ง ไม่มีการทะเลาะวิวาทในโรงเรียน มีระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่พร้อมใช้งาน และมีระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน ครูจัดการเรียนการสอนโดยวิธีการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์ มีการปฏิบัติจริงในทุกชั้นเรียน ผู้บริหารมีสัมพันธ์ภาพที่ดีกับชุมชน และมีการแสวงหาความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรจากชุมชน

จุดเด่น

          1. ผู้เรียนมีคุณธรรม จิตอาสา

          2. การบริหารจัดการศึกษา และการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง

          3. จัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้เหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย

          4. ครูมีความตั้งใจมุ่งมั่นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้

          5. นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศภายในชั้นเรียนเพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

          จุดที่ควรพัฒนา

          1. ผลการประเมินระดับชาติ (RT, NT และ O-NET)

          2. กิจกรรมที่มุ่งเน้นยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

          3. กิจกรรมด้านการอ่าน การเขียน คำนวณให้กับนักเรียนเรียนร่วม

          4. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน

          5. การพัฒนาความสามารถภาษาอังกฤษของนักเรียน

          6. ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูผู้สอน

          แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

          1. โครงการ/กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล

         2. โครงการพัฒนาระบบงานบริหารเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยใช้กระบวนการ PDCA

          3. จัดทำแผนพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ

          4. โครงการปรับภูมิทัศน์ ปรับปรุงอาคารเรียน และสภาพแวดล้อม

          5. โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.