f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านเหนือคลอง
วันที่   8   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 82
Bookmark and Share


บทสรุปของผู้บริหาร
 
ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 
              ชื่อโรงเรียน บ้านเหนือคลอง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๕ หมู่ที่ ๘  ตำบลบางกุ้ง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ ๙๒๒๑๐ e-mail Nuerklong๙@gmail.com   ผู้บริหารโรงเรียน นางสาววรรณา   คล้ายฉิม    เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๑ – ๓๘๘๑๙๗๓  เปิดสอนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๑ – ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวนครูและบุคลากรทั้งหมด ๑๒   คน จำแนกเป็น ข้าราชการครู  ๗ คน ครูอัตราจ้าง  ๓  คน  บุคลากรสนับสนุนอื่น ๆ จำนวน ๒ คน จำนวนนักเรียนทั้งหมด  ๗๗ คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล  ๒๖  คน ระดับประถมศึกษา  ๕๑  คน 
 
             
               ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
.ระดับการศึกษาปฐมวัย
          มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
          กระบวนการพัฒนา
              โรงเรียนดำเนินการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาการคุณภาพของเด็ก โดยได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย โครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  โครงการอาหารกลางวันและอาหารเสริมนม กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยและสุขนิสัยที่ดี  กิจกรรมอบรมคุณธรรม จริยธรรม  โครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก จัดประสบการณ์ที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสติปัญญาและด้านสังคม ผ่านกิจกรรมหลัก ๖ กิจกรรม เน้นการปฏิบัติจริงและการเรียนรู้ปนการเล่น จัดสภาพแวดล้อมภายในให้เอื้อต่อการเรียนรู้และส่งเสริมให้มีนิสัยรักการอ่าน
           ผลการพัฒนา 
              เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว มีสุขนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพ  ดูแลความปลอดภัยของตนเองได้   พัฒนาการด้านอารมณ์ เด็กสามารถควบคุมการแสดงออกทางด้านอารมณ์และความรู้สึกได้  รู้จักรอคอย  กล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ มีสุนทรียภาพทางด้านดนตรี ศิลปะและกีฬา พัฒนาการทางด้านสังคม เด็กอยู่ร่วมและทำกิจกรรมกับเพื่อนได้อย่างมีความสุข ช่วยเหลือตนเองได้ มีภาวะผู้นำ ผู้ตามที่ดี มีระเบียบวินัย รู้จักช่วยเหลือแบ่งปัน ประพฤติตนตามวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีไทย เคารพความแตกต่างระหว่างบุคคลได้เหมาะสมตามวัย   ด้านสติปัญญา เด็กมีทักษะการคิด ทักษะการฟัง ทักษะการสังเกต ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง วางแผน ตัดสินใจ สร้างสรรค์ผลงานได้ตามความคิดและจินตนาการ
           จุดเด่น
           เด็กมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย เรียนรู้จากการเรียนปนเล่นและลงมือปฏิบัติจริง อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  กล้าแสดงออก รู้จักป้องกันตนเองจากภัยอันตราย โรคติดต่อ และภาวะคุกคามต่างได้เหมาะสม ตามวัย
           จุดที่ควรพัฒนา 
           การจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาไทย การอ่านคำตามบัญชีคำพื้นฐาน การสื่อสาร   คิดอย่างมีเหตุ มีผล และมีจิตสาธารณะในการช่วยเหลือผู้อื่นมากยิ่งขึ้น
           แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
              จัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมกลุ่ม โครงงาน การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) สนับสนุนและส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชนและหน่วยงานภายนอก เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออกในทางสร้างสรรค์
 
          มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
           กระบวนการพัฒนา
              โรงเรียนจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และบริบทของท้องถิ่น ซึ่งการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยเปิดโอกาสให้ครู ผู้ปกครอง นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ เช่น การเรียนรู้ผ่านการเล่น การปฏิบัติจริง  โครงงาน การทดลอง  จัดครูที่มีวุฒิทางการศึกษาสาขาวิชาเอกการศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้   จัดสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ภายในให้มีความหลากหลาย ปลอดภัย สื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้และเพียงพอ จัดหาคอมพิวเตอร์ สื่อเทคโนโลยีที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์ เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
           ผลการพัฒนา 
              โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ บริบทของท้องถิ่นและนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ครูผู้สอนสำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาเอกการศึกษาปฐมวัยโดยตรง และได้รับการพัฒนาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ทักษะด้านภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล   ตามมาตรฐานตำแหน่ง นำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่สะอาด ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก มีสื่อและเทคโนโลยีที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
           จุดเด่น
           โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ผู้บริหารสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาชาวิชาเอกการศึกษาปฐมวัยส่งผลให้เข้าถึงปรัชญาและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย ให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางวิชาการและเอาใจใส่การจัดการศึกษา  มีการกระจายอำนาจการบริหารงานให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน ได้มีโอกาสรับรู้ถึงการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญและเปิดโอกาสให้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัย มีการกำกับ ติดตาม ประเมินผล จัดทำรายงานผลการดำเนินงานเป็นประจำทุกปี
             จุดที่ควรพัฒนา 
             โรงเรียนมีครูที่สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาเอกการศึกษาปฐมวัยโดยตรง แต่เนื่องด้วยมีครูเพียงคนเดียวปฏิบัติหน้าที่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ทั้ง ๓ ระดับ คือ ระดับชั้นอนุบาล ๑ - อนุบาล ๓ ส่งผลให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ค่อนข้างยากเนื่องจากจำนวนเด็กค่อนข้างมากและมีความพร้อมแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย อีกทั้งสื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศ ยังไม่หลากหลายเท่าที่ควร
           แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
     จัดกิจกรรมพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยให้เป็นหลักสูตรอิงอัตลักษณ์   ผู้บริหารนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูอย่างสม่ำเสมอ เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน ส่งเสริมให้ครูมีวัฒนธรรมการทำงานแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จัดกิจกรรมห้องเรียนแห่งความสุข โดยเน้นมุมต่างๆในห้องเรียนที่หลากหลาย
            มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ   มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
             กระบวนการพัฒนา
               โรงเรียนส่งเสริมสนับสนุนให้ครูจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย   โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย โครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ครูวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล จัดกิจกรรมที่สร้างโอกาสให้เด็กทุกคนได้รับประสบการณ์ตรงผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติ เน้นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงรุก  (Active Learning) การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning)  ผู้บริหารใช้นวัตกรรมนิเทศภายในแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา ๕ G: เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง เพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์ของครูให้บรรลุตามจุดประสงค์ ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก มีการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสอบถาม การสัมภาษณ์ การประเมินจากผลงาน เป็นต้น นำผลมาพัฒนาการจัดประสบการณ์ให้เด็กเพื่อบรรลุเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด
             ผลการพัฒนา 
               ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้สื่อเทคโนโลยีกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็ก จนทำให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านเหมาะสมตามวัยเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด ครูรู้จักเด็กเป็นรายบุคคล มีการจัดกิจกรรมที่สร้างโอกาสให้เด็กทุกคนได้รับประสบการณ์ตรงจริง จัดบรรยากาศภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูประเมินผลพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย       
             จุดเด่น
           ครูจัดบรรยากาศภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินพัฒนาการ และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็กในทุกๆด้านอย่างต่อเนื่อง
             จุดที่ควรพัฒนา 
             การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล โดยการใช้วิธีการจัดประสบการณ์ให้หลากหลาย สนองความต้องการของเด็ก ครูแสวงหาความรู้ เทคนิควิธีการสอนจากการอบรม ประชุม สัมมนาให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากครูมีประสบสบการณ์ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ค่อนข้างน้อย
                   แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
               จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพครูรูปแบบครบวงจรให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดประสบการณ์ ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น Active Learning BBL : Brain Based Learning การสอนแบบโครงการ (Project Approach) ไฮสโคป (High Scope) การจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่ และร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) พัฒนาครูให้ทำการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อนำผลของงานวิจัยนั้นไปพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 
.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          มาตรฐานที่ คุณภาพของผู้เรียน ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
                กระบวนการพัฒนา
               โรงเรียนดำเนินการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดยได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กประถมศึกษา โครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โครงการสร้างสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา จัดกิจกรรมการเรียนการสอนหลากหลายวิธีการ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น Active Learning  STEM ศึกษา การทำโครงงาน กิจกรรมรักการอ่าน บูรณาการตัวชี้วัดของการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ร่วมกับกิจกรรมการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จัดกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ กิจกรรมการส่งเสริมประชาธิปไตย การทำโครงงานคุณธรรม กิจกรรมการเข้าค่ายคุณธรรม จริยธรรม กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ กิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา กิจกรรมส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมบริษัทสร้างการดี การแข่งขันทักษะวิชาการทั้งระดับสถานศึกษาและระดับเขตพื้นที่การศึกษา กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่บรรลุตามเป้าหมายของสถานศึกษา
               ผลการพัฒนา 
               สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และกำหนดโครงการ/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หลากหลายวิธีการ มีการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียนและการสื่อสาร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้สูงกว่าค่าเป้าหมายของสถานศึกษา คุณลักษณะอันพึงประสงค์สูงกว่าค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด มีความสามารถในการคิดคำนวณ ผู้เรียนมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มีทักษะพื้นฐานต่องานอาชีพ ความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย  อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไทย ผู้เรียนทุกคนได้รับการดูแลช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ อยู่ร่วมกันบนความแตกต่างได้อย่างมีความสุข มีสุขภาวะทางการที่ดี สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และมีจิตอาสา
                จุดเด่น
                ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีในการสร้างอาชีพที่สุจริต มีค่านิยมหลัก ๑๒ ประการและคุณลักษณะที่พึงประสงค์สูงกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ภูมิใจในสถาบันหลักของชาติและค่านิยมประเพณี วัฒนธรรมไทย 
                จุดที่ควรพัฒนา
                การพัฒนาความสามารถของผู้เรียนเกี่ยวกับการอ่าน การคิดวิเคราะห์และเขียน คิดอย่างมีวิจารณญาณ การคำนวณ การส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
          แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
               จัดกิจกรรมโรงเรียนปลอดการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ โดยการประสานความร่วมมือระหว่างครู ผู้ปกครองและนักเรียน จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดมากขึ้น โดยการวางแผนการจัดการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้   และมีการประเมินความสามารถในการคิดของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ดำเนินงานยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนอย่างเป็นระบบตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ พัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างเป็นระบบมีการใช้กระบวนการวิจัยในการดำเนินงาน และมีการสร้างเวทีให้ผู้เรียนเผยแพร่ในช่องทางต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง  จัดกิจกรรมส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยให้ผู้เรียนศึกษาภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่หลากหลาย และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านการทำโครงงาน
      มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ   ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
          กระบวนการพัฒนา
               โรงเรียนดำเนินการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจโดยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วม ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ปัยจัยภายในและปัจจัยภายนอก (SWOT Analysis) บริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบตามกระบวนการ PDCA  ทั้งในส่วนการวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา นำแผนไปสู่การปฏิบัติ มีการติดตามตรวจสอบประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษาและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีระบบการนิเทศภายใน โดยใช้นวัตกรรมการนิเทศภายในแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา ๕ G : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง พัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาโดยการจัดโครงการพัฒนาคุณภาพนักเรียนระดับประถมศึกษา  พัฒนาครูและบุคลากรให้เป็นครูมืออาชีพ โดยการจัดโครงการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ จัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่ปลอดภัย และเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้  จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการศึกษา
          ผลการพัฒนา 
               โรงเรียนดำเนินการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด ความต้องการของชุมชน การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา โดยได้ประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อการดำเนินงานตามโครงการพัฒนากระบวนการบริหารและการจัดการตามหลักธรรมาภิบาล    จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ทำให้สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีการนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง สถานศึกษามีการดำเนินงานพัฒนาวิชาการผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนาครูและบุคลากรสู่ครูมืออาชีพตรงตามความต้องการของครูและสถานศึกษา และจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนางาน   จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่ปลอดภัยเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา
          จุดเด่น
               โรงเรียนจัดระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา มีการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจน สามารถดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา ในทุกกลุ่มเป้าหมายจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้และปลอดภัย
           จุดที่ควรพัฒนา 
               โรงเรียนจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการในสถานศึกษา เช่น การวางระบบการดูแลนักเรียน การประชาสัมพันธ์ข่าวสารของโรงเรียน การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้ปกครองให้เป็นระบบและใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาระบบบริหารที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
          แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
               พัฒนาวิธีการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาผ่านกระบวนการวิจัย จัดกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อให้ครูมีวัฒนธรรมตามกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จัดกิจกรรมพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโดยการติดตั้งคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตครบทุกชั้นเรียน จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการในสถานศึกษาที่อาศัยกระบวนการวิจัยในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
       มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ
          กระบวนการพัฒนา
               ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและการปฏิบัติจริง โดยการจัดกิจกรรมโครงการพัฒนาคุณภาพนักเรียนระดับประถมศึกษา จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้เฉพาะสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นและต้องการ ความช่วยเหลือพิเศษ ครูจัดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ เช่น Active Learning STEM ศึกษา ครูผลิตสื่อ นวัตกรรมและใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ปลอดภัย จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน มีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้ให้ข้อมูลย้อนกลับ แก่ผู้เรียนเพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้          
          ผลการพัฒนา 
               สถานศึกษาจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงตามมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ครูมีนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้อต่อการเรียนรู้โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ครูมีกระบวนการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ใช้เครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ครูจัดทำชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ                    จุดเด่น
               ครูจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล   สร้างโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล มีการบริหารจัดการเรียนรู้เชิงบวกสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
          จุดที่ควรพัฒนา 
               การมีส่วนร่วมในกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของครูผู้สอนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อให้ได้แนวคิดที่หลากหลายในการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนดำเนินการให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
          แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
               การทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อนำผลของงานวิจัยนั้นไปพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และการมีส่วนร่วมในกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของครูผู้สอนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อให้ได้แนวคิดที่หลากหลายในการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอน เชิญครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเข้ามามีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
 

 

 

                                                                                (นางสาววรรณา คล้ายฉิม)
                                                                        ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเหนือคลอง

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.