[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : บทสรุปของผู้บริหารสถานศึกษา การประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ของโรงเรียนบ้านทุ่งขี้เหล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านทุ่งขี้เหล็ก
วันที่   13   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 194
Bookmark and Share


 บทสรุปของผู้บริหารสถานศึกษา

การประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ของโรงเรียนบ้านทุ่งขี้เหล็ก

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

****************************************

ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน

โรงเรียนบ้านทุ่งขี้เหล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาไม้แก้ว เลขที่ - หมู่ 6 ตำบลเขาไม้แก้ว  อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 921050 Email :  Tongkhilek@hotmail.com มีนักเรียนระดับอนุบาล จำนวน 31 คน ระดับประถมศึกษา จำนวน      61 รวมนักเรียนทั้งหมด 92 คน มีผู้บริหาร 1 คน  ข้าราชการครู 6 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน วิทยากรอิสลาม 1 คน  ครูจ้าง 1 คน  ครูธุรการ 1 คน รวมครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งหมด 11 คน  บริบทของโรงเรียนบ้านทุ่งขี้เหล็ก สภาพชุมชนมีลักษณะเป็นชนบท  อาศัยอยู่กันแบบเครือญาติ  มีประชากรประมาณ 700 คน  บริเวณใกล้เคียง  ได้แก่  บ้านดุหุน และ บ้านเขาไม้แก้ว  อาชีพหลักของชุมชนคือ  ทำสวนยางพารา ประมง และรับจ้างทั่วไป  ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม 

 

ส่วนที่ 2 ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

 

1.    ระดับการศึกษาปฐมวัย

      มาตรฐานที่ คุณภาพของเด็ก  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

      มาตรฐานที่ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

          มาตรฐานที่ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

 

           สรุปภาพรวมของสถานศึกษา ผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

 

กระบวนการพัฒนาและผลการพัฒนา

       คุณภาพของเด็ก

                  โรงเรียนบ้านทุ่งขี้เหล็ก ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็กตามแนวทางการจัดการเรียน                     การสอนตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย จัดกิจกรรม 6 กิจกรรมหลัก เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา บรรลุตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด มีความพร้อมในการศึกษาระดับที่สูงขึ้น มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรและมีแผนงานโครงการในการพัฒนาเด็กอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เช่น โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัย  โครงการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

 

 

       กระบวนการบริหารและการจัดการ

โรงเรียนบ้านทุ่งขี้เหล็ก มีการประเมินและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและบริบทของท้องถิ่น ส่งเสริมให้ครูมีความรู้ ความสามารถด้านการจัดประสบการณ์เพิ่มขึ้นที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็ก ตรงความต้องการของสถานศึกษา และจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จัดสภาพแวดล้อมอย่างปลอดภัย และมีสื่อ   เพื่อการเรียนรู้อย่างเพียงพอและหลากหลาย มีบริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา ส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษา และการปฏิบัติงานเน้นเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม จนได้รับการยอมรับจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม  

     การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

                ครูจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา                 อย่างสมดุลเต็มศักยภาพโดยความร่วมมือของพ่อแม่ ครอบครัว ชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง และเป็นแบบอย่างที่ดี สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้ลงมือกระทำ และสร้างองค์ความรู้ ด้วยตนเองอย่างมีความสุข จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่บ้านให้เอื้อต่อการเรียนรู้โดยเด็กและผู้ปกครองมีส่วนร่วม ใช้สื่อ        และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับ ครูประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยผู้ปกครอง    และผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมนำผลการประเมินที่ได้ไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

  จุดเด่น : โรงเรียนบ้านทุ่งขี้เหล็ก มีผลการพัฒนาเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ -จิตใจ สังคมและสติปัญญา บรรลุตามเป้าหมาย ที่สถานศึกษากำหนด  และได้รับตราพระราชทานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย

มีการวางแผนพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่องโดยอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ครูเน้นการจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย โดยเด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่นในรูบแบบต่าง ๆ

           จุดควรพัฒนา :  การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อกิจกรรมการเรียนรู้และปลอดภัยแก่เด็ก ส่วนใหญ่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ทำให้ไม่เพียงพอต่อการจัดสภาพแวดล้อมที่จะส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยให้มีคุณภาพตามมาตรฐานและพัฒนาผู้เรียนได้เต็มศักยภาพ

          แผนงานเพื่อพัฒนาให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น : ประกอบด้วยการสร้างเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย โดยประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง คณะครูปฐมวัยและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ปรึกษาหารือแนวทางในการดูแลพัฒนาและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้เด็กปฐมวัย  มีการจัดอบรมให้ความรู้ กับผู้ปกครองในการดูแลและพัฒนาเด็ก การส่งเสริมพัฒนาการเด็กจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจและการส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกันของทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้ปกครองจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่ถูกต้องและเหมาะสมตามวัย เข้าใจหลักการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในระดับปฐมวัย ทั้งนี้เพื่อร่วมกันรับผิดชอบการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยให้แก่เด็กปฐมวัยในสถานศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ

                    พัฒนาครูและบุคลากรสู่มืออาชีพ ส่งเสริมให้ครูปฐมวัยได้รับการการพัฒนาอย่างหลากหลาย              ทั้งการอบรม สัมมนาและศึกษาดูงาน  เพื่อนำความรู้มาพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการใช้สื่อที่หลากหลาย

                      การระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษา ดำเนินการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา    จัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับเด็กปฐมวัยมากขึ้น เช่น ปรับปรุงอาคารสถานที่และจัดภูมิทัศน์ จัดบรรยากาศห้องเรียนปฐมวัยให้มีความปลอดภัย สวยงาม แสงสว่างเพียงพอ และถูกสุขลักษณะเอื้อต่อการเรียน

                   การส่งเสริมการเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชนในการร่วมกันวางแผนให้เด็กได้เรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

 

2.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

   มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

   มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

   มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

             สรุปภาพรวมของสถานศึกษา ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

  

 กระบวนการพัฒนาและผลการพัฒนา

            คุณภาพผู้เรียน

          โรงเรียนบ้านทุ่งขี้เหล็ก ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดทั้งทักษะวิชาการและทักษะชีวิต โดยการบูรณาการทุกกลุ่มสาระผ่านโครงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งเน้นนโยบายกิจกรรมอ่านออก เขียนได้ ลายมือสวย คิดเลขเป็น โดยมีการตรวจสอบเอกสารที่สะท้อนผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนจากข้อมูลเชิงประจักษ์ เช่น แบบสรุปผลการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณตามเกณฑ์ของแต่ละระดับชั้น เอกสารการวัด การประเมินผลของผู้เรียน ชิ้นงานผลงานของนักเรียน บันทึกการอ่าน แบบสรุปรายงานการประเมินความสามารถในการอ่านคิด วิเคราะห์ และการเขียน เอกสารหลักฐานแสดงสุขภาวะทางร่างกาย อารมณ์ สังคม  สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน เช่น ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ การใช้อินเตอร์เน็ต พร้อมทั้งยังมีพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะและค่านิยมของผู้เรียน เช่น การมีจิตอาสาช่วยเหลือคุณครู การมีกิริยามารยาท การไหว้ การพูดจา รวมไปถึงการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น การให้ความร่วมมือในการทำงานเป็นทีม เป็นต้น        

นอกจากนี้โรงเรียนมีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานในงานอาชีพให้กับผู้เรียนร่วมกับผู้ปกครอง   ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกิจที่หลากหลาย เช่น ด้านการปลูกผัก  การออมทรัพย์ การเลี้ยงปลาในกระชัง การเลี้ยงไก่ไช่ การเพาะถั่วงอก การเพาะเห็ดนางฟ้า การแปรรูปอาหาร การทำน้ำหมักชีวภาพ และการทำน้ำยาล้างจาน เป็นต้น ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรักในท้องถิ่นและประเพณีวัฒนธรรม  ของตนเอง มีสุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคมที่ดี และมีมารยาทที่ดี ตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน “เป็นองค์กรที่มุ่งพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้มีทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะอาชีพ สู่สังคมอนาคตที่ยั่งยืน บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”อัตลักษณ์ของโรงเรียนที่ว่า “ภูมิทัศน์สะอาด มารยาทงาม” และเอกลักษณ์ ของโรงเรียน “ส่งเสริมการเรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง” ซึ่งผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียนพบว่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด ในระดับ ดีเลิศ

 

           กระบวนการบริหารและการจัดการ

          ผู้บริหารปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลเนื่องจากมีวิสัยทัศน์ มีภาวะความเป็นผู้นำ เน้นการพัฒนาผู้เรียน  ใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม และหลักธรรมาภิบาล  ปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้  บริหารและให้ความสำคัญในกิจการของโรงเรียน  เปิดกว้างในการให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษา มุ่งเน้นการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีให้ทุกห้องเรียนมีสื่ออย่างครบครัน พัฒนาอาคารสถานที่และภูมิทัศน์ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัยและหลากหลาย  พัฒนาครูโดยการส่งเข้ารับการอบรม ศึกษาดูงาน อย่างต่อเนื่องและทั่วถึงบุคลากรทุกคน  มีการปรับปรุงสาธารณูปโภคภายในสถานศึกษาให้เพียงพอต่อการใช้งานของครูและนักเรียน ให้บริการสถานที่โรงเรียนในการเล่นกีฬาออกกำลังกาย และจัดงานประเพณีของคนในชุมชน   มุ่งเน้นคุณภาพของผลผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิชาการ และด้านคุณธรรมควบคู่กันไป  มีการประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู พ่อ แม่ ผู้ปกครอง  เพื่อรายงานการจัดการศึกษาและแนวทางในการดำเนินงานในอนาคต  มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา  ส่งผลให้สถานศึกษา   มีสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ เช่น มีการติดตั้งโทรทัศน์ในห้องเรียนเพื่อการศึกษาทางไกลผ่านกล่องดิจิทัลทีวี (DLTV)    ทุกห้องเรียน เพื่อใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และมีนวัตกรรมการบริหารที่มีคุณภาพสามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสูงขึ้น มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

           กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

           ครูพัฒนาตนเองอยู่เสมอมีความตั้งใจ  มุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มเวลาและเต็มความสามารถ         จัดกิจกรรมให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้จากการคิด ได้ปฏิบัติจริง  ด้วยวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์นักเรียน และจัดกิจกรรม Active learning เพื่อส่งเสริมการคิดและปฏิบัติจริงทุกชั้นเรียน      ครูได้รับการพัฒนา และนำความรู้มาจัดทำแผนการเรียนรู้ พัฒนาสื่อนวัตกรรม  การเรียนการสอน และเครื่องมือวัดและประเมินผลผู้เรียนที่หลากลาย มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามา  มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ทำวิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนละ 1 เรื่อง เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทาง  การเรียนของนักเรียน   ส่งผลให้ซึ่งผลการประเมินกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และพบว่า  มีผลการประเมินเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนดในระดับ ดีเลิศ

         

 จุดเด่นผู้เรียนมีคุณธรรม  จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ อยู่ในระเบียบวินัยเคารพกฏหมาย ปฏิบัติตนและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม มีจิตอาสาต่อส่วนรวม มีทักษะชีวิต

ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถเหมาะสมตามระดับ มีทักษะการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะอาชีพ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็น

ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด ได้ปฏิบัติจริง  และใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  ส่งเสริมให้นักเรียนแสวงหาความรู้ ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง                                                      

   จุดควรพัฒนา : ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (NT/O-NET)  ให้สูงขึ้น จัดการแข่งขันความสามารถทางวิชาการในระดับโรงเรียนให้เพิ่มขึ้นและต่อเนื่อง และส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันในระดับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะต่าง ๆ มากขึ้น

 สร้างระบบเครือข่ายเทคโนโลยีและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ  เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนได้มีโอกาสในการใช้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโรงเรียน  ให้เป็นชุมชนสังคมแห่งการเรียนรู้

จัดหาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย นำนักเรียนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและนอกโรงเรียน กิจกรรมเรียนรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน และทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาด้านการเรียนของนักเรียน

 

  แผนงานเพื่อพัฒนาให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น : ประกอบด้วย การจัดกิจกรรมปรับพื้นฐานการเรียนรู้ของนักเรียน เช่น การอ่าน เขียน และคิดคำนวณ เพื่อเป็นเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้รายวิชาต่าง ๆได้มากขึ้น โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติให้สูงขึ้น   กิจกรรมเรียนทักษะชีวิต  และทักษะอาชีพ

ระดมทรัพยากรจากผู้ปกครอง ชุมชน และบุคคลภายนอก เพื่อสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ และปรับปรุงภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อมอาคารสถานที่ให้มีความปลอดภัย การพัฒนาขบวนการ PLC

ส่งเสริมให้ครูได้รับการอบรม ประชุม สัมมนา ศึกษาดูงาน  แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้ขบวนการ  PLC เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางาน เป็นครูมืออาชีพส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน

         

 

                                                                                        (นางสาวอุมารัตน์  เกลี้ยงเมือง)

                                                                                       ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งขี้เหล็ก

 

 

 

 

 

 

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งยางงาม ปีการศึกษา 2566 24 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งยางงาม 24 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งยางงาม 24 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งยางงาม 24 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ 23 มิ.ย. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.