f สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report: SAR) ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวัดบางดี
ผู้เขียน : โรงเรียนวัดบางดี
วันที่   16   พฤษภาคม   2567
เข้าชม : 212
Bookmark and Share


บทสรุปของผู้บริหาร

 

 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

ชื่อโรงเรียน โรงเรียนวัดบางดี  ที่อยู่ 80 หมู่ที่ 1 ตำบลบางดี  อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นางสาวศุภลักษณ์ พรมสุวรรณ เบอร์โทรศัพท์ 063-4789649

E-mail : bangdee.s123@gmail.com  จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา 1๘ คน จำแนกเป็น    ผู้บริหาร 1 คน ข้าราชการครู 1๒ คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง ๒ คน ครูพี่เลี้ยง 1 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน 

จำนวนนักเรียน   รวม 25๕ คน จำแนกเป็น ระดับปฐมวัย 46 คน ระดับประถมศึกษา 2๐๙  คน

 

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1.     ระดับการศึกษาปฐมวัย

     1.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก                             มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

          1.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ       มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

          1.3  มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา                                   มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

 

 

กระบวนการพัฒนากระบวนการพัฒนา

โรงเรียนวัดบางดีมีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษา มีองค์ประกอบ        ที่สำคัญเพื่อที่จะใช้ในการขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัย ได้แก่ การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรปฐมวัย จัดกิจกรรมและจัดประสบการณ์เรียนรู้ตามหลักสูตรเป็นระบบอย่างต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 ครูจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ โดยในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 - 3 ใช้รูปแบบการ       จัดประสบการณ์รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบจัดกิจกรรม 6 กิจกรรมหลักและสอนแบบการจัดการเรียนรู้โดยส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ - จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา   จัดกิจกรรมตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การใช้สื่อและเทคโนโลยี จัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม ให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระตามความต้องการ จัดห้องเรียนให้สะอาด อากาศถ่ายเท ปลอดภัย มีพื้นที่แสดงผลงานเด็ก พื้นที่สำหรับมุมประสบการณ์ ประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจกรรม  6 กิจกรรมหลัก หน่วยการเรียนรู้ และกิจวัตรประจำวันด้วยการสังเกตพฤติกรรม สังเกตการปฏิบัติงานกลุ่มและรายบุคคล การสัมภาษณ์ ผลงานเด็ก และให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม

ผลการพัฒนา

โรงเรียนประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ทั้ง 3 มาตรฐาน เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน มีพัฒนาการแสดงออก ทางอารมณ์ ความรู้สึกได้เหมาะสม มีความรู้สึก ที่ดีต่อตนเอง และผู้อื่น มีพัฒนาการด้านสังคม และช่วยเหลือ ตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีมารยาทตามวัฒนธรรม ไทย เช่น การไหว้ การยิ้ม การทักทาย        และมีสัมมาคารวะ

จุดเด่น

          มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ เด็กมีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ ดนตรี เพื่อสร้างจินตนาการ          และ มีอารมณ์ผ่องใส ให้เด็กได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน ครูตรงตามวิชาเอกและเข้ารับการพัฒนาด้านวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

จุดที่ควรพัฒนา

          โรงเรียนควรกำหนดกิจกรรมเสริมที่ส่งเสริมให้เด็กคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและเห็นชัดเจน       ควรส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์และให้ครูมีการจัดทำวิจัยและใช้ผลการวิจัยไปปรับปรุงพัฒนาการจัดประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง

แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

        1.สำรวจสภาพสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศทุกห้องเรียน เพื่อจัดการให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์พร้อมใช้งาน

        2.จัดกิจกรรมให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมต่อการเรียนรู้ของนักเรียนตามโอกาสที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ปกครองรับทราบถึงพัฒนาการการเรียนรู้ของบุตรหลานในปกครอง และเป็นการเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง

        3.ส่งเสริมให้ครูได้รับการอบรมเรื่องการจัดการศึกษาปฐมวัยตามหลักสูตรที่มีการรับรองจากสถาบัน หรือหน่วยงานภายนอก

       4.ครูส่งเสริมให้เด็กได้แสดงออกทางความสามารถตามความถนัดของตนในการแข่งขันทางวิชาการ    หรือการเช้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2.   ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

        1.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน                        มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม    1.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ     มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

        1.3  มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                                                                               มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

          สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา                มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

 

 

กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนวัดบางดีได้จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายที่เป็นไปตามปัญหาและความต้องการพัฒนาตามสภาพของนักเรียน สอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพของขุมชน  ครูผู้สอนมีการประเมินการอ่าน  การคิดวิเคราะห์  การเขียน  การประเมินสมรรถนะสำคัญผู้เรียนและการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน  ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านและเขียน ความสามารถในการสื่อสาร คิดคำนวณ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ดี และมีความประพฤติด้านคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะตามที่สถานศึกษากำหนดสถานศึกษาวางแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยมีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียน โดยใช้ข้อมูลพื้นฐาน 3 ปีย้อนหลังเป็นเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนให้พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติและการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning เน้นทักษะในการอ่าน การเขียนและการคิดคำนวณ ส่งผลให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ

ผลการพัฒนา

ผลการพัฒนาส่งผลให้การประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ปีการศึกษา 256๖ การอ่านออกเสียง การอ่านรู้เรื่อง เฉลี่ยทั้งสองด้านต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด ผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) เฉลี่ยต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด ผลการประเมินทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 256๖  วิชาภาษาไทยคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสูงกว่าระดับประเทศ วิชาคณิตศาสตร์คะแนนเฉลี่ย ต่ำกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสูงกว่าระดับประเทศ    วิชาวิทยาศาสตร์คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสูงกว่าระดับประเทศ และวิชาภาษาอังกฤษ คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษาและต่ำกว่าระดับประเทศ  โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่พร้อมใช้งาน และมีระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนทุกห้องเรียนมี ครูครบชั้น ครูจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์นักเรียน และจัดกิจกรรม Active learning เพื่อส่งเสริมการคิด และปฏิบัติจริงทุกชั้นเรียนครูได้รับการพัฒนา และนำความรู้มาจัดทำแผนการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน และเครื่องมือวัดและประเมินผลผู้เรียน

 

 

 

จุดเด่น

ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์และภาวะผู้นำ มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ใช้เทคนิคการประชุม             ที่หลากหลาย เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่ม  เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และแผนการศึกษาชาติ ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพอย่างเต็มตามศักยภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรสถานศึกษาและโรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่สะอาด ร่มรื่น สวยงามที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนมีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา  รวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง

จุดที่ควรพัฒนา

          เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนมากขึ้นสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็งมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

1.ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม และเน้นการจัดการเรียนการสอนทักษะวิชาชีพให้มากขึ้น

2.ส่งเสริมให้บุคลากรมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้นด้วยการส่งเสริมการอบรมและการพัฒนาเฉพาะทางมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนและส่งเสริมให้มีกาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานเพื่อนำมาพัฒนาผู้เรียนและการให้ความสำคัญกับการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนได้ตรงเป้าหมายโดยมีผู้บริหารนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง

           

 
 

 

 

 

 


(นางสาวศุภลักษณ์ พรมสุวรรณ)

ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบางดี

 

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     โครงการ "สุขาดี มีความสุข" 10 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566 2 มิ.ย. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2566 1 มิ.ย. 2567
     การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 29 พ.ค. 2567
     รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2566 25 พ.ค. 2567


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.