บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อโรงเรียน วัดควนไทร ที่อยู่ ๖๖ ม.๑ ตำบลปากคม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ ๙๒๑๓๐ ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นายพิเศษ คงวัน เบอร์โทร ๐๘๙-๗๒๘๖๖๐๔ เพจ โรงเรียนวัดควนไทร
เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนวัดควนไทรมีเนื้อที่ ๑๒ ไร่ ๓ งาน ๕๗ ตารางวา เขตพื้นที่บริการ ๔ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๑,๒,๔,๖ ตำบลปากคม นอกจากนี้ยังมีนักเรียนจากหมู่บ้านใกล้เคียงเข้ามาเรียนอีกจำนวนหนึ่ง คือหมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งต่อ
จำนวนครู ๙ คน จำแนกเป็น ข้าราชการครู ๖ คน พนักงานราชการ ๑ คน ครูอัตราจ้าง ๒ คน จำนวนนักเรียนรวม ๘๗ คนจำแนกเป็นระดับอนุบาล ๘ คน ระดับประถมศึกษา 6๙ คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 1๐ คน เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต ๒ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษานั้น โรงเรียนได้ดำเนินการโดยกำหนดเป้าหมายให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
ผลพัฒนาการตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
ปีการศึกษา ๒๕๖๓
มาตรฐานที่
|
รายการ
|
ร้อยละของนักเรียนตามระดับ
|
๓
|
๒
|
๑
|
คน
|
ร้อยละ
|
คน
|
ร้อยละ
|
คน
|
ร้อยละ
|
๑.
|
ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี
|
๖
|
๑๐๐
|
-
|
-
|
-
|
-
|
๒.
|
กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ ได้อย่างคล่องแคล่ว และประสานสัมพันธ์กัน
|
๕
|
๘๓.๓๓
|
๑
|
๑๖.๖๗
|
-
|
-
|
๓.
|
มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข
|
๖
|
๑๐๐
|
-
|
-
|
-
|
-
|
๔.
|
ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
|
๖
|
๑๐๐
|
-
|
-
|
-
|
-
|
๕.
|
มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
|
๖
|
๑๐๐
|
-
|
-
|
-
|
-
|
๖.
|
มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
|
๖
|
๑๐๐
|
-
|
-
|
-
|
-
|
๗.
|
รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
|
๖
|
๑๐๐
|
-
|
-
|
-
|
-
|
๘.
|
อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
|
๖
|
๑๐๐
|
-
|
-
|
-
|
-
|
๙.
|
ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
|
๖
|
๑๐๐
|
-
|
-
|
-
|
-
|
๑๐.
|
มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
|
๕
|
๘๓.๓๓
|
๑
|
๑๖.๖๗
|
-
|
-
|
๑๑.
|
มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
|
๖
|
๑๐๐
|
-
|
-
|
-
|
-
|
๑๒.
|
มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
|
๕
|
๘๓.๓๓
|
๑
|
๑๖.๖๗
|
-
|
-
|
เฉลี่ยร้อยละ
|
|
|
๙๘.๖๑
|
|
-
|
๑.๓๘
|
-
|
-
|
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ร้อยละของนักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละรายวิชาในระดับ ๓ ขึ้นไประดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ปีการศึกษา ๒๕๖๓
กลุ่มสาระการเรียนรู้
|
จำนวนนักเรียนที่มีผลการเรียนรู้
ระดับ ๓ ขึ้นไป
|
ชั้น/จำนวนเต็มนักเรียน
|
|
ป.๑
8
|
ป.๒
๑๒
|
ป.๓
๑๒
|
ป.๔
๙
|
ป.๕
๑๒
|
ป.๖
๑๕
|
รวม
๖๘
|
|
ภาษาไทย
|
จำนวน
|
๕
|
๘
|
๙
|
๘
|
๗
|
๘
|
๔๕
|
|
ร้อยละ
|
๖๒.๕๐
|
๖๖.๖๗
|
๗๕.๐๐
|
๘๘.๘๙
|
๕๘.๓๓
|
๕๓.๓๓
|
๖๖.๑๘
|
|
คณิตศาสตร์
|
จำนวน
|
๕
|
๘
|
๙
|
๘
|
๗
|
๘
|
๔๕
|
|
ร้อยละ
|
๖๒.๕๐
|
๖๖.๖๗
|
๗๕.๐๐
|
๘๘.๘๙
|
๕๘.๓๓
|
๕๓.๓๓
|
๖๖.๑๘
|
|
สังคมศึกษา
|
จำนวน
|
๗
|
๑๑
|
๑๑
|
๔
|
๗
|
๑๓
|
๕๓
|
|
ร้อยละ
|
๘๗.๕๐
|
๙๑.๖๗
|
๙๑.๖๗
|
๔๔.๔๔
|
๕๘.๓๓
|
๘๖.๖๗
|
๗๗.๙๔
|
|
วิทยาศาสตร์
|
จำนวน
|
๗
|
๙
|
๑๑
|
๖
|
๖
|
๖
|
๔๓
|
|
ร้อยละ
|
๖๒.๕๐
|
๗๕.๐๐
|
๙๑.๖๗
|
๖๖.๖๗
|
๕๐.๐๐
|
๔๐.๐๐
|
๖๓.๒๔
|
|
ภาษาต่างประเทศ
|
จำนวน
|
๕
|
๗
|
๑๐
|
๗
|
๘
|
๑๐
|
๔๗
|
|
ร้อยละ
|
๖๒.๕๐
|
๕๘.๓๓
|
๘๓.๓๓
|
๗๗.๗๘
|
๖๖.๖๗
|
๖๖.๖๗
|
๖๙.๑๒
|
|
การงานอาชีพ
|
จำนวน
|
8
|
๑๒
|
๑๒
|
๙
|
๙
|
๑๕
|
๖๕
|
|
ร้อยละ
|
๑๐๐
|
๑๐๐
|
๑๐๐
|
๑๐๐
|
๗๕.๐๐
|
๑๐๐
|
๙๕.๕๙
|
|
ศิลปะ
|
จำนวน
|
๘
|
๖
|
๑๐
|
๖
|
๑๒
|
๑๓
|
๕๕
|
|
ร้อยละ
|
๑๐๐
|
๕๐.๐๐
|
๘๓.๓๓
|
๖๖.๖๗
|
๑๐๐
|
๘๖.๖๗
|
๘๐.๘๘
|
|
สุขศึกษา
|
จำนวน
|
8
|
๑๒
|
๑๒
|
๙
|
๑๒
|
๑๕
|
๖๘
|
|
ร้อยละ
|
๑๐๐
|
๑๐๐
|
๑๐๐
|
๑๐๐
|
๑๐๐
|
๑๐๐
|
๑๐๐
|
|
|
ประวัติศาสตร์
|
|
จำนวน
|
๕
|
๑๑
|
๑๑
|
๗
|
๙
|
๑๐
|
๕๓
|
ร้อยละ
|
๖๒.๕๐
|
๙๑.๖๗
|
๙๑.๖๗
|
๗๗.๗๘
|
๗๕.๐๐
|
๖๖.๖๗
|
๗๗.๔๔
|
รวมทั้งหมด
|
จำนวน
|
๕๘
|
๘๔
|
๙๕
|
๖๔
|
๗๗
|
๙๘
|
๔๗๔
|
ร้อยละ
|
๘๐.๕๖
|
๗๗.๗๘
|
๘๗.๙๖
|
๗๐.๓๓
|
๗๑.๓๐
|
๗๒.๖๙
|
๗๗.๔๕
|
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ร้อยละของนักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละรายวิชาในระดับ ๓ ขึ้นไประดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๓
กลุ่มสาระการเรียนรู้
|
จำนวนนักเรียนที่มีผลการเรียนรู้
ระดับ ๓ ขึ้นไป
|
ชั้น/จำนวนเต็มนักเรียน
|
ม.๑
๔
|
ม.๒
๔
|
ม.๓
๒
|
รวม
๑๐
|
ภาษาไทย
|
จำนวน
|
๒
|
๒
|
๒
|
๖
|
ร้อยละ
|
๕๐.๐๐
|
๕๐.๐๐
|
๑๐๐
|
๖๐.๐๐
|
คณิตศาสตร์
|
จำนวน
|
๓
|
๔
|
๑
|
๘
|
ร้อยละ
|
๗๕.๐๐
|
๑๐๐
|
๕๐.๐๐
|
๘๐.๐๐
|
สังคมศึกษา
|
จำนวน
|
๒
|
๑
|
-
|
๓
|
ร้อยละ
|
๕๐.๐๐
|
๒๕.๐๐
|
-
|
๓๐.๐๐
|
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ร้อยละของนักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละรายวิชาในระดับ ๓ ขึ้นไประดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๓
กลุ่มสาระการเรียนรู้
|
จำนวนนักเรียนที่มีผลการเรียนรู้
ระดับ ๓ ขึ้นไป
|
ชั้น/จำนวนเต็มนักเรียน
|
ม.๑
๔
|
ม.๒
๔
|
ม.๓
๒
|
รวม
๑๐
|
วิทยาศาสตร์
|
จำนวน
|
๒
|
๒
|
-
|
๔
|
ร้อยละ
|
๕๐.๐๐
|
๕๐.๐๐
|
-
|
๔๐.๐๐
|
ภาษาต่างประเทศ
|
จำนวน
|
๒
|
๓
|
๑
|
๖
|
ร้อยละ
|
๕๐.๐๐
|
๗๕.๐๐
|
๕๐.๐๐
|
๖๐.๐๐
|
การงานอาชีพ
|
จำนวน
|
๔
|
๔
|
๒
|
๑๐
|
ร้อยละ
|
๑๐๐
|
๑๐๐
|
๑๐๐
|
๑๐๐
|
ศิลปะ
|
จำนวน
|
๔
|
๔
|
๒
|
๑๐
|
ร้อยละ
|
๑๐๐
|
๑๐๐
|
๑๐๐
|
๑๐๐
|
สุขศึกษา
|
จำนวน
|
๔
|
๔
|
๒
|
๑๐
|
ร้อยละ
|
๑๐๐
|
๑๐๐
|
๑๐๐
|
๑๐๐
|
ประวัติศาสตร์
|
จำนวน
|
๒
|
๑
|
-
|
๓
|
ร้อยละ
|
๕๐.๐๐
|
๒๕.๐๐
|
-
|
๓๐.๐๐
|
รวมทั้งหมด
|
จำนวน
|
๒๕
|
๒๕
|
๑๐
|
๖๐
|
ร้อยละ
|
๖๙.๔๔
|
๖๙.๔๔
|
๕๕.๕๖
|
๖๖.๖๗
|
ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ปีการศึกษา ๒๕๖๓
|
จำนวนนักเรียนทั้งหมด
|
จำนวนนักเรียนตามระดับคุณภาพ
(คุณลักษณะอันพึงประสงค์)
|
ดีเยี่ยม
|
ดี
|
ผ่าน
|
ไม่ผ่าน
|
จำนวน
|
ร้อยละ
|
จำนวน
|
ร้อยละ
|
จำนวน
|
ร้อยละ
|
จำนวน
|
ร้อยละ
|
ป. ๑
|
๘
|
๖
|
๗๕.๐๐
|
๒
|
๒๕.๐๐
|
-
|
-
|
-
|
-
|
ป. ๒
|
๑๒
|
๘
|
๖๖.๖๗
|
๔
|
๓๓.๓๓
|
-
|
-
|
-
|
-
|
ป. ๓
|
๑๒
|
๑๑
|
๙๑.๖๗
|
๑
|
๘.๓๓
|
-
|
-
|
-
|
-
|
ป. ๔
|
๙
|
๖
|
๖๖.๖๗
|
๓
|
๓๓.๓๓
|
-
|
-
|
-
|
-
|
ป. ๕
|
๑๒
|
๙
|
๗๕.๐๐
|
๓
|
๒๕.๐๐
|
-
|
-
|
-
|
-
|
ป. ๖
|
๑๕
|
๑๓
|
๘๖.๖๗
|
๒
|
๑๓.๓๓
|
-
|
-
|
-
|
-
|
รวม
|
๖๘
|
๕๓
|
๗๗.๙๔
|
๑๕
|
๒๒.๐๖
|
-
|
-
|
-
|
-
|
ผลการประเมินการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๓
ระดับชั้นเรียน
|
จำนวนนักเรียน
|
ระดับคุณภาพ
|
ร้อยละ
|
ดีเยี่ยม
|
ดี
|
ผ่าน
|
ไม่ผ่าน
|
ระดับดีขึ้นไป
|
ป.๑
|
๘
|
๓
|
๔
|
๑
|
๐
|
๗
|
|
ป.๒
|
๑๒
|
๔
|
๖
|
๒
|
๐
|
๑๐
|
|
ป.๓
|
๑๒
|
๕
|
๖
|
๑
|
๐
|
๑๑
|
|
รวม
|
๓๒
|
๑๒
|
๑๖
|
๔
|
-
|
๒๘
|
๘๗.๕๐
|
ป.๔
|
๙
|
๒
|
๕
|
๒
|
๐
|
๗
|
|
ป.๕
|
๑๒
|
๕
|
๕
|
๒
|
๐
|
๑๐
|
|
ป.๖
|
๑๒
|
๕
|
๘
|
๒
|
๐
|
๑๓
|
|
รวม
|
๓๖
|
๑๒
|
๑๘
|
๖
|
-
|
๓๐
|
๘๓.๓๓
|
ม.๑
|
๔
|
๐
|
๒
|
๒
|
๐
|
๒
|
|
ม.๒
|
๔
|
๒
|
๑
|
๑
|
๐
|
๓
|
|
ม.๓
|
๒
|
๐
|
๒
|
๐
|
๐
|
๒
|
|
รวม
|
๑๐
|
๒
|
๕
|
๓
|
-
|
๗
|
๗๐.๐๐
|
ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน RT ชั้นประถมศึกษาปีที่๑ปีการศึกษา ๒๕๖๓
การประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน
|
จำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ(คน)
|
คะแนนเฉลี่ยร้อยละ
|
จำนวนนักเรียนที่มีคะแนนร้อยละ๕๐ ขึ้นไป(คน)
|
การอ่านออกเสียง
|
๘
|
๗๒.๐๐
|
๖
|
การอ่านรู้เรื่อง
|
๘
|
๗๗.๗๕
|
๘
|
รวม ๒ ด้าน
|
๘
|
๗๔.๘๗
|
๗
|
ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๓
การประเมินคุณภาพ
ของผู้เรียน
|
จำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ(คน)
|
คะแนนเฉลี่ยร้อยละ
|
ระดับผลการทดสอบจำแนกรายวิชา
|
ความสามารถด้านคณิตศาสตร์
|
๑๒
|
๓๗.๓๓
|
พอใช้
|
ความสามารถด้านภาษาไทย
|
๑๒
|
๔๘.๖๖
|
พอใช้
|
รวม ๒ ด้าน
|
๑๒
|
๘๖.๐๐
|
พอใช้
|
ค่าเฉลี่ย ๒ ด้าน
|
|
๔๓.๐๐
|
|
ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ปีการศึกษา ๒๕๖๓
รายวิชาที่ทดสอบ
|
จำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ(คน)
|
คะแนนเฉลี่ยร้อยละ
|
จำนวนนักเรียนได้คะแนนรวม ๕๐%ขึ้นไป(คน)
|
ภาษาไทย
|
๑๔
|
๔๘.๗๓
|
๗
|
ภาษาอังกฤษ
|
๑๔
|
๓๙.๒๙
|
๕
|
คณิตศาสตร์
|
๑๔
|
๒๔.๖๒
|
๐
|
วิทยาศาสตร์
|
๑๔
|
๓๓.๘๖
|
๐
|
รวมค่าเฉลี่ยร้อยละ
|
|
๓๖.๖๒
|
|
นอกจากนี้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษานั้น โรงเรียนได้ดำเนินการโดยกำหนดเป้าหมายให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีผลประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาดังนี้
ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
v ระดับการศึกษาปฐมวัย
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
|
ระดับคุณภาพ
|
กำลังพัฒนา
|
ปานกลาง
|
ดี
|
ดีเลิศ
|
ยอดเยี่ยม
|
มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพผู้เรียน
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ü
|
|
มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ü
|
|
มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ü
|
|
กระบวนการพัฒนาโดยภาพรวม
โรงเรียนวัดควนไทรจัดโครงการและกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของคนเองอย่างต่อเนื่อง จัดโครงการและกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจควบคุมและแสดงเหมาะสม โดยมีการจัดกิจกรรมแบบ ๖ กิจกรรมหลัก เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีวินัยในตนเอง ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม ด้านสติปัญญา มีความสามารถในการคิด แก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย ผลการประเมินตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม มีผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
ผลการพัฒนาโดยภาพรวม
คุณภาพเด็กเด็กด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ เด็ก ระดับปฐมวัย ๖ คน มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ จำนวน ๖ คน โรงเรียนวัดควนไทร ได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้สนุกสนาน มีความสุขในการเรียนรู้ จากโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ส่งผลให้นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนวัดควนไทรมีพัฒนาการด้านร่างกาย ร้อยละ ๙๑.๖๗
คุณภาพเด็กทางด้านอารมณ์จิตใจ เด็กมีอารมณ์จิตใจร่าเริงแจ่มใส มีความสุขกับการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น สามารถควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมตามวัย รู้จักชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่นโรงเรียนวัดควนไทร ได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ส่งผลให้นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนวัดควนไทรมีพัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ ร้อยละ ๑๐๐
คุณภาพเด็กทางด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนวัดควนไทรทุกคนช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน มีวินัยในตนเอง รู้จักการประหยัดพอเพียง มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียน มีมารยาททางวัฒนธรรมไทย เช่น การไหว้ การทักทาย จากโครงการพัฒนาผู้เรียนระดับปฐมวัย กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนวัดควนไทร ร้อยละ 100
คุณภาพเด็กด้านสติปัญญา สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนวัดควนไทร สนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัยและพยายามค้นหาคำตอบ อ่านนิทานและเล่าเรื่องที่ตนเองอ่านได้เหมาะสมกับวัย มีความสามารถในการคิดรวบยอด การคิดแก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจเรื่องง่ายๆได้ จากโครงการพัฒนาผู้เรียนระดับปฐมวัย กิจกรรมเรียนรู้สู่โลกกว้าง ส่งผลให้นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนวัดควนไทรมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสม ร้อยละ ๙๑.๖๗
ด้านกระบวนการจัดการบริหารและการจัดการหลักสูตรโรงเรียนวัดควนไทรมีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น จากโครงการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พุธศักราช 2560 กิจกรรมกิจกรรมบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน ส่งผลให้โรงเรียนวัดควนไทรมีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยตามพุธศักราช 2560
ด้านการจัดครูให้เพียงพอต่อชั้นเรียนโรงเรียนวัดควนไทรได้มีการจัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือมีครูประจำการที่จบการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนวัดควนไทรส่งบุคลากรเข้ารับการ อบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
ด้านส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์โรงเรียนวัดควนไทรได้มีการพัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยทุกคนล้วนมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง
จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และพอเพียง โรงเรียนวัดควนไทรมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ จากโครงการส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ กิจกรรมปรับปรุงสภาพแวดล้อมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ส่งผลให้โรงเรียนวัดควนไทรมีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัย
การให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์โรงเรียนวัดควนไทรมีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเพียงพอและทั่วถึง
มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม โรงเรียนมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด ได้มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง จากโครงการส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ส่งผลให้โรงเรียนวัดควนไทรมีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
ด้านการจัดการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุกๆด้านให้เหมาะสมกับวัย
จุดเด่น
เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการเพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบ
เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่
เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา มีความคิดร่วมยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐานแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย จากโครงการพัฒนาผู้เรียนระดับปฐมวัย กิจกรรมเปิดบ้านอนุบาล ส่งผลให้โรงเรียนวัดควนไทรได้มีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ โรงเรียนวัดควนไทรได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ ความสามัคคี การแบ่งปัน และการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข จากโครงการพัฒนาผู้เรียนระดับปฐมวัย กิจกรรมเรียนรู้สู่โลกกว้าง ส่งผลให้โรงเรียนวัดควนไทรได้มีการจัดประสบการณ์ที่สร้างโอกาสให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติอย่างมีความสุข
โรงเรียนวัดควนไทรจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย โรงเรียนวัดควนไทรได้จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้อเผื่อเผื่อแต่ต่อกันและกัน ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน นอกจากนี้โรงเรียนวัดควนไทรมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศ แจ่มใส กว้างขวางพอเหมาะ มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ มีการตกแต่งห้องเรียนให้สดใส และมีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน จากโครงการพัฒนาผู้เรียนระดับปฐมวัย กิจกรรมเปิดบ้านอนุบาล ส่งผลให้โรงเรียนวัดควนไทรได้มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย
โรงเรียนวัดควนไทรมีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก โรงเรียนวัดควนไทรมีกระบวนการ การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดกิจวัตรประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสอบถาม การสำรวจ และการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็ก โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนจากโครงการพัฒนาผู้เรียนระดับปฐมวัย กิจกรรมเปิดบ้านอนุบาลและกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านโครงงานวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย ส่งผลให้โรงเรียนวัดควนไทรได้มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก
จุดที่ควรพัฒนา
1. การส่งเสริมให้เด็กรู้จักการรอคอย และการมีระเบียบวินัย
2. สนามเด็กเล่นที่ค่อนข้างเล็ก ไม่เพียงพอกับจำนวนของเด็ก
3. การเปิดโอกาสให้ชุมชน และผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ พัฒนาระบบการเรียนการสอน ไปในทิศทางเดียวกัน
4. ครูผู้สอนจัดกิจกรรมเน้นให้เด็กได้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์อย่างหลากหลายและใช้แหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองจัดประสบการณ์ด้วยวิธีการที่หลากหลายสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และฝึกให้เด็กได้คิดวิเคราะห์หาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ สื่อเทคโนโลยีให้มากขึ้น
5. ครูผู้สอนควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น
การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย พัฒนาเด็กได้ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล และเด็กทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างสูงสุดเต็มศักยภาพ แนวทางการจัดการศึกษาในหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย โรงเรียนวัดควนไทร จะต้องเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง บุคคลทั่วไป องค์กรและหน่วยงานที่มาศึกษาดูงาน ตลอดจนสถาบันทางการศึกษาต่าง ๆ ที่ผลิตครูผู้สอนในระดับปฐมวัย
โรงเรียนวัดควนไทร มีแนวทางในการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต ดังนี้
1. พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม แต่ละปีเพื่อเติมเต็มให้มีความสมบูรณ์ เน้นการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้
2. ศึกษาและจัดทำนวัตกรรมเพื่อให้มีสื่อ/ กระบวนการสอนมีกระบวนการที่สมบูรณ์สอดคล้องกับหลักการทำงานของสมอง
3. พัฒนารูปแบบการจัดเก็บข้อมูลเด็ก ในระบบสารสนเทศของชั้นเรียนด้วยระบบเทคโนโลยีและสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้สะดวก ทุกที่ ทุกเวลา
4. ขยายแนวคิดการพัฒนาเด็กตามรูปแบบ การจัดการศึกษา ระดับปฐมวัย ปฏิบัติสู่สาธารณชน โดยวิธีการต่าง ๆ เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงาน ฝึกปฏิบัติงาน ครูนำความรู้เผยแพร่ด้วยการเป็นวิทยากร การเขียนหนังสือบทความ
v ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
|
ระดับคุณภาพ
|
|
กำลังพัฒนา
|
ปานกลาง
|
ดี
|
ดีเลิศ
|
ยอดเยี่ยม
|
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน
|
|
|
|
|
|
|
|
|
P
|
|
|
|
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
P
|
|
|
|
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
P
|
|
|
โรงเรียนวัดควนไทรจัดการเรียนการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน ๗๙ คน ครูผู้สอน 8 คน
จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพของตนเอง (SAR) ปีการศึกษา 256๓ เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่น ๆ ผลการประเมินตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับ ดีเลิศ มีผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
กระบวนการพัฒนาโดยภาพรวม
โรงเรียนกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ 2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ สำหรับด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และมีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทยการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
โรงเรียนมีการประเมินคุณภาพผู้เรียนมีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียนโดยใช้ข้อมูลฐาน 3 ปีย้อนหลังเป็นเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ จัดแหล่งเรียนรู้ภายในให้เหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมี สุขภาพกาย สุขภาพจิตดี มีความกล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข เน้นทักษะการทำงานร่วมกัน ทำให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้นจากการประเมินนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3จำนวน ๗๙ คน มีผลการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนได้อยู่ในระดับ ดีขึ้นไป จำนวน ๖5 คน คิดเป็น ร้อยละ ๘๒.๒๘นักเรียนมีความสามารถในการคิดจำแนก แยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล มีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ จากการเรียนรู้โดย โครงการ/ กิจกรรมพัฒนาการอ่านเขียน นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดระดับดีเยี่ยม ร้อยละ ๗๗.๙๓ กำหนดมาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียนตามที่ว่า “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ดังนั้นโรงเรียนวัดควนไทรจึงกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ 2) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ สำหรับด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และ มีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทยการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลายโดยมีประเด็นภาพความสำเร็จด้านคุณภาพผู้เรียน ดังนี้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้นมีความสามารถในการคิดจำแนก แยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล มีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด โครงการ โครงงาน ชิ้นงาน ผลผลิตความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง และสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน อย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรมมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานเดิมในด้านความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ กระบวนการต่าง ๆ รวมทั้งมีความก้าวหน้าในผลการทดสอบระดับชาติ หรือผลการทดสอบอื่น ๆมีความรู้ ทักษะพื้นฐานในการจัดการ เจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น การทำงานหรืองานอาชีพมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและจิตสำนึกตามที่สถานศึกษากำหนดโดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคมมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญา ผู้เรียนยอมรับการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้าน เพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ภาษาวัฒนธรรม ประเพณีมีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม แสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัยสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข เข้าใจผู้อื่น ไม่มีความขัดแย้งกับผู้อื่น
ผลการพัฒนาโดยภาพรวม
โรงเรียนวัดควนไทรมีการบริหารและการจัดการเพื่อให้บรรลุตามกระบวนการบริหารและการจัดการคุณภาพของสถานศึกษา การดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยใช้ข้อมูลฐานในการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจน ในดำเนินการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน ตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกกลุ่มเป้าหมาย เชื่อมโยงกับชีวิตจริง จัดทำแผนพัฒนา คุณภาพจัดการศึกษา ดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ ทางด้านวิชาชีพ ตามความต้องการของครูและสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนบ้านตาขุน โดยประเมินภาพความสำเร็จดังนี้ โรงเรียนมีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่โรงเรียนกำหนดชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและของต้นสังกัด รวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมมีระบบการบริหารจัดการคุณภาพอย่างเป็นระบบ วางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโดยนำแผนไปปฏิบัติ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และปรับปรุง พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการนิเทศภายใน นำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาบุคลากร และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนในการวางแผน ปรับปรุง พัฒนาและร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษามีการบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ พัฒนาหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน เชื่อมโยงวิถีชีวิตจริงและครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มที่เรียนแบบควบรวมและกลุ่มเรียนร่วมด้วย มีการส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรตรงตามความต้องการและจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียนจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ มีความปลอดภัยจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน จัดหา พัฒนาและบริการด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ จัดให้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม
ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรม อย่างหลากหลาย มุ่งส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning) ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูลมาร่วมพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และสอนตามแผน ครูผลิตนวัตกรรม แผนการจัดการเรียนรู้ อีกทั้งปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่าง ๆทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้ครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษาละ 1 เรื่อง โดยมีประเด็นภาพความสำเร็จด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้ครูจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ให้นักเรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีแผนการจัดการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมสำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ ได้แสดงความคิดเห็น ได้แสดงออก เป็นผู้สามารถสรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ครูใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ นักเรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างเด็ก กับครู ครูกับเด็กเด็กกับเด็ก เด็กรักการเรียนรู้ และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขครูร่วมกันออกแบบการวัดผลประเมินผลเพื่อตรวจสอบ และประเมินผู้เรียนอย่างมีขั้นตอน ใช้เครื่องมือ วิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสม พร้อมทั้งนำผลไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูผู้สอนร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ (PLC) เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และนำไปปรับปรุง /พัฒนาการจัดการเรียนรู้
จุดเด่น
1.ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ ตามเกณฑ์ของแต่ละระดับชั้น และสามารถวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยน และแก้ปัญหาอยู่ในระดับดีมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้อย่างเหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย
2. ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6มีคะแนนเฉลี่ยรายวิชาภาษาไทย สูงกว่าระดับสังกัด สพฐ. ระดับประเทศ และมีคะแนนเฉลี่ยรายวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ สูงกว่าปีการศึกษา 2562
3. ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตนตามหลักพระพุทธศาสนาได้ ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้ำหนักส่วนสูงส่วนใหญ่ตามเกณฑ์มาตรฐาน และมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับดีเลิศมีจิตสาธารณะ มีสุขภาวะที่ดี สามารถหลีกเลี่ยงยาเสพติด มีสุขภาพจิตดี ผู้เรียนร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ช่วยทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนและชุมชนเป็นผู้ที่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
4. โรงเรียนวัดควนไทรมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยนำหลักธรรมาภิบาลมาบูรณาการเข้ากับการดำเนินงานของกลุ่มงานต่างๆ ของสถานศึกษา ทั้งการดำเนินงานของกลุ่มงานการบริหารวิชาการ บริหารงบประมาณ บริหารงานบุคคล และบริหารทั่วไป ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา
5. ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา และโรงเรียนได้มีการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โรงเรียนเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็งมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา
6. ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน ได้เรียนในสิ่งที่ตนสนใจ ท้าทายให้แสดงความสามารถและสามารถนำสิ่งได้เรียนรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
7.ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอนโดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการคิดได้ปฏิบัติจริง มีการให้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
8. ครูผู้สอนมีการวางแผนกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยจัดทำกำหนดการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชาที่รับผิดชอบ และมีการจัดทำงานวิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนละ 1 เรื่อง
9. โรงเรียนจัดทำโครงการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อให้ครูผู้สอนได้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดกิจกรรมการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก จัดกิจกรรมได้หลากหลาย เลือกใช้เทคนิคการสอน การวัดและประเมินผล ให้เหมาะสมกับผู้เรียน
จุดที่ควรพัฒนา
1. ผู้เรียนต้องเร่งพัฒนาด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ การคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ ด้านการนำเสนอ การอภิปราย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมเหตุสมผล และต้องพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสมตามวัย
2. ผู้เรียนต้องได้รับการส่งเสริมในด้านทัศนคติที่ดีต่อความเป็นไทย ไม่หลงใหลกับค่านิยมต่างชาติจนเกิดการลอกเลียนแบบ ทำให้ลืมวัฒนธรรมอันดีงามของไทย
3. ผู้เรียนควรมีการส่งเสริมทักษะด้านการคิดวิเคราะห์เพิ่มมากขึ้น
4. ผู้เรียนต้องพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น และเพิ่มคะแนน RT, NT และ O-NET ให้สูงขึ้นมากกว่าคะแนนเฉลี่ยของระดับประเทศทุกรายวิชา
5. โรงเรียนวัดควนไทรควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา
6. โรงเรียนวัดควนไทรควรดูแลผู้เรียนให้ทั่วถึง ส่งเสริมเด็กเก่ง และซ่อมเสริมเด็กอ่อน ทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้อีกประการหนึ่งด้วย
7. โรงเรียนวัดควนไทร ควรส่งเสริมการนำภูมิปัญญาในท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น
1. พัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณมีความสามารถในการคิดจำแนก แยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล เป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้น
2. พัฒนาให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการสื่อสารแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ สู่กระบวนการแก้ปัญหา และนำไปใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
3.พัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
4.พัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง และสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน อย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรม
5. พัฒนาให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานเดิมในด้านความรู้ ความเข้าใจทักษะ กระบวนการต่าง ๆ
6. พัฒนาให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน RT, NT และ O-NET ให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐานในการจัดการเจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น
7.พัฒนาให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและจิตสำนึกตามที่สถานศึกษากำหนด มีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญาไทย
8.พัฒนาให้ผู้เรียนมีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม แสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
9. พัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนาครูผู้สอนให้เป็นครูมืออาชีพที่มีคุณภาพ
10. พัฒนาครูทุกท่านให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คือ ลดภาระงานพิเศษให้น้อยลง จัดหาแหล่งเรียนรู้สื่อ อุปกรณ์ อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ครูโดยเฉพาะ มีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงาน เปิดรับการเปลี่ยนแปลง และสิ่งใหม่ ๆ เปิดโอกาสด้านการแสดงออกทางความคิดอย่างเสรีมากขึ้น สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เพิ่มมากขึ้น ส่งเสริมกิจกรรมร่วมคิด ร่วมทำ เพื่อเป้าหมายและวิสัยทัศน์ร่วมกันของโรงเรียน โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ/อบรม/สัมมนา และศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งมีการติดตามตรวจสอบของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อตัวบุคคล
11. พัฒนาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายใน อาทิ ห้องสมุดอาเซียน ห้องสมุด ซึ่งจะมีมุมหนังสือ มุมมัลติมีเดีย มุมสืบค้นข้อมูล (คอมพิวเตอร์) ให้บริการกับนักเรียน นักเรียนสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้
12. พัฒนากระบวนการดำเนินงานและการบริหารจัดการ โดยเน้นการสร้างความเข้าใจ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ครู บุคลากร ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งผลสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนจนเป็นที่ยอมรับของชุมชนและท้องถิ่น
13. สร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่สังคมคาดหวัง คือ มีคุณธรรม เป็นคนดีมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีทักษะที่หลากหลาย เช่น ทำงานเป็นทีม มีความรับผิดชอบ รู้จักการแก้ไขปัญหามีความสามารถด้านการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 2 ภาษา มีพื้นฐานและทักษะการคำนวณที่ดี และมีความชำนาญ ในการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมเผชิญปัญหา และสามารถเลือกวิธีแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม เป็นต้น
14. มีการจัดอบรมครูให้พัฒนาขีดความสามารถในการใช้สื่อ เทคโนโลยี อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
15. ลดภาระงานอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ครูมีเวลาเพียงพอในการเตรียมการสอน และพัฒนาตนเองด้านการสอน
16. มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาสอดแทรกในการจัดการเรียนรู้ และนำผลการเรียนรู้มาพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
|