โรงเรียนบ้านท่าส้ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ได้ดำเนินงานด้านการสร้างความเข้มแข็งของระบบประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยได้ดำเนินงานตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ดังนี้
1. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานชาติ และมาตรฐานการศึกษาของต้นสังกัด สภาพบริบท ปัญหา ความต้องการ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
2. จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
3. ปฏิบัติงานโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
4. จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ติดตามผลการดำเนินการ อย่างต่อเนื่อง
5. จัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง และนำผลมาพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา พร้อมทั้งเผยแพร่ให้สาธารณชนและหน่วยงานต้นสังกัดทราบ
ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
ชื่อสถานศึกษา : โรงเรียนบ้านท่าส้ม ที่อยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 9 บ้านท่าส้ม ตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง 92110 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2โทรศัพท์ : 075-292-133 E-Mail : bantasom@hotmail.com เปิดสอน : ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้บริหารสถานศึกษา: นายวิเพลิน ชุมพล
จำนวนครูและบุคลากร: 17 คน จำแนกเป็น ข้าราชการครูจำนวน 12 คน ครูอัตรจ้าง 1 คน และเจ้าหน้าที่อื่น 4 คน
จำนวนนักเรียน: 279 คน จำแนกเป็น ปฐมวัย จำนวน 83 คน และประถมศึกษา จำนวน 196 คน
ผลการดำเนินงาน
1. มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา : ระดับดีเลิศ
จากผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563 สรุปอยู่ในระดับดีเลิศ ก็ด้วยระบบการบริหารจัดการของโรงเรียนที่มีคุณภาพ ส่งผลให้โรงเรียนบ้านท่าส้ม พัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย สอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพของชุมชน ทั้งในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน สำหรับด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรของสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน มีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ สำหรับด้านคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของผู้เรียน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมี คุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และมีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม มีความภูมิใจใน ท้องถิ่นและความเป็นไทย ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย โรงเรียนมีการวางแผน ออกแบบกิจกรรมและดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการที่เกิดจากการมีส่วนร่วม ใช้ผลการประเมินและการดำเนินงานที่ผ่านมา เป็นฐานในการพัฒนา ตรวจสอบผลการดำเนินงานและการปรับปรุงแก้ไขงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้สื่อเทคโนโลยีในการสอน ติดตามตรวจสอบและช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหารายบุคคล โรงเรียนดำเนินงานตามระบบ การประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นขั้นตอนจนเกิดคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ให้ความสำคัญกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อเกิดความร่วมมือในการวางระบบและการดำเนินงาน
2. สรุปผลการประเมิน
2.1 ระดับปฐมวัย
2.1.1 คุณภาพของผู้เรียน
ผลพัฒนาการเด็กในด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา เด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน เคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดีใช้มือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดี ดูแลรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตนได้ ปฏิบัติตนตามข้อตกลง เกี่ยวกับความปลอดภัย เด็กร่าเริงแจ่มใส แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสม อดทนในการรอคอย เช่นการเข้าแถวหน้าเสาธง การเข้าแถวรับประทานอาหาร เป็นต้น ยอมรับและพอใจในความสามารถผลงานของตนเองและผู้อื่น มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออกมากขึ้น ช่วยเหลือแบ่งปัน อดทนอดกลั้น ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรมตามที่สถานศึกษากำหนด เช่น เก็บของได้แล้วแจ้งครูเพื่อคืนเจ้าของ ชื่นชม และมีความสุขกับศิลปะ ดนตรีและการเคลื่อนไหว พัฒนาการด้านสังคมเด็กช่วยเหลือตนเอง ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียน มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย เช่น แต่งกายแบบไทย การไหว้การยิ้ม ยอมรับหรือเคารพความแตกต่างระหว่าง เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ พัฒนาการด้านสติปัญญา เด็กสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัย และพยายามค้นหาคำตอบ อ่านนิทานและ เล่าเรื่องที่ตนเองอ่านได้เหมาะสมกับวัย มีความสามารถในการคิด รวบยอด การคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ การคิด แก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ ได้
2.1.2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีหลักสูตรสถานศึกษา สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและ การลงมือปฏิบัติตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็ก สอดคล้องกับวิถีชีวิต ของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น มีครูครบชั้นที่ตรงตามเอกและความถนัด ครูเข้ารับการอบรมพัฒนาตนเองในส่วนที่เกี่ยวข้องตามความต้องการของครู มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน โดยคำนึงถึงความปลอดภัย มีข้อมูลสารสนเทศถูกต้องครบถ้วน ดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา และประชุมผู้ปกครองนักเรียนเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2.1.3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล เต็มศักยภาพ ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา โดยเด็กได้รับการฝึก การใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก การทรงตัว การควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ส่งเสริมการควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกของตนเอง สามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่อผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมตามวัย มีความสุขกับการเรียนรู้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เด็กได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ห้องเรียนสะอาด ปลอดภัย มีมุมประสบการณ์ จัดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายโดยเน้นให้เด็กได้ปฏิบัติผ่านกิจกรรมที่ครูจัดในกิจวัตรประจำวัน กิจกรรมหลัก ๖ กิจกรรมตามหลักสูตรปฐมวัย ครูประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลายโดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมและนำผลการประเมินไปรับปรุงเพื่อพัฒนาการของเด็กต่อไป
2.2 ระดับประถมศึกษา
2.2.1 คุณภาพของผู้เรียน
นักเรียน มีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ เป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษามีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน มีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพสำหรับด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และมีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลายโดยมีประเด็นภาพความสำเร็จด้านคุณภาพผู้เรียน ดังนี้ นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้น มีความสามารถในการคิดจำแนก แยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล มีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเอง และการทำงานเป็นทีม
2.2.2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
โรงเรียนมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ที่โรงเรียนกำหนดชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและของต้นสังกัด รวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีระบบ การบริหารจัดการคุณภาพอย่างเป็นระบบ วางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโดยนำแผน ไปปฏิบัติ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษาและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการนิเทศภายใน นำข้อมูล มาใช้ในการพัฒนาบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนในการวางแผน ปรับปรุง พัฒนาและร่วมกัน รับผิดชอบต่อการจัดการศึกษามีการบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ พัฒนาหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน เชื่อมโยงวิถีชีวิตจริงและครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย โรงเรียนจัดโครงการพัฒนาบุคลากรเป็นมืออาชีพ ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน และส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งด้านวิชาการคุณธรรม จริยธรรม ทักษะวิชาการ มีการส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาตรงตามความต้องการ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ มีความปลอดภัย ใช้กระบวนการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
2.2.3 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นการปฏิบัติ (Active learning) ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน ตามมาตรฐาน และตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ จัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้ และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูลมาร่วมพัฒนา ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ ครูผลิตนวัตกรรม อีกทั้งปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด และปฏิบัติจริง ให้นักเรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีแผนการจัดการเรียนรู้และจัดกิจกรรมสำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ ได้แสดงความคิดเห็น ได้แสดงออก สามารถสรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ครูใช้ สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ใช้เครื่องมือ วิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสม พร้อมทั้งนำผลไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูผู้สอนร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เพื่อนำไปปรับปรุง /พัฒนาการจัดการเรียนรู้
3. แนวทางพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น
3.1 จัดทำแผนนิเทศและสังเกตการสอนของครู ติดตามการดำเนินงานตามนโยบาย ทั้งของหน่วยงานต้นสังกัดและผู้บริหารสถานศึกษามอบหมาย
3.2 ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูได้พัฒนาตนเองจากสื่อที่หลากหลาย และนำความรู้ที่ได้จากพัฒนาเพื่อนำไปพัฒนาให้นักเรียนมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
3.3 จัดหาสื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย โดยเฉพะสื่อการเรียนการสอน ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์