บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านป่ากอ ที่อยู่ 289 หมู่ที่ 6 ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นายอัมพร หาขุน เบอร์โทรศัพท์ 0887540794
จำนวนบุคลากรของสถานศึกษาทั้งหมด 11 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน
ข้าราชการครู 5 คน ครูอัตราจ้าง 3 คน เจ้าหน้าที่อื่น ๆ 2 คน
จำนวนนักเรียน รวม 89 คน จำแนกเป็น ระดับปฐมวัย 19 คน ระดับประถมศึกษา 70 คน
ผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
1. มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย เพื่อการประกันคุณภาพภายใน 3 มาตรฐาน ได้แก่
1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
1.3 มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาอยู่ใน ระดับคุณภาพ ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา/ผลที่เกิดจากการพัฒนา
- มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก ได้มีการพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และสติปัญญา
- มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ส่งเสริมบุคลากรให้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จัดสภาพแวดล้อมและสื่อการเรียนรู้และจัดให้มีสื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้สนับสนุนการจัดประสบการณ์
- มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเล่นอย่างมีความสุข มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
เอกสาร/หลักฐาน/ร่องรอยการดำเนินงาน
- โครงการต่าง ๆ
- กิจกรรมการจัดประสบการณ์
- รายงานผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรปฐมวัย ปีการศึกษา 2563
- รูปภาพ
- ผลงานเด็ก
จุดเด่น
มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่นำสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านเหมาะสมกับวัย
จุดที่ควรพัฒนา
ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองให้มีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์เด็ก
แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น
1) โครงการจัดแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
2) โครงการเสริมประสบการณ์ สานความคิด
3) โครงการปรับปรุงสภาพแวดล้อม ซ่อมแซมวัสดุ/ครุภัณฑ์
4) โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอนของบุคลากรปฐมวัย
2. มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายใน 3 มาตรฐาน ได้แก่
2.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี
2.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี
2.3 มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาอยู่ใน ระดับคุณภาพ ดี
กระบวนการพัฒนา/ผลการพัฒนา
จากผลการดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปตามเป้าหมายที่ตั้งเป้าหมายไว้ในแต่ละมาตรฐาน ซึ่งจากผลการประเมินสรุปว่าได้ระดับ ดี ผลที่สนับสนุนการประเมินตนเอง ดังนี้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 อ่านออกเขียนได้ ร้อยละ 89.40 มีความสามารถในการสื่อสารเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด ผลการทดสอบระดับชาติ 3 ปีย้อนหลังยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์สถานศึกษา (NTและ O-NET) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับชาติในบางวิชาและระดับชั้นที่สอบ นักเรียนทุกคนจัดทำโครงงานคุณธรรม และร่วมกิจกรรมจิตอาสา ทำให้นักเรียนผลงาน/ผลิตภัณฑ์ของตนเองนักเรียนทุกคน ไม่มีอัตราความเสี่ยงการติดสิ่งเสพติด มีโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเข้มแข็งไม่มีการทะเลาะวิวาทในโรงเรียน โรงเรียน มีระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่พร้อมใช้งาน และมีระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนทุกห้องเรียนมีครูครบชั้น ครูจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์นักเรียน เพื่อส่งเสริมการคิดและปฏิบัติจริงทุกชั้นเรียน และนำความรู้มาจัดทำแผนการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน และเครื่องมือวัดและประเมินผลผู้เรียน ผู้บริหารมีสัมพันธ์ภาพที่ดีกับชุมชน และมีการแสวงหาความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรจากชุมชน
ข้อมูล หลักฐาน เอกสารเชิงประจักษ์ ที่สนับสนุนผลการประเมินตนเอง
เป้าหมายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ โครงการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น โครงการบุคลากรก้าวหน้าการศึกษาก้าวไกล โครงการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โครงการร่วมทุนร่วมใจใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
จุดเด่น
1. ผู้เรียนมีคุณธรรม จิตอาสา
2. การบริหารจัดการศึกษา และการมี ส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง
3. จัดแหล่งเรียนรู้ภายในได้เหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย
4. ครูมีความตั้งใจมุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน
5. นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
จุดที่ควรพัฒนา
1. ผลการประเมินระดับชาติ
2. กิจกรรมที่มุ่งเน้นยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. กิจกรรมด้านการอ่าน การเขียน คำนวณให้กับนักเรียนเรียนร่วม
4. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน
5. การพัฒนาความสามารถภาษาอังกฤษของนักเรียน
6. ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูผู้สอน
แผนพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น
1) โครงการ/กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลเรียนรวม
2) โครงการพัฒนาระบบงานบริหารเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยใช้กระบวนการ PDCA
3) จัดทำแผนการพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ
4) โครงการปรับภูมิทัศน์ ปรับปรุงอาคารเรียนและสภาพแวดล้อม
5) โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
|