[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา(Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดควนธานี
ผู้เขียน : โรงเรียนวัดควนธานี
วันที่   4   มิถุนายน   2564
เข้าชม : 215
Bookmark and Share


       บทสรุปสำหรับผู้บริหาร      

 

          โรงเรียนวัดควนธานี ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1– ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประเมินคุณภาพภายในประจำปีการศึกษา 2563 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2564 มีการจัดสถานศึกษา 2 ระดับ คือ

 

ระดับการศึกษาปฐมวัย จำแนกเป็น

                    - ชั้นอนุบาลปีที่ 1         มีครูสอน 1 คน   นักเรียน จำนวน  23  คน

                     - ชั้นอนุบาลปีที่ 2 - 3     มีครูสอน 1 คน   นักเรียน จำนวน  19  คน

- รวม                       มีครูสอน 2 คน   นักเรียน ทั้งหมด 42  คน

 

            ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกเป็น

- ประถมศึกษาปีที่ 1 - 2  มีครูสอน 1 คน   นักเรียน จำนวน   5  คน

- ประถมศึกษาปีที่ 3 - 4  มีครูสอน 1 คน   นักเรียน จำนวน  10 คน

- ประถมศึกษาปีที่ 5 - 6  มีครูสอน 1 คน   นักเรียน จำนวน  10 คน

- รวม                       มีครูสอน 3 คน   นักเรียน ทั้งหมด  25 คน

 

ผลการประเมินคุณภาพในสถานศึกษา

สถานศึกษาได้แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 และสรุปผลการประเมินจำแนกตามระดับคุณภาพทั้ง 2 ระดับ ดังนี้

          1) ระดับการศึกษาปฐมวัย

มาตรฐานการศึกษา

ค่าเป้าหมาย

ผล

การประเมิน

ผล

การเปรียบเทียบ

มาตรฐานที่  คุณภาพของเด็ก

ระดับคุณภาพ 4

(ดีเลิศ)

ดีเลิศ

ตามกำหนดค่าเป้าหมายที่กำหนด

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

                  ของผู้บริหารสถานศึกษา

ระดับคุณภาพ 4

(ดีเลิศ)

ดีเลิศ

ตามกำหนดค่าเป้าหมายที่กำหนด

มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็น

                  สำคัญ

ระดับคุณภาพ 4

(ดีเลิศ)

ดีเลิศ

ตามกำหนดค่าเป้าหมายที่กำหนด

 

 

 

1.1) ผลการประเมิน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับ ดีเลิศ

      - จุดเด่น

                    เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ที่พึงประสงค์มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันอย่างดี

       - จุดที่ควรพัฒนา

(1) ด้านการมีความคิดรวบยอด การแก้ปัญหาที่เกิดจากการอ่าน

(2) การทำกิจกรรมเสริมสติปัญญาให้เหมาะสมตามวัย

(3) การพัฒนา ปลูกฝังในเรื่องสุขนิสัยที่ดี เช่น การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ล้างมือก่อนออกจากห้องน้ำ  ห้องส้วมและการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้เป็นนิสัย

 

1.2) ผลการประเมิน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ดีเลิศ

     - จุดเด่น

                   (1) มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

                    (2) ครูได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพ

               - จุดที่ควรพัฒนา

(1) จัดครูให้เพียงพอต่อชั้นเรียน

                    (2) ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์

                    (3) จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัย และพอเพียง

                    (4) กำหนดแผนการพัฒนาครูอย่างชัดเจน

 

1.3) ผลการประเมิน มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  อยู่ในระดับ ดีเลิศ

     - จุดเด่น

(1) เด็กมีพัฒนาการการอย่างสมดุล

(2) เด็กเรียนรู้จากการเล่นและปฏิบัติกิจกรรม

(3) มีบรรยากาศ สภาพห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้

(4) ประเมินผลเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย

     - จุดที่ควรพัฒนา

(1) จัดอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย

(2) พัฒนาเครื่องเล่นสนามและระบบสาธารณูปโภค

                    (3) จัดกิจกรรมส่งเสริมเด็กเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน

          1.4) ข้อเสนอแนะ

          สถานศึกษาควรจัดกิจกรรมที่สนองต่อการพัฒนาการด้านสติปัญญาและพัฒนาการจัดการศึกษาให้ตอบสนองต่อผู้เรียน จัดหาสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยส่งผลให้นักเรียนได้พัฒนาด้านสติปัญญา           ด้านสังคม และด้านอารมณ์ นอกจากนี้ควรปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 

 

2) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐานการศึกษา

ค่าเป้าหมาย

ผล

การประเมิน

ผล

การเปรียบเทียบ

มาตรฐานที่  คุณภาพของผู้เรียน

ระดับคุณภาพ 4

(ดีเลิศ)

ดีเลิศ

ตามกำหนดค่าเป้าหมายที่กำหนด

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

                  ของผู้บริหารสถานศึกษา

ระดับคุณภาพ 4

(ดีเลิศ)

ดีเลิศ

ตามกำหนดค่าเป้าหมายที่กำหนด

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอน

                  ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ระดับคุณภาพ 4

(ดีเลิศ)

ดีเลิศ

ตามกำหนดค่าเป้าหมายที่กำหนด

 

2.1) ผลการประเมิน มาตรฐานที่ 1  คุณภาพผู้เรียน  อยู่ในระดับ ดีเลิศ

     - จุดเด่น    

ผู้เรียนอ่านหนังสือออกและอ่านคล่อง รวมทั้งสามารถเขียนเพื่อการสื่อสารได้ทุกคน สามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับดีเลิศ ในระดับโรงเรียน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีการทดสอบและต่อเนื่องมาโดยตลอด

ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีระเบียบวินัยจนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา เป็นที่ยอมรับของชุมชนโดยรอบในเรื่องความมีวินัย เคารพกฎกติกา มารยาทของสังคม ได้แก่ การเข้าคิวรับอาหารกลางวัน

     - จุดที่ควรพัฒนา   

ผู้เรียนในระดับชั้น ป.1 - ป.3 ยังต้องเร่งพัฒนาด้านการนำเสนอ การอภิปราย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมเหตุสมผล และต้องพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ ได้อย่างเหมาะสม ผู้เรียนในระดับชั้น ป.4 - ป.6 ยังต้องได้รับการส่งเสริมในด้านการคิดวิเคราะห์ คิดหาเหตุผล และนำเสนอผลงานอย่างสร้างสรรค์

 

 

 

 

 

 

2.2) ผลการประเมิน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับ ดีเลิศ

     - จุดเด่น    

สถานศึกษามีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ สถานศึกษาได้ใช้เทคนิคการประชุมที่หลากหลาย เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมแบบระดมสมอง การประชุมแบบกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตามประเมินผล การดำเนินงาน และจัดทำรายงานผล การจัดการศึกษา และโรงเรียนได้จัดให้มีการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

                 - จุดที่ควรพัฒนา    

                    (1) เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน

                    (2) สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

2.3) ผลการประเมิน มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ     อยู่ในระดับ ดีเลิศ

     - จุดเด่น    

ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยการคิด ได้ปฏิบัติจริง มีการให้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และผลงานวิจัยในชั้นเรียนของครูทุกคน ได้รับการตรวจประเมินพร้อมทั้งให้คำแนะนำจากคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในโรงเรียน

     - จุดที่ควรพัฒนา    

ควรให้คณะครูทุกคนได้รับการอบรมการพัฒนาศักยภาพด้านการทำงานวิจัยในเรื่องนวัตกรรม           เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พร้อมทั้งพัฒนาในเรื่องหลักสูตรโดยการเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรบูรณาการท้องถิ่นให้เห็นเด่นชัดในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับท้องถิ่นรักในท้องถิ่นสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้ควรพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนรู้จักประยุกต์ใช้สื่อเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆ ให้มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์ต่อการแสวงหาความรู้ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     ขายทอดตลาดครุภัณฑ์ยานพาหนะชำรุดและไม่จำเป็นไว้ใช้ในราชการต่อไป 6 ส.ค. 2564
     การเผยแพ่รการประเมินตนเองของสถานศึกษา 29 มิ.ย. 2564
     การเผยแพ่การประเมินตนเองของสถานศึกษา 29 มิ.ย. 2564
     การเผยแพร่การประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report:SAR) ปีการศึกษา 2563 16 มิ.ย. 2564
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านนำ้ฉา 9 มิ.ย. 2564


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.