[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองSAR ปี63 โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา
วันที่   31   พฤษภาคม   2564
เข้าชม : 353
Bookmark and Share


 คำอธิบาย: 59543727_10212157853295712_2415116344547606528_n.jpg

 
 
 
 
 
 
 
 
บทสรุปของผู้บริหาร
 
ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 
ชื่อโรงเรียนบ้านทุ่งศาลา ที่อยู่128 หมู่ที่ 3 ตำบลบางกุ้ง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ชื่อผู้บริหารโรงเรียน   นายปรีชา ยอดยิ่ง เบอร์โทรศัพท์ 087-3896126   จำนวนครู   17   คน จำแนกเป็น ข้าราชการครู 15 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน จำนวนนักเรียน รวม 216 คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล 17 คน ระดับประถมศึกษา 131 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 68 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 ธ.ค.63)
 
ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
•          ระดับการศึกษาปฐมวัย
 
ระดับคุณภาพ
กำลัง
พัฒนา
ปานกลาง
ดี
ดีเลิศ
ยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
 
 
 
P
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
 
 
 
P
 
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
 
 
 
P
 
ผลการประเมินโดยภาพรวมของสถานศึกษา
 
 
 
P
 
 
 
 
2.   ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 
 
ระดับคุณภาพ
กำลัง
พัฒนา
ปานกลาง
ดี
ดีเลิศ
ยอดเยี่ยม
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
 
 
 
P
 
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
 
 
 
P
 
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 
 
 
P
 
ผลการประเมินโดยภาพรวมของสถานศึกษา
 
 
 
P
 
 
          หมายเหตุ ผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเลิศ
 
สรุปผลการประเมินในภาพรวม ระดับการศึกษาปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
เด็กทำมีน้ำหนักส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน     มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพของตน หลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค อุบัติเหตุภัย และสิ่งเสพติด  พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจของ นักเรียนร่าเริงแจ่มใส มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง มีความมั่นใจและกล้าแสดงออก ควบคุมอารมณ์ตนเองได้เหมาะสมกับวัย ชื่นชมศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหวและรักธรรมชาติ มีพัฒนาการทางสังคมเป็นที่น่าพอใจ มีความรับผิดชอบ ในการทำงานดีขึ้น ใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเล่นเครื่องเล่นต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครูอาจารย์     มีความซื่อสัตย์สุจริต ช่วยเหลือแบ่งปัน เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทยและศาสนาที่ตนนับถือ รู้จักตั้งคำถามในสิ่งที่ต้องการรู้ นักเรียนมีความในใจหนังสือที่คุณครูจัดหาให้ในมุมหนังสือ และรักการเรียนรู้ มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ มีทักษะทางภาษาที่เหมาะสมกับวัย มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
โรงเรียนดำเนินการการจัดทำหลักสูตรแล้ว มีร่องรอยหลักฐานชัดเจนตรวจสอบได้และสามารถนำผู้อื่นได้สถานศึกษามีระบบการขับเคลื่อน เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความตระหนัก และเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัยอย่างชัดเจน โดยมีการวางแผนดำเนินงาน ตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สถานศึกษาจัดกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจหลักการ จัดการศึกษาปฐมวัยให้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมีการวางแผน ดำเนินงาน ตรวจสอบ และปรับปรุงการจัดกิจกรรมให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสามารถเป็นแบบอย่างได้รับการยอมรับ ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความตระหนักรู้ และเข้าใจหลักการจัดการศึกษาปฐมวัยอย่างชัดเจน สถานศึกษามีการกำหนดโครงการ กิจกรรมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและแสวงหาความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่นในการจัดการศึกษา และพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษา และดำเนินการตามโครงการ กิจกรรมที่กำหนดไว้โดยทุกฝ่ายมีส่วนรวม มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงาน มีร่องรอยหลักฐานปรากฏชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งนำข้อมูลมาพัฒนาปรับปรุงการจัดโครงการ กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 
ในปีการศึกษา ๒๕๖๓ โรงเรียนมีสัดส่วนครูที่เหมาะสมกับจำนวนของผู้เรียน และครูประจำชั้นที่สอนในระดับปฐมวัย จบการศึกษาปฐมวัย และมีใบประกอบวิชาชีพครู ครูเข้าใจธรรมชาติของการจัดการศึกษาปฐมวัยและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ ในการจัดประสบการณ์ ครูจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล   ครูบริหารจัดการชั้นเรียนที่สร้างวินัยเชิงบวก    กิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก มีการตรวจสอบสภาพของห้องเรียนและสิ่งของเครื่องใช้ของเด็ก เช่น ความปลอดภัยของสนามเด็กเล่น สภาพห้องน้ำ ส่งผลให้ มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมปลอดภัย และเอื้อต่อการเรียนรู้ส่งเสริมสุขภาพอนามัย ป้องกันตนจากโรค การเจ็บป่วยพื้นฐาน ครูจัดโครงการ/ กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการของ ผู้เรียน และการมีส่วนร่วมของ บุคคลที่เกี่ยวข้องตามพันธกิจของ โรงเรียน ดังนี้ กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา กิจกรรมนิทรรศแฟ้มผลงาน โครงการปฐมนิเทศผู้ปกครอง และ การประเมินการปฏิบัติงานของ บุคลากรได้ตรงตามสภาพจริง โดย   นำข้อมูลการประเมินจากเพื่อนครู มาประกอบการพิจารณา
 
มาตรฐานที่ 3การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
.ครูมีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญสามารถกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนครอบคลุม ทั้งด้านความรู้ทักษะ กระบวนการ สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษา ครูมีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงผ่านการเล่นและการปฏิบัติอย่างมีความสุข ผ่านหน่วยการเรียนต่าง ๆ ทั้ง 6  กิจกรรมได้อย่างมีความสุข โรงเรียนมีห้องเรียนปฐมวัย จำนวน ๒ ห้อง คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ที่มีการจัดตกแต่งห้องเรียนด้วยสื่อต่าง ๆติดตามห้องเรียนและมีมุมประสบการณ์ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กได้ ครบถ้วน โดยมีมุมต่าง ๆ ได้แก่ มุมหนังสือ มุมบทบาทสมมติ มุมสร้างสรรค์ มุมบล็อก มุมเกมการศึกษา มุมภาษา เป็นต้น ครูสามารถวิเคราะห์ผู้เรียน เป็นรายบุคคล ใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ผู้เรียนมาใช้ในการ วางแผนจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา ศักยภาพผู้เรียนได้เต็มศักยภาพโดยคำนึงถึง ความแตกต่างระหว่างบุคคล  
 
แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น
. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรและมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพอนามัยและสุขนิสัยที่ดี การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรและมีแผนงาน /โครงการ/ กิจกรรมเสริมในการพัฒนา เด็กอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องเช่น กิจกรรมวันขึ้นปีใหม่ กิจกรรม 2 นาทีมีสาระให้เด็กออกไปนำเสนอสาระต่าง ๆ หน้าเสาธงตอนเช้า ทำให้ผู้ปกครองชื่นชมผลงานของลูกหลานในการกล้าแสดงออกการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรและมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเสริมในการ
พัฒนาเด็กอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรและมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเสริมในการพัฒนาเด็กอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
.สถานศึกษาดำเนินการบริหารและจัดการสถานศึกษาที่ครอบคลุมด้านวิชาการ ด้านครูและบุคลากรด้านข้อมูลสารสนเทศกิจกรรมพิเศษปฐมวัยตอบสนองนโยบาย และตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาดำเนินการบริหารและจัดการสถานศึกษาที่ครอบคลุม ด้านครูและบุคลากรด้านข้อมูลสารสนเทศ ด้านสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ และด้านระบบประกันคุณภาพภายใน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาครู เนื่องจากครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีความสำคัญในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะการส่งครูไปอบรมในเรื่องต่างๆเพื่อนำความรู้มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครูจัดทำสื่อการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยโดยใช้วัสดุที่มีความปลอดภัยต่อตัวเด็กและให้เพียงพอกับจำนวนเด็กจัดหาสื่อเทคโนโลยีที่มีความทันสมัย และฝึกให้เด็กได้ใช้สื่อเทคโนโลยีในการนำเสนอผลงานทางศิลปะ เช่น การใช้ไมโครโฟนในการนำเสนอผลงานศิลปะของตนเองให้เพื่อและครูฟัง
สถานศึกษาดำเนินการบริหารและจัดการสถานศึกษาที่ครอบคลุมด้านวิชาการ ด้านครูและบุคลากร               
ด้านข้อมูลสารสนเทศกิจกรรมพิเศษปฐมวัยตอบสนองนโยบาย และตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเทอมละ 1 ครั้ง เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในบริบทของชั้นเรียนจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่ในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่น โดยที่การเล่นดังกล่าวต้องไม่ใช่การเล่นโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย การจัดทำสื่อการเรียนตามมุมประสบการณ์ต่าง ๆที่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียนและจัดหาสื่อเทคโนโลยีที่มีความทันสมัย และฝึกให้เด็กได้ใช้สื่อเทคโนโลยีในการนำเสนอผลงานทางศิลปะ เช่น การใช้ไมโครโฟนในการนำเสนอผลงานศิลปะของตนเองให้เพื่อและครูฟัง จัดทำแบบประเมินพัฒนาการนักเรียนที่หลากหลายและนำผลการประเมินมาพัฒนานักเรียนให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น
 
 
 
 
 
สรุปผลการประเมินในภาพรวม ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาอยู่ในระดับ ดีเลิศ จากผลการดำเนินงาน โครงการ และกิจกรรมต่างๆ ส่งผลให้สถานศึกษาจัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนดมาตรฐาน
 
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน 
สถานศึกษาได้แต่งตั้งคณะกรรมประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาและรวบรวมข้อมูลผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนด้านต่างๆ พบว่า
               ผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้านการอ่านออกเสียง มีผลการประเมิน คิดเป็นร้อยละ 66.08 ผลการประเมินระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 69.56ด้านการอ่านรู้เรื่อง มีผลการประเมิน คิดเป็นร้อยละ 63.04 ผลการประเมินระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 78.25
ผลการประเมินทั้ง 2 ด้านคิดเป็นร้อยละ 64.56 มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับระดับประเทศ
ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้านความสามารถด้านภาษาไทยมีผลการประเมินคิดเป็นร้อยละ 48.92 และสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศและด้านความสามารถด้านคณิตศาสตร์ มีผลการประเมินคิดเป็นร้อยละ 39.15 โดยผลการประเมินทั้ง 2 ด้านคิดเป็นร้อยละ 44.03 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับระดับประเทศ
 
                 ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาภาษาไทย มีผลการประเมินคิดเป็นร้อยละ 51.96 มีค่าการพัฒนาจากปีการศึกษาที่ผ่านมา +11.01 วิชาคณิตศาสตร์ มีผลการประเมินคิดเป็นร้อยละ 31.07 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ มีค่าการพัฒนาจากปีการศึกษาที่ผ่านมา +6.40 วิชาวิทยาศาสตร์ มีผลการประเมินคิดเป็นร้อยละ 30.19 มีค่าการพัฒนาจากปีการศึกษาที่ผ่านมา +4.41และวิชาภาษาอังกฤษ มีผลการประเมินคิดเป็นร้อยละ 35.54 มีค่าการพัฒนาจากปีการศึกษาที่ผ่านมา +10.87
 
                 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2563 ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาสูงกว่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด คือ วิชาภาษาไทย นักเรียนมีผลการประเมินระดับ 3ขึ้นไป ร้อยละ 42.92 นักเรียนมีผลการเรียนระดับ 2 ขึ้นไป ร้อยละ 73.43 คะแนนเฉลี่ยรายวิชา 70.23 วิชาคณิตศาสตร์ นักเรียนมีผลการประเมินระดับ 3 ขึ้นไป ร้อยละ 58.63 นักเรียนมีผลการเรียนระดับ 2 ขึ้นไป ร้อยละ 79.28 คะแนนเฉลี่ยรายวิชา 72.61 วิชาวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีผลการประเมินระดับ 3 ขึ้นไป ร้อยละ 58.01 นักเรียนมีผลการเรียนระดับ 2 ขึ้นไป ร้อยละ 76.58 คะแนนเฉลี่ยรายวิชา 70.82 วิชาสังคมศึกษาฯ นักเรียนมีผลการประเมินระดับ 3 ขึ้นไป ร้อยละ 47.63 นักเรียนมีผลการเรียนระดับ 2 ขึ้นไป ร้อยละ 92.8คะแนนเฉลี่ยรายวิชา 71.19 วิชาประวัติศาสตร์ นักเรียนมีผลการประเมินระดับ 3 ขึ้นไป ร้อยละ 63.92นักเรียนมีผลการเรียนระดับ 2 ขึ้นไป ร้อยละ 92.35คะแนนเฉลี่ยรายวิชา 73.31   วิชาสุขศึกษาฯ นักเรียนมีผลการประเมินระดับ 3 ขึ้นไป ร้อยละ 79.10    นักเรียนมีผลการเรียนระดับ 2 ขึ้นไป ร้อยละ 94.6คะแนนเฉลี่ยรายวิชา 78.02
 
 วิชาศิลปะ นักเรียนมีผลการประเมินระดับ 3 ขึ้นไป ร้อยละ 79.13 นักเรียนมีผลการเรียนระดับ 2 ขึ้นไป ร้อย 93.68 คะแนนเฉลี่ยรายวิชา 75.03 วิชาการงานอาชีพฯ นักเรียนมีผลการประเมินระดับ 3 ขึ้นไป ร้อยละ 78.09 นักเรียนมีผลการเรียนระดับ 2 ขึ้นไป ร้อยละ 84.68คะแนนเฉลี่ยรายวิชา 82.46 วิชาภาษาอังกฤษ นักเรียนมีผลการประเมินระดับ 3 ขึ้นไป ร้อยละ 45.77นักเรียนมีผลการเรียนระดับ 2 ขึ้นไป ร้อยละ 69.36คะแนนเฉลี่ยรายวิชา 68.87 และผลการประเมินความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยี อยู่ในระดับดีขึ้นไปร้อยละ 74.78
                 ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ค่าเฉลี่ยร้อยละของผลการประเมินในระดับดี ขึ้นไปร้อยละ 89.38 และมีผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษาคือ ระดับดีเยี่ยมร้อยละ 49.28 ระดับดีร้อยละ 38.83 ระดับผ่านร้อยละ 9.39 ระดับไม่ผ่านร้อยละ 1.75
ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีค่าเฉลี่ยร้อยละของผลการประเมินในระดับดี ขึ้นไปร้อยละ 82.24 และมีผลการประเมินในภาพรวม ระดับดีเยี่ยมร้อยละ 65.57 ระดับดีร้อยละ 16.40ระดับผ่านร้อยละ 3.60 ระดับไม่ผ่านร้อยละ 14.26 นักเรียนรักความเป็นไทยโดยได้ร่วมกิจกรรมการประกวดหนูน้อยนพมาศและร่วมกิจกรรมวันลอยกระทง กับ สำนักงานเทศบาลนาวงและองค์การบริหารส่วตำบลบางกุ้ง นักเรียนที่เข้าประกวดได้รางวัลชมเชยทั้ง 2คน นักเรียนมีทักษะการทำงาน รักการทำงาน มุ่งมั่นในการทำงาน มีความอดทนต่อความลำบาก และมีพื้นฐานด้านอาชีพ เช่น อาชีพการปลูกผัก อาชีพค้าขาย อาชีพการทำขนมไทย ขนมประเพณ๊มีความพร้อมในการประกอบอาชีพ มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต นักเรียนมีทักษะพื้นฐานต่องานอาชีพอย่างน้อย 1 อาชีพ เห็นโทษและผลเสียของการประกอบอาชีพที่ผิดกฎหมาย รู้จักประหยัดอดออมโดยการฝากออมทรัพย์ประจำห้อง และการสมัครหุ้นสมาชิกสหกรณ์โรงเรียน
                 นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีค่านิยมที่ดี มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ร่วมกิจกรรมตามศาสนาที่ตนนับถือ ไปวัดในวันสำคัญทางศาสนา ทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ วันมาฆบูชา งานทอดกฐินวัดสวน วัดนาวง วัดควนพญา และวัดเขาแก้ว ร่วมบำเพ็ญประโยชน์แก่ชุมชนมีมารยาทดี ให้ความเคารพผู้ใหญ่ รักธรรมชาติและร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยการช่วยกันคัดแยกขยะ ทำความสะอาดเขตพื้นที่รับผิดชอบทุกคน นักเรียนเข้าร่วมการสอบนักธรรมศึกษา และผ่านการสอบนักธรรมตรี จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 33.77 ผ่านการทดสอบนักธรรมโท 12 คน คิดเป็นร้อยละ 52.17 และผ่านการสอบนักธรรมเอก 5 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนภูมิใจในความเป็นไทย สามารถเล่นเครื่องตนตรีไทยได้ 1 ชนิด ร่วมการแสดงการตีกลองยาวและการแสดงดนตรีไทยกับชุมชนในโอกาสต่างๆ เข้าร่วมกิจกรรมสืบสานประเพณีไทย เช่นงานลอยกระทง วันสงกรานต์ และร่วมประเพณีท้องถิ่นต่างๆ เช่น วันสารทเดือนสิบ เป็นต้น นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพืชประจำถิ่น และพืชศึกษา เห็นคุณค่าของพันธุ์ไม้และร่วมอนุกรักษ์พันธุ์ไม้ รัสิ่งแวดล้อมโดยเข้าใจการคัดแยกขยะ การประดิษฐ์นวัตกรรม ชิ้นงาน ในการลดขยะในโรงเรียน สามารถสร้างรายได้จากการคัดแยกขยะ
 
                 นักเรียนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและมีสมรรถนะทางด้านร่างกาย มีสุขภาพในช่องปากที่ดี รู้จักการดูแลสุขภาพของตนเองให้ปลอดภัยจากโรคโควิค -19 โดยไม่พบผู้ติดเชื้อในโรงเรียน มีความสุข สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง รักการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา นักเรียนกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น เคารพในการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล มีความเป็นประชาธิปไตย
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
                   สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ ที่สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษา บริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น มีแผนพัฒนาการศึกษาระยะกลาง ปี 2563-2565 จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษา จัดทำรายงานการประเมินตนเองเพื่อเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัดและเผยแพร่ต่อสาธารณะชนรับทราบ ดำเนินกิจกรรมโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปี มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม สรุปผลการดำเนินงานตามไตรมาสและรายงานผลการประเมินต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ มีรูปแบบการบริหารงานเชิงระบบ โดยมีโครงสร้างการบริหารงานเป็น 4 ฝ่ายงาน ได้แก่ ได้แก่ ฝ่ายบริหารวิชาการ ฝ่ายบริหารงบประมาณ ฝ่ายบริหารงานบุคคล และฝ่ายบริหารทั่วไป เน้นการบริหารงานโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา และมีการปรับปรุงหลํกสูตรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวง และหน่วยงานต้นสังกัด มีรายวิชาเพิ่มเติมที่เน้นอาชีพเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะด้านอาชีพ สถานศึกษาได้รับรางวัลในระดับต่างๆ เช่น สถานศึกษาปลอดภัย โรงเรียนปลอดขยะ รางวัลป้ายสนองพระราชดำริในงานสวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียน หน่วยงานภายนอกให้ความช่วยเหลือในการสนับสนุนทุนการศึกษา อุปกรณ์ต่างๆ แจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัยแก่นักเรียนที่ขาดแคลนมีเครือข่ายผู้ปกครอง ตัวแทนผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้แทนชุมชน ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของสถานศึกษา
                   ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาในวิชาชีพอยู่เสมอและทั่วถึง ทำให้ความรู้ความเชี่ยวชาญงานในหน้าที่และงานที่ต้องรับผิดชอบ จัดการเรียนการสอนตรงสาขาและความถนัด ครูได้รับการอบรมและพัฒนาตนเอง สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมจัดการเรียนการสอนแก่นักเรียนอย่างมีคุณภาพ และนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรม ประชุม สัมมนา เผยแพร่แก่บุคลากร ในที่ประชุม ครูที่ได้รับรางวัลโล่ประกาศเกียรติคุณรางวัลครูดีไม่มีอบายมุข 1 คน และครูได้รับเกียรติบัตรรางวัลครูดีไม่มีอบายมุขในปี 2563 จำนวนรวม 12 คน ดังนี้ ครูทุกคนเป็นวิทยากรให้ความรู้ภายในสถานศึกษา การเข้าค่ายคุณธรรมร่วมกับพระอาจารย์ การติวนักธรรมศึกษาและ เป็นวิทยากรให้ความรู้ค่ายนักพฤกษศาสตร์รุ่นเยาว์ ครูร่วมเป็นวิทยากรกับหน่วยงานภายนอก จำนวน 5 คน ครูได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จำนวน 4 คน ครูและบุคลากรร่วมเป็นกรรมการกลั่นกรองการเลื่อนวิทยฐานะ จำนวน 7 คน ครูที่ได้คัดเลือกเข้ารับการพัฒนาโครงการพัฒนาสมรรถนะกระทรวงศึกษาธิการ “หลักสูตรพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพในศตวรรษที่ 21” เครือข่ายหน่วยงานร่วมพัฒนาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดตรังจำนวน 1 คนและครูที่ได้เลื่อนวิทยฐานะจำนวน 5 คน
                   แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน เช่น แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง แหล่งเรียนรู้สวนพฤษศาสตร์ สวนหย่อม สนามกีฬา มีความเหมาะสม เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ครูและบุคลากร ผู้ปกครอง ชุมชน หรือบุคคลภายนอก โดยมีสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ร่มรื่น สะอาด สวยงาม เอื้อต่อการเรียนรู้ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติต่างๆ เช่น ห้องสมุด ห้องคอมพิเตอร์ ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องดนตรีไทย มีความมั่นคงปลอดภัย สะอาด เหมาะสม ห้องประชุมและโรงอาหารได้รับการการต่อเติมให้มีความกว้างขวางมากขึ้น และมีทางเดินพร้อมหลังคาเชื่อมต่อระหว่างอาคาร 4 กับห้องน้ำ
 
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  
                   สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่มีความสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ทันต่อการเปลี่ยนแปลงตามนโยบายของกระทรวงและสนององความต้องการของผู้เรียน ครูเข้าใจหลักสูตรและสามารถจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา นำหลักสูตรเข้าสู่การจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยวิธีการสอนในรูปแบบกิจกรรมร่วมมือ การใช้กระบวนการกลุ่ม ระดมสมอง โครงงาน สเต็มศึกษา เป็นต้น
                   ครูมีความสามารถในการผลิตสื่อที่หลากหลาย สามารถสร้างความสนใจให้กับนักเรียน และนักเรียนมีความสุขสนุกกับการเรียน ทั้งสื่ออิเล้กทรอนิกส์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆมีการวัดและประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อพัฒนานักเรียนอย่างต่อเนื่อง ให้โอกาสนักเรียนในการปรับปรุงและพัฒนาผลการเรียนอยู่เสมอ ครูมีวิจัยในชั้นเรียนที่สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนได้ ครูได้รับการพัฒนาด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ ทั้งจากภายในองค์กร และภายนอกองค์กร และสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้มีการช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ โดยการประสานความมือกับผู้ปกครอง ชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง ทำให้ครูทราบปัญหาต่างๆของนักเรียน ที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ ให้คำแนะนำ ตักเตือน และเป็นที่ปรึกษาปัญหา ช่วยเหลือนักเรียนในด้านการเรียนและความเป็นอยู่อื่นๆด้วยความเต็มใจ นักเรียนได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และสามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูลในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สร้างชิ้นงาน นวัตกรรม สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆจากแหล่งเรียนภายใน แหล่งเรียนรู้ภายนอกจากกิจกรรมต่างๆ และจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ตนสนใจและมีความสุขในการเรียน รักการมาโรงเรียนและเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยความเต็มใจ
 
แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น
          ผลการทดสอบการอ่านนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1อย่างต่อเนื่อง เพื่อดูผลการพัฒนาและแก้ปัญหานักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ และขอความร่วมมือผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลานในการทบทวนการอ่านที่บ้าน จัดกิจกรรมสอนเสริมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรีมความพร้อมของนักเรียนในการทดสอบ NT และ
O-NET  จัดกิจกรรมต่างๆให้นักเรียนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น และนำเสนอความคิดเห็นต่อสาธารณชนให้มากขึ้น จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดคำนวณ การนำทักษะการคิดคำนวณไปใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้กิจกรรมการสอนแบบโครงงานให้ครบทุกวิชา เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิด การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และจัดกิจกรรมสนับสนุนส่งเสริม เช่นการประกวดนวัตกรรมในสถานศึกษา และการส่งประกวดนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์กับหน่วยงานภายนอก
                         ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวโน้มการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิค-19 ฝึกปฏิบัติผู้ปกครองในการใช้เทคโนโลยีเบื้องต้น จัดหาทุนสนับสนุนนักเรียนที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ สื่อ อิเล็กทรอนิกส์ นักเรียนยากจน เพื่อนให้นักเรียนมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลต่างๆ จัดโครงการหรือกิจกรรมเพิ่มเติมในการเชิญชวน ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานอื่นๆ ในการระดมเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษา ติดต่อประสานงานอย่างต่อเนื่อง กำหนดปฎิทินสการนิเทศติดตามงาน กิจกรรม โครงการ การจัดการเรียนการสอนให้ชัดเจน ระบุผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน เพื่อกำหนดแบบแผนการนิเทศ ดำเนินการนิเทศ และรายงานผลการนิเทศต่อผู้อำนวยการ และจัดให้มีสมาคมศิษย์เก่า ที่เข้มแข็งสามารถสนับสนุนและให้วามร่วมมือในการพัฒนาโรงเรียน และการแก้ปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้น
                          จัดให้มีภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเผยแพร่ความรู้นักเรียนอย่างหลากหลาย เช่น การทำขนมไทย การเล่นดนตรีไทย ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร การทำการเกษตร เป็นต้น โดยมีแผนการดำเนินกิจกรรมที่ชัดเจน สนับสนุนให้ครูเข้ารับการอบรมการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพสามารถแก้ปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนได้อย่างเป็นระบบ อบรมให้ความรู้เกี่ยวการจัดการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ ในรูปแบบต่างๆเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและความจำเป็นในอนาคต และกำหนดปฏิทินการแลกเปลี่ยนรู้ให้ชัดเจน ร่วมถึงการส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนรู้ภายนอกองค์กร
 


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     ขายทอดตลาดครุภัณฑ์ยานพาหนะชำรุดและไม่จำเป็นไว้ใช้ในราชการต่อไป 6 ส.ค. 2564
     การเผยแพ่รการประเมินตนเองของสถานศึกษา 29 มิ.ย. 2564
     การเผยแพ่การประเมินตนเองของสถานศึกษา 29 มิ.ย. 2564
     การเผยแพร่การประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report:SAR) ปีการศึกษา 2563 16 มิ.ย. 2564
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านนำ้ฉา 9 มิ.ย. 2564


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.