แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล
การดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา
ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านบางพระ
คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมิน
1. นางศิราณี เกล็ดกฤษ ประธานกรรมการ
2. นางสาวจุติมา เจือกโว้น กรรมการ
3. นายสมบูรณ์ เข็มทอง กรรมการ
4. นายราชันย์ ทิพย์จันทา กรรมการ
5. นางสาวศรัญญา สกุลสันติ กรรมการและเลขานุการ
วันที่ 28 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564
แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561
ปีการศึกษา 2563
โรงเรียนบ้านบางพระ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
************************************************
1. ข้อมูลทั่วไป
โรงเรียนบ้านบางพระ ตั้งอยู่เลขที่ 47 หมู่ที่ 10 ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92220 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 เบอร์โทรศัพท์ 075-270620 E – mail : banbangpra@gmail.com ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นางศิราณี เกล็ดกฤษ เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล ปีที่ 1 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีเขตพื้นที่บริการ 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 3,4,5,7,9 และหมู่ที่ 10 ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
2. ข้อมูลครูและบุคลากร
บุคลากร
|
ผู้บริหาร
|
ครูผู้สอน
|
พนักงานราชการ
|
ครูอัตราจ้าง
|
เจ้าหน้าที่อื่นๆ
|
ปีการศึกษา 2563
|
1
|
13
|
1
|
4
|
2
|
รวม
|
1
|
13
|
1
|
4
|
2
|
รวมทั้งหมด
|
21
|
3. ข้อมูลนักเรียน (ณ วันที่ 20 พ.ย.2563)
จำนวนนักเรียนในโรงเรียนทั้งสิ้น 182 คน จำแนกตามระดับชั้นที่เปิดสอน
ระดับชั้นนักเรียน
|
จำนวน
|
หมายเหตุ
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
อนุบาล 1
|
3
|
8
|
11
|
|
อนุบาล 2
|
7
|
4
|
11
|
|
อนุบาล 3
|
11
|
8
|
19
|
|
รวม
|
21
|
20
|
41
|
|
ประถมศึกษาปีที่ 1
|
18
|
7
|
25
|
|
ประถมศึกษาปีที่ 2
|
3
|
8
|
11
|
|
ประถมศึกษาปีที่ 3
|
12
|
10
|
22
|
|
ประถมศึกษาปีที่ 4
|
6
|
5
|
11
|
|
ประถมศึกษาปีที่ 5
|
8
|
11
|
19
|
|
ประถมศึกษาปีที่ 6
|
8
|
4
|
12
|
|
รวม
|
55
|
45
|
100
|
|
มัธยมศึกษาปีที่ 1
|
7
|
10
|
17
|
|
มัธยมศึกษาปีที่ 2
|
7
|
5
|
12
|
|
มัธยมศึกษาปีที่ 3
|
7
|
5
|
12
|
|
รวม
|
21
|
20
|
41
|
|
รวมทั้งหมด
|
97
|
85
|
182
|
|
4. ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
ตามกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ปีการศึกษา 2563 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
4.1 รูปแบบการบริหารจัดการการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ อยู่ในระดับดีมาก
การดำเนินงานของสถานศึกษา
โรงเรียนได้ดำเนินเตรียมการเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา โดยใช้หลักการการมีส่วนร่วม (Participation) และวงจรคุณภาพ PDCA คือ การวางแผน (PLAN) การดำเนินงาน (DO) การตรวจสอบผล (CHECK) การปฏิบัติการวางแผนอย่างต่อเนื่อง (ACT)
ผลการดำเนินงาน
สถานศึกษามีการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา สามารถนำมาปฏิบัติได้จริงและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 3 ปี
4.2 การดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
4.2.1 การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับ
ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ อยู่ในระดับดีเยี่ยม
การดำเนินงานของสถานศึกษา
โรงเรียนได้ดำเนินเตรียมการเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ตามขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมความพร้อมจัดทำมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดย
1. แต่งตั้งคณะกรรมการการจัดทำมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู ตัวแทนผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา
2. ศึกษา วิเคราะห์มาตรฐานและประเด็นพิจารณาตามประกาศฯ เรื่องมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและแนวทางในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
3. พิจารณาสาระสำคัญที่จะกำหนดในมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่จะสะท้อนอัตลักษณ์ เอกลักษณ์และมาตรการส่งเสริมของสถานศึกษา
4. กำหนดค่าเป้าหมายหมายความสำเร็จของแต่ละมาตรฐานการศึกษา
5. เสนอเพื่อขอความเห็นชอบคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
6. ประกาศกำหนดค่าเป้าหมายแต่ละมาตรฐานว่าด้วยการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา โดยโรงเรียนได้นำมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเผยแพร่และรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เช่น ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน คณะครู ด้วยวิธีการประชุมผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา คณะครู เพื่อระดมความคิดเห็น สำรวจความคิดเห็น โดยใช้การสอบถาม และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น แล้วประชาสัมพันธ์ให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่นการติดประกาศในสถานศึกษา ร้านค้าชุมชน ที่ประชุม หมู่บ้าน ที่ประชุมผู้ปกครอง ที่ประชุมครู อบรมให้ความรู้แก่นักเรียน หน้าเสาธง
ผลการดำเนินงาน
1. ผลการวิเคราะห์มาตรฐานและตัวบ่งชี้ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้ อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม
2. มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกระทรวงศึกษาธิการที่ประกาศใช้ และเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนด จุดเน้น จุดเด่น ที่สะท้อนอัตลักษณ์และมาตรการส่งเสริมของสถานศึกษา โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
3. ค่าเป้าหมายหมายความสำเร็จของทุกมาตรฐานและตัวบ่งชี้ได้กำหนดขึ้นจากการวิเคราะห์ความสำเร็จของทุกมาตรฐานและตัวบ่งชี้ย้อนหลังสามปี และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา
4. ประกาศกำหนดค่าเป้าหมายแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา และมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาได้รับทราบด้วยวิธีการที่หลากหลาย
5. จัดทำคู่มือแนวทางการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างถูกต้อง ครบถ้วนทุกมาตรฐาน ตัวบ่งชี้
สรุป การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม
4.2.2 การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ อยู่ในระดับดีเยี่ยม
การดำเนินงานของสถานศึกษา
โรงเรียนได้ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ดังนี้
การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 3–5 ปี โดยได้ศึกษาค้นคว้าแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและตัวอย่างแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอื่น สื่อออนไลน์ เอกสารทางวิชาการคู่มือ แล้วดำเนินการ ดังนี้
ขั้นที่ 1 การแต่งตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วย หัวหน้างาน ผู้แทนครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้แทนผู้ปกครอง
ขั้นที่ 2 การวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับสภาพภายในด้านจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และสภาพภายนอกด้านโอกาส อุปสรรคในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยจัดเก็บ หรือรวบรวมจาก นโยบายต่างๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 นโยบายของโรงเรียนบ้านบางพระ มาตรฐานการศึกษาสถานศึกษา รายงานการประเมินผลและข้อเสนอแนะจากสมศ. รอบแรกและรอบที่ 2 รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี ของสถานศึกษา รายงานการดำเนินงานและสรุปผลงานโครงการ/กิจกรรม บันทึกการประชุมครู ผู้ปกครอง และชุมชน ศาสนา เอกลักษณ์ของชุมชน ประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยมของท้องถิ่น ลักษณะสภาพแวดล้อม ของชุมชน
ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพภายในด้านจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และสภาพภายนอกด้านโอกาส อุปสรรคในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยวิเคราะห์ตามแนวทาง SWOT ประกอบด้วย
1. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกของสถานศึกษา(External environment) โดยวิเคราะห์สภาพ ที่เป็นโอกาส (Opportunity) หรือสภาพที่สถานศึกษานำมาพัฒนาจุดแข็งหรือปรับปรุงแก้ปัญหาจุดที่ควรพัฒนา และสภาพที่เป็นปัญหาอุปสรรค(Treat) หรือสภาพที่สถานศึกษาต้องหาทางหลีกเลี่ยง โดยพิจารณาจากองค์ประกอบด้านสังคมและวัฒนธรรม (Social & Cultural)เทคโนโลยี (Technology) สภาพเศรษฐกิจ(Economics) การเมืองและกฎหมาย (Political & Legal) ที่มีผลกระทบต่อสถานศึกษาโดยใช้หลักการระดมสมอง ผลการวิเคราะห์ได้สภาพที่เป็นโอกาส และปัญหาอุปสรรคของสภาพแวดล้อมภายนอก
2. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของสถานศึกษา (Internal environment) โดยวิเคราะห์สภาพ ที่เป็นจุดแข็ง (Strengths) เพื่อคงสภาพหรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นหรือสภาพที่เป็นจุดควรพัฒนา (Weakness) หรือสภาพที่ต้องปรับปรุง เปลี่ยนแปลง โดยพิจารณาจากโครงสร้างและนโยบายการบริหาร (Structure & Policy) การบริหารและผลผลิต (Service & Products) คน (Man) เงิน (Money) วัสดุ อุปกรณ์ (Materials) และการบริหารจัดการ (Management)
3. ประมวลการวิเคราะห์สภาพที่เป็นโอกาส ปัญหาอุปสรรค จุดแข็งและจุดอ่อน และสังเคราะห์หาสภาพปัจจุบันและปัญหาของสถานศึกษา ซึ่งเป็นจุดยืน หรือจุดเริ่มต้นของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
ขั้นที่ 4 การนำผลการวิเคราะห์สภาพภายในและภายนอก ประมวลเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าประสงค์ของสถานศึกษา
ขั้นที่ 5 กำหนดกลยุทธ์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ และชื่อโครงการ/กิจกรรม นำวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ของสถานศึกษามาเป็นฐานคิดในการกำหนดกลยุทธ์ ตัวชี้วัดความสำเร็จและชื่อโครงการ/กิจกรรม ของแผนพัฒนาการจัดการศึกษา 3 -5 ปี ต่อไป
เมื่อได้ข้อมูลตามขั้นตอนข้างต้นแล้วจึงจัดทำเอกกสารรูปเล่ม แผนพัฒนาการจัดการศึกษา ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนแล้วเสนอแผนพัฒนาการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษา ให้ความเห็นชอบ
การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ดำเนินการโดย
1. แต่งตั้งคณะทำงาน
2. ศึกษาแผนพัฒนาจัดการศึกษาของสถานศึกษา
คณะทำงานได้ศึกษาแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อทำความเข้าใจในสาระสำคัญ ของแผนพัฒนาการจัดการศึกษาแต่ละปี นำสู่การจัดลำดับโครงการ/กิจกรรม ที่จะดำเนินการแต่ละปีให้ครบถ้วนแล้วจึงศึกษาข้อควรปรับปรุง ข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ได้รวบรวมและจัดส่งมาให้สถานศึกษา และประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจที่ตรงกัน
3. ขั้นวิเคราะห์จัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรม
4. จัดทำรูปเล่ม แผนปฏิบัติการประจำปี ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนแล้วเสนอแผนพัฒนาการ จัดการศึกษาต่อคณะกรรมการ ให้ความเห็นชอบ
ผลการดำเนินงาน
1. มีการศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบโดยใช้เทคนิควิธีการที่หลากหลาย ได้ข้อมูลสารสนเทศที่หลากหลาย ถูกต้องครบถ้วน ทันสมัย จากแหล่งข้อมูล เอกสารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย
2. กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายด้านต่างๆ โดยใช้ข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาที่ถูกต้องครบถ้วน และทันสมัย ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่สะท้อนคุณภาพความสำเร็จอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
3. กำหนดวิธีการดำเนินงานกิจกรรมโครงการที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยใช้กระบวนการวิจัย หรือผลการวิจัย หรือข้อมูลที่อ้างอิงได้ การจัดประสบการณ์เรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและการประเมินผลครอบคลุมการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาบุคลากรและการบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
4. มีการสำรวจแหล่งเรียนรู้ทั้งภายใน ภายนอกสถานศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดทำข้อมูลและสารสนเทศ นำมาใช้ในการวางแผนเพื่อเตรียมการและใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียน
5. กำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน ครอบคลุมโครงสร้างการบริหารงานบุคลากรของสถานศึกษา และผู้เรียนร่วมรับผิดชอบเป็นไปตามแนวปฏิบัติของสถานศึกษา มีการดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป็นไปตามปฏิทินที่กำหนด ใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความพึงพอใจ
6. กำหนดบทบาทหน้าที่พร้อมแนวทางในการมีส่วนร่วมของบิดา มารดา ผู้ปกครอง องค์กร หน่วยงาน ชุมชนและท้องถิ่นในการบริหารจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคลและด้านการบริหารทั่วไป
7. มีการกำหนดการใช้งบประมาณ บุคลากร วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และเวลาอย่างประหยัดและคุ้มค่าให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายเกือบทุกโครงการและกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
8. เสนอแผนพัฒนาการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษา ให้ความเห็นชอบและรับรู้ร่วมกันอย่างกว้างขวาง อย่างมีระบบและแจ้งให้หน่วยงานต้นสังกัดรับทราบ
9. การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยทุกแผนงาน โครงงาน/กิจกรรมครอบคลุมตามภารกิจ ในแผนพัฒนาการจัดการศึกษาพร้อมทั้งปรับ กิจกรรม ให้สอดคล้องกับนโยบายที่สำคัญ
10. การกำหนดผู้รับผิดชอบ ปฏิทินและแผนกำกับติดตามการดำเนินงานของแผนปฏิบัติการประจำปีชัดเจนครบถ้วนในทุกโครงการ/กิจกรรมโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
11. เสนอแผนปฏิบัติการประจำปีต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบและรับรู้ร่วมกันอย่างกว้างขวางอย่างมีระบบและแจ้งให้หน่วยงานต้นสังกัดรับทราบ
สรุป การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ของสถานศึกษา อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม
4.2.3 การดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้
ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ อยู่ในระดับดีเยี่ยม
การดำเนินงานของสถานศึกษา
โรงเรียนได้ดำเนินการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี โดย
1. มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจแผนปฏิบัติการประจำปี ก่อนการดำเนินงาน
2. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการหรือกิจกรรม ในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีอย่างชัดเจน
3. ดำเนินงานต่างๆ โดยผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ครูมีความสามารถเฉพาะตัวสูงและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำงาน
4. นิเทศ กำกับติดตามการดำเนินงาน อย่างเป็นกัลยาณมิตรจากเพื่อนร่วมงานและผู้บริหาร
5. ประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
6. สรุปรายงานผลให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ
ผลการดำเนินงาน
1. มีการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ร้อยละ 80 ขึ้นไปของจำนวนโครงการ/กิจกรรม
2. ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่ได้กำหนด โดยร้อยละ 80 ขึ้นไปของโครงการ/กิจกรรม บรรลุตามวัตถุประสงค์ มีการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า และผู้เกี่ยวข้องร้อยละ 80 ขึ้นไปพึงพอใจในการดำเนินงาน
4.2.4 การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา
ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ อยู่ในระดับดีเยี่ยม
การดำเนินงานของสถานศึกษา
โรงเรียนได้ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ดังนี้
1. การวางแผนติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา โดยการแต่งตั้งบุคลากรให้เข้ามาดำเนินการ ในการตรวจติดตามคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานต้นสังกัด ตัวแทนครู ชี้แจงแนวการดำเนินงาน ระดับคุณภาพ ให้ผู้ประเมินและบุคลากรทุกคนรู้และเข้าใจ ชี้แจงวัตถุประสงค์และขอบข่ายสาระสำคัญของการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ทบทวนเอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการติดตามคุณภาพ
2. การดำเนินการตามแผนการติดตามตรวจสอบ โดยกำหนดให้มีการตรวจสอบคุณภาพเป็นรายกิจกรรม ครอบคลุมของทุกฝ่าย ทุกงาน มอบหมายงานตรวจสอบคุณภาพการศึกษาแก่คณะผู้ปฏิบัติงานแต่ละคณะดำเนินการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาเป็นระยะๆ โดยผู้บริหารสถานศึกษาร่วมกับครู หรือบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับมอบหมายการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี หรือกิจกรรมที่สถานศึกษากำหนดขึ้นเป็นผู้ติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง รวมทั้งดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง การดำเนินงานของตนเองให้เป็นตามแผน แล้วรวบรวมร่องรอยการดำเนินงานและผลการตรวจสอบของผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายนั้นๆ มาปรับปรุง และพัฒนาการปฏิบัติไปสู่เป้าหมาย คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ตรวจสอบ และรายงานคุณภาพการศึกษา จะศึกษาและรวบรวมข้อมูล ร่องรอย หลักฐานการดำเนินงานทั้งหมด
3. รายางานการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
4. นำผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการปรับปรุง พัฒนางานของสถานศึกษา ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
ผลการดำเนินงาน
1. มีผู้รับผิดชอบในการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และมีกระบวนการสร้างความเข้าใจในการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาระดับสถานศึกษามอบหมายงานตามความรู้ความสามารถร่วมกันวางแผนกำหนดภารกิจและปฏิทินการติดตามตรวจสอบและมีการประสานงานอย่างเป็นระบบ
2. สถานศึกษามีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ทั้งระดับบุคคลและระดับสถานศึกษาที่แสดงผลการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยมีวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
สรุป การติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา อยู่ในระดับดีเยี่ยม
4.2.5 ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ อยู่ในระดับดีเยี่ยม
การดำเนินงานของสถานศึกษา
โรงเรียนได้ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ดังนี้
1. เตรียมความพร้อมของบุคลากร สร้างความตระหนักถึงคุณค่าของการประเมินคุณภาพภายใน ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา พัฒนาความรู้ ทักษะเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา
2. ขั้นการดำเนินการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษา สร้างเครื่องมือการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาโดยประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม Microsoft excel เป็นเครื่องมือในการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษา ทุกระดับการศึกษา ครอบคลุมทุกมาตรฐานและทุกตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงาน
1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน 5 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการ ขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานต้นสังกัด 1 คน กำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการอย่างชัดเจนและดำเนินการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
2. มีการวางแผนและกำหนดแนวทางการประเมินคุณภาพภายในที่ชัดเจนมีเครื่องมือประเมินคุณภาพภายในที่ครอบคลุมมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาทุกระดับการศึกษา โดยทุกมาตรฐานและตัวบ่งชี้ดำเนินการคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาโดยใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลากหลายและเหมาะสม
สรุป การจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา อยู่ในระดับดีเยี่ยม
4.2.6 จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงาต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษาเป็นประจำทุกปี
ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ อยู่ในระดับดีเยี่ยม
การดำเนินงานของสถานศึกษา
โรงเรียนได้ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน โดย
1. แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
2. รวบรวมข้อมูลสารสนเทศ วิเคราะห์ และแปลผล ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ผลการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา และผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีที่ครอบคลุมตามมาตรฐานการศึกษา นำเสนอข้อมูลสารสนเทศที่รวบรวมตามรูปแบบที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด ประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม Microsoft excel ในการวิเคราะห์ และแปรผล ข้อมูลต่างๆ
3. สรุปและจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ที่สะท้อนคุณภาพผู้เรียนและผลสำเร็จ ของการบริหารจัดการศึกษาอย่างชัดเจน ครอบคลุมตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาตามรูปแบบ ที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด
4. มีการตรวจสอบ ปรับปรุง คุณภาพของรายงานให้มีความชัดเจนและสมบูรณ์ แล้วนำเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาพิจารณาให้ความเห็นชอบอย่างเป็นระบบ ตามช่วงเวลาที่กำหนด
5. รายงานและเปิดเผยต่อผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง หน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องชุมชน ท้องถิ่น โรงเรียนเผยแพร่รายงานโดยจัดทำเป็น รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา เผยแพร่ทางเว็บไซต์ เสียงตามสาย และในการประชุม
ผลการดำเนินงาน
1. สรุปและจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่สะท้อนคุณภาพผู้เรียนและผลสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษาอย่างชัดเจน ครอบคลุมตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาตามรูปแบบที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนดโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกฝ่าย
2. มีการตรวจสอบ ปรับปรุง คุณภาพของรายงานให้มีความชัดเจนและสมบูรณ์ แล้วจึงเสนอรายงาน ต่อคณะกรรมการสถานศึกษาพิจารณาให้ความเห็นชอบตามช่วงเวลาที่กำหนด
3. มีการเผยแพร่รายงานการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนพร้อมกับนำความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากผู้ได้รับการเผยแพร่ เพื่อนำไปใช้สำหรับการจัดการศึกษาอย่างมีระบบ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
4.3 ผลงานดีเด่นสถานศึกษา ปีการศึกษา 2562 – 2563
ผลงานดีเด่นของสถานศึกษา ผู้บริหาร ครูและบุคลากร
ที่
|
ระดับรางวัล/ชื่อรางวัลที่ได้รับ
|
หน่วยงานที่มอบรางวัล
|
1
|
โครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” รอบที่สอง
ปีการศึกษา 2562-2564
|
มูลนิธิ ในพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
|
2
|
โครงการ ยกย่องเชิดชูเด็กประพฤติดีมีค่านิยม
เนื่องในงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2562
|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
|
3
|
โครงการ Coaching Teams เพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
ผลการขับเคลื่อนคุณภาพสถานศึกษาระดับจังหวัด
ได้รับรางวัล ระดับดี
|
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
|
4
|
โครงการ ส่งเสริมชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรม ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ภายใต้แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2559- 2564)
|
คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
|
5
|
ครูผู้สอนดีเด่น เนื่องในวันครู ครั้งที่ 65 พ.ศ.2564
1. นายปรัชญา เพ็ชรากาล (กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์)
2. นางกาญจนา ซุ่นสั้น (กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย)
|
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดตรัง
|
6
|
ครูดีไม่มีอบายมุข ประจำปีการศึกษา 2563
1. นางณัฐธยาน์ ศรีเพชร
2. นายปรัชญา เพ็ชรากาล
3. นางชุติมา สงนวล
4. นางสาวลัดดาวัลย์ สุขะ
5. นางสาวกัณฐาภรณ์ ไกรสุทธิ์
6. นางสาวนัฏมล เกื้อนะ
7. นางสาวสุวภา โยธาทูล
|
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
|
7
|
ครูผู้ฝึกสอนดีเด่น “ด้านการสวดมนต์หมู่ฯ ทำนองสรภัญญะ”
1. นางสาวธีรนาฎ ถาวรสังข์ (กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม)
2. นางสาวจารุวรรณ มะนะโส (กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
นักเรียนที่ได้รับรางวัลชมเชย การประกวดสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะ ประเภททีม 5 คน งานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ประจำปี พ.ศ.2564 ระดับภาคคณะสงฆ์ ภาค 17 ระดับประถมศึกษา ประเภททีมหญิงล้วน
1. เด็กหญิงพัชรินทร์ เอียดเขานุ้ย
2. เด็กหญิงพิมพ์ณภาภรณ์ ชูหอยทอง
3. เด็กหญิงณัฐวรา ดำละเอียด
4. เด็กหญิงวิรัญดา ชุมนาคราช
5. เด็กหญิงพรจรัส เวชรังสี
|
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
|
8.
|
ครูผู้ฝึกสอน เด็กหญิงพิมพ์ณภาภรณ์ ชูหอยทอง เข้าร่วมการประกวดพูดเล่าเรื่องหัวข้อ “ภูมิปัญญาท้องถิ่น : ของกิน ของเล่น ของใช้” กลุ่มที่ 4 ภาคใต้
1. นางกาญจนา ซุ่นสั้น
2. นางสาวกัณฐาภรณ์ ไกรสุทธิ์
|
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
|
งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 69 ประจำปีการศึกษา 2562 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ที่
|
ระดับรางวัล/ชื่อรางวัลที่ได้รับ
|
ครูผู้ฝึกสอน
|
1
|
การแข่งขันต่อสมการคณิตศาสตร์ (เอแม็ท) ม.1-ม.3
ชนะเลิศ ระดับเหรียญทอง
|
นายปรัชญา เพ็ชรากาล
|
2
|
การแข่งขันท่องอาขยานทำนองเสนาะ ม.1-ม.3 ระดับเหรียญทอง อันดับ 7
|
นางกาญจนา ซุ่นสั้น
|
3
|
การแข่งขันเครื่องบินพลังยาง ประเภทบินนานสามมิติ (3D) ม.1-ม.3 ระดับเหรียญทองแดง อันดับ 13
|
นายเอกสิทธิ์ ผลโสดา
|
|