[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่ผลงานวิชาการ เรื่องการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2563
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย
วันที่   28   พฤษภาคม   2564
เข้าชม : 186
Bookmark and Share


 

ชื่อเรื่อง          การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย

ปีการศึกษา 2563

ผู้รายงาน        นางวรุณี  ศรีทองช่วย     ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย

                   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

ปีที่รายงาน       ปีการศึกษา 2563

 

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

 

          รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย                 

ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ

          ประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพของการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน

บ้านหนองบัวน้อย 2) การมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย 3) ผลการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย และ 4) ความพึงพอใจ ของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของ สตฟเฟิลบีม มาใช้ในการประเมิน

          กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4-6 จำนวน 41 คน ประชากรครู จำนวน 10 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 41 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน

          เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ ประกอบด้วยแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 6 ฉบับ และแบบบันทึกพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนตามสภาพจริง จำนวน 1 ฉบับ เครื่องมือทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง .819-.968 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย     ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

 

ผลการประเมินพบว่า

1.       ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด อยู่ในระดับมากและมากที่สุด และเมื่อพิจารณา         แต่ละกลุ่ม  ผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (m= 4.27, s= 0.59) อยู่ในระดับมาก      ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (= 4.25, S.D. = 0.79) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน

2.       ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน

บ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์        ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ การประเมินทุกประเด็นและทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ย (m = 4.16,

s = 0.30) อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า ด้านความพร้อมของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (m = 4.60, s = 0.51) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ ด้านความเหมาะสมของการบริหารจัดการโครงการ มีค่าเฉลี่ย (m = 4.56, s = 0.47) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านความเพียงพอของงบประมาณ มีค่าเฉลี่ย (m = 3.60 , s = 0.51) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน

3.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (m= 4.33, s= 0.42)   อยู่ในระดับมาก  ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (= 4.24,S.D. = 0.45)  อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20  ผ่านเกณฑ์การประเมิน และนักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย (= 4.01, S.D.= 0.44) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน

4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต จำแนกเป็น

            4.1 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับระดับคุณภาพระบบดูแลช่วยเหลือ โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2563  ตามความคิดเห็นของนักเรียน  ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด        ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า ครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (m= 4.60 , s= 0.33) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (= 4.43, S.D.= 0.33) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (= 4.40, S.D.= 0.42,0.43)  อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน  เช่นกัน  

4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู และผู้ปกครองในโครงการการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน  ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสี่กลุ่ม    ที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย  15  ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู มีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย (m= 4.47 , s= 0.36) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย  15  ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย (= 4.40 , S.D. = 0.35) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย  15  ผ่านเกณฑ์      การประเมิน ผู้ปกครองมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (= 4.03 , S.D. = 0.49) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน  ส่วนนักเรียนมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (= 3.91 , S.D. = 0.53) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย  15  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  เช่นกัน

4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตโครงการเกี่ยวกับผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนตามแบบบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง  พบว่า ปีการศึกษา  2562  มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น 103 คน โดยภาพรวมมีจำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 32.03 ปีการศึกษา 2563 มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น 96 คน โดยภาพรวมนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 12.5 แสดงให้เห็นว่า จำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมนักเรียนที่ไม่พึงประสงค์ ลดลงคิดเป็น ร้อยละ 19.55 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2563 พบว่า ทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ            (= 4.41, S.D.= 0.43) อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มที่ประเมิน พบว่า ผู้ปกครอง มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (= 4.46 , S.D.= 0.44) อยู่ในระดับมาก  ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน  คณะกรรมสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (= 4.40 , S.D.= 0.32) อยู่ในระดับมาก  ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน  ส่วนนักเรียนมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย                   (= 4.37 , S.D.= 0.43) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และครู           มีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (m= 4.36 , s = 0.50) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15  ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน

 

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้

   1.1 โรงเรียนควรสะท้อนสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นของโรงเรียนในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายใต้การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง

   1.2 ควรประสานงานการจัดกิจกรรมกับกลุ่มบริหารวิชาการ เพื่อการวางแผนหรือกำหนดเวลาการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามปฏิทินและนิเทศการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง

   1.3 ผู้บริหารโรงเรียนควรสนับสนุนสร้างขวัญและกำลังใจแก่ครูที่ดูแลนักเรียน  เช่น  นักเรียนได้รับรางวัลคุณธรรมดีเด่นจากการแข่งขัน หรือได้รับการคัดเลือกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน  ทุกระดับ  และชื่นชมยกย่องนักเรียนที่มีความประพฤติดีมีคุณธรรม  อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง

   1.4 ควรส่งเสริมการให้ความร่วมมือกับสหวิชาชีพและชุมชนเพิ่มขึ้น

   1.5 ควรส่งเสริมกิจกรรมให้นักเรียนสามารถป้องกันและดูแลตนเองได้ทั้งใน เรื่องเพศศึกษา ยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น

2. ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการ หรือการวิจัยครั้งต่อไป

    2.1 ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ในระดับหน่วยงานหรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม

   2.2 ควรมีการศึกษาปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

 

 



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     ขายทอดตลาดครุภัณฑ์ยานพาหนะชำรุดและไม่จำเป็นไว้ใช้ในราชการต่อไป 6 ส.ค. 2564
     การเผยแพ่รการประเมินตนเองของสถานศึกษา 29 มิ.ย. 2564
     การเผยแพ่การประเมินตนเองของสถานศึกษา 29 มิ.ย. 2564
     การเผยแพร่การประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report:SAR) ปีการศึกษา 2563 16 มิ.ย. 2564
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านนำ้ฉา 9 มิ.ย. 2564


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.