บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ข้อมูลพื้นฐานสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านไสต้นวา ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นายจารุพันธ์ ยงประเดิม เบอร์โทรศัพท์ 089 -289-0134 เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนครู 8 คน จำแนกเป็นข้าราชการครู 7 คน ครูพี่เลี้ยง (อัตราจ้าง)(งบโรงเรียน) 1 คน ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม เมื่อวันที่ 20 ถึง 22เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 มีการจัดการศึกษา 2 ระดับ คือ
1. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การศึกษาปฐมวัย มีครู 1 คน จำนวน 1 คน ครูพี่เลี้ยง 1 คนนักเรียนจำนวน 30 คน
2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน :ประถมศึกษา มีครู จำนวน 6 คน ผู้เรียน จำนวน 96 คน รวมทั้งสถานศึกษา มีบุคลากรครูจำนวน 8 คน ผู้เรียน จำนวน 126 คน
ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
1.ระดับการศึกษาปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี
จุดเด่น
เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ ,มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตามกิจกรรมประจำวันเป็นอย่างดี
จุดที่ควรพัฒนา
การพัฒนา ปลูกฝังในเรื่องสุขนิสัยที่ดี เช่น การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ล้างมือก่อนออกจาก
ห้องน้ำ ห้องส้วม และการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้เป็นนิสัย
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี
จุดเด่น
ครูมีหลักสูตรและแผนการสอนครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น การจัดสิ่งอำนวย ความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ ครูได้รับการพัฒนาด้านวิชาชีพครูผลิตสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย
จุดที่ควรพัฒนา
ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ พัฒนาตัวเองให้มากขึ้น ทั้งทางด้านเทคโนโลยีและการพัฒนานักเรียน มีการทำวิจัยทุกภาคเรียน เอาใจใส่ดูแลนักเรียนและแก้ปัญหาต่างๆให้นักเรียนมากขึ้น และสม่ำเสมอ
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ระดับ ยอดเยี่ยม
จุดเด่น
เด็กเรียนรู้ จากการเล่นและปฏิบัติกิจกรรม มีบรรยากาศ สภาพห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้
ประเมินผลเด็กด้วยวิธีการหลากหลาย
จุดที่ควรพัฒนา
จัดอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย พัฒนาเครื่องเล่นสนามให้มีความปลอดภัย
มั่นคง สวยงาม ควรมีครูดูแลนักเรียนตลอดเวลาในขณะใช้แหล่งเรียนรู้
สรุปผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ
2.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
จุดเด่น
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อ่านออก เขียนได้ นักเรียนทุกคนมีความสามารถด้านคิดคำนวณ เนื่องจากมีการเรียนซ่อมเสริมเป็นรายบุคคลให้เต็มตามศักยภาพ มีการใช้เทคโนโลยีทุกชั้น ส่งผลให้ผลการทดสอบระดับชาติ ทั้งระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 มีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทุกระดับทุกวิชา และ เด็กสามารถปฏิบัติตามได้ตามหลักพระพุทธศาสนา เช่น นักเรียนสามารถอาราธนาศีลได้ทุกชั้น นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐาน ผู้เรียนมีสุขภาพจิตที่ดี ผู้เรียนสามารถหลีกเลี่ยงยาเสพติด ผู้เรียนร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ช่วยทำความสะอาดบริเวณ โรงเรียนและชุมชน เป็นผู้ที่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
จุดที่ควรพัฒนา
พัฒนาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
การดำเนินงานตามมาตรฐานนี้โดยเฉพาะการวางแผนพัฒนาผู้เรียนยังไม่ชัดเจนและลงไปที่เป้าหมายอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ผู้เรียนบางคนยังขาดทักษะในการอ่าน แก้ปัญหา บางคนขาดทักษะการวางแผน กระบวนการและขั้นตอนการทำงานยังไม่เกิดขึ้นและปรับเปลี่ยนวิธีการอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้เรียนในระดับชั้น ป.1-ป.3 ยังขาดเป้าหมาย และแรงจูงใจในการเรียน และผู้เรียนต้องพัฒนาทักษะการอ่าน การสื่อสาร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
จุดเด่น
โรงเรียนมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ โรงเรียนได้ใช้เทคนิคการประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล
จุดที่ควรพัฒนา
เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนมากขึ้นทุกขั้นตอน สร้างเครือข่ายความร่วมมือภายนอกที่หลากหลายเพื่อให้โรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง
มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษาและการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
จุดเด่น
ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน อุทิศเวลาจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด ได้ปฏิบัติจริง มีการให้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนแสวงหาความรู้ จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
จุดที่ควรพัฒนา
ควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ และการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีเพื่อนักเรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง
สรุปผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ
แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น :
แผนปฎิบัติงานที่ 1 ขอความร่วมมือจากชมรมภาษาอังกฤษ ,ชมรมคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยตรัง เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในวิชาภาษาอังกฤษ,และเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปีการศึกษา 2564
แผนปฎิบัติงานที่ 2 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดการทดสอบและแข่งขันความสามารถทางวิชาการ/วิชาชีพ ในระดับโรงเรียนให้มากขึ้นและจัดอย่างต่อเนื่อง
แผนปฎิบัติงานที่ 3. สร้างทีมงานประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับสถานศึกษา ในการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนให้พร้อมรับการประเมินภายนอก เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนพัฒนา ระบบ ประกันคุณภาพภายในให้เข้มแข็ง
|