[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : รายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านโคกยาง
วันที่   24   พฤษภาคม   2564
เข้าชม : 378
Bookmark and Share


 แบบรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2563

 โรงเรียนบ้านโคกยาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

……………………………………….

1.ข้อมูลทั่วไป

          ชื่อโรงเรียนบ้านโคกยาง ที่อยู่ เลขที่ 100 หมู่ที่ 2 ตำบลโคกยาง  อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง   สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2  โทรศัพท์  080 145 8113  โทรสาร - .เปิดสอนระดับชั้น อนุบาล  1  ถึงระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่  3

2. ข้อมูลบุคลากรของสถานศึกษา (20 พ.ย. 2563)       

บุคลากร

ผู้บริหาร

ครูผู้สอน

พนักงานราชการ

ครูอัตราจ้าง

เจ้าหน้าที่อื่นๆ

ปีการศึกษา 2563

1

17

-

-

-

 

3.  ข้อมูลนักเรียน (20 พ.ย. 2563)      

ระดับชั้นเรียน

จำนวน

หมายเหตุ

ชาย

หญิง

อนุบาลปีที่ 1

1

4

5

อนุบาลปีที่ 2

9

2

11

อนุบาลปีที่ 3

12

9

21

รวม

22

15

37

ประถมศึกษาปีที่ 1

7

17

24

ประถมศึกษาปีที่ 2

18

13

31

ประถมศึกษาปีที่ 3

20

17

37

ประถมศึกษาปีที่ 4

23

13

26

ประถมศึกษาปีที่ 5

8

11

19

ประถมศึกษาปีที่ 6

12

13

25

รวม

78

84

162

มัธยมศึกษาปีที่ 1

17

13

30

มัธยมศึกษาปีที่ 2

19

12

31

มัธยมศึกษาปีที่ 3

16

18

34

รวม

52

43

95

รวมทั้งหมด

152

142

294

 

 

4. ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา                       

    ตามกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ปีการศึกษา 2563  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

    ประถมศึกษาตรัง เขต 2

    4.1  รูปแบบการบริหารจัดการการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ  ดีเยี่ยม

การดำเนินงานของสถานศึกษา   

          โรงเรียนบ้านโคกยาง มีการกำหนดรูปแบบ วิธีการบริหารจัดการการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการ PDCA  ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการโดยสังเขปดังนี้

          1. ร่วมกันวางแผน (PLAN) กำหนดเป้าหมายหรือมาตรฐานของการศึกษาแล้ววางแผน

          2. ร่วมกันปฏิบัติ (Do) นำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดจากการดำเนินการตามแผน

          3. ร่วมกันตรวจสอบประเมิน (CHECK) ในขณะที่ดำเนินการตามแผน

          4. ร่วมกันปรับปรุงแก้ไข (ACT) แล้วนำผลการตรวจสอบใช้ปรับปรุงและวางแผนให้ดำเนินงาน

ในขั้นต่อไปให้ดีขึ้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวได้กระทำเป็นวงจรต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน.

          โรงเรียนมีวิธีการบริหารจัดการการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพ ภายในของสถานศึกษาที่ทันสมัย  เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา  มีความเป็นไปได้มากที่สุดในเชิงปฏิบัติ  มีกระบวนการและลำดับขั้นตอนอย่างชัดเจน ทำให้การดำเนินการระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

     4.2  การดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 

           4.2.1 การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับ

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม

การดำเนินงานของสถานศึกษา

          การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนบ้านโคกยาง  จัดให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันศึกษา วิเคราะห์ มาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา  ทั้งในระดับการศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามประกาศของกระทรวงศึกษาการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอย่างถูกต้อง  ครบถ้วน  และ
มีการกำหนดเป้าหมายความสำเร็จตามมาตรฐานของสถานศึกษาตามบริบทของโรงเรียน  กำหนดตัวบ่งชี้ การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด โดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมดังนี้

          1) ความประพฤติด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสังคมและจิตสำนึก

          2) ยอมรับและปฏิบัติตนตามคุณธรรมอัตลักษณ์ของสถานศึกษา

          3) ปฏิบัติตนตามอัตลักษณ์ของโรงเรียน “สะอาด  มารยาทดี”

          รวมทั้งมีการกำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จของทุกมาตรฐานและตัวบ่งชี้อย่างเหมาะสมโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและมีการประกาศ/ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและนอกสถานศึกษาได้รับทราบรวมทั้งได้จัดทำคู่มือแนวทางการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างถูกต้อง ครบถ้วนทุกมาตรฐาน ทุกตัวบ่งชี้  

ผลการดำเนินงาน.

      ผลจากการดำเนินงาน  โรงเรียนบ้านโคกยางมีมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาทั้งในระดับการศึกษาปฐมวัย  และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพร้อมที่จะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป

4.2.2  การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ ดีมาก

การดำเนินงานของสถานศึกษา

         โรงเรียนบ้านโคกยาง  ได้จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาโดยได้ตำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้

          1.  ตั้งคณะกรรมการ จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ซึ่งประกอบด้วยคณะบุคคลจากหลายฝ่าย
ทั้งในและนอกสถานศึกษา เช่น หัวหน้างานบริหาร  4  ฝ่าย  ผู้แทนครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนหน่วยงานจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน เพื่อดำเนินการรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง

          2.  รวบรวมข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพภายในและสภาพภายนอกของสถานศึกษา  การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภายในด้านจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และสภาพภายนอก ด้านโอกาส อุปสรรคในการจัดการศึกษา

          3.  การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภายในและสภาพภายนอกของสถานศึกษา  การวิเคราะห์ข้อมูล
ที่เกี่ยวข้องกับสภาพภายในด้านจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา   และสภาพภายนอกด้านโอกาสและอุปสรรคของสถานศึกษา  โดยใช้รูปแบบการวิเคราะห์ตามแนวทาง
SWOT Analysis

          4.  นำผลการวิเคราะห์สภาพภายในและภายนอกของสถานศึกษามาประมวลเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายของสถานศึกษา

          ๕   กำหนดกลยุทธ์ ตัวชี้วัดความสำเร็จและชื่อโครงการ/กิจกรรม  กำหนดวิธีการดำเนินงานกิจกรรมโครงการที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับกิจกรรม โครงการ
                    6.  เสนอแผนพัฒนาการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบ  รับรู้ร่วมกันและแจ้งให้หน่วยงานต้นสังกัดรับทราบ
                    7.  จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

          8..  เสนอแผนปฏิบัติการประจำปีต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบและรับรู้ร่วมกันและแจ้งให้หน่วยงานต้นสังกัดรับทราบ

ผลการดำเนินงาน

          โรงเรียนบ้านโคกยาง  มีแผนพัฒนาการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ  ซึ่งเป็นเครื่องมือในการสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้เรียน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับรู้และเข้าใจในการบริหารและการจัดการที่มีคุณภาพ มีการแสดงเป้าหมาย ทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน มีแนวทางปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ทิศทางที่ต้องการโดยการขับเคลื่อนที่ยึดสถานศึกษาเป็นฐาน ด้วยความร่วมมือและความรับผิดชอบของบุคลากรภายในสถานศึกษาตลอดถึงการกำกับดูแล ส่งเสริม สนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด

          4.2.3  การดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ 

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ  ดีมาก

การดำเนินงานของสถานศึกษา

          1. ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ ดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมต่างๆ  โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

          2. จัดทำปฏิทินและแผนกำกับติดตามการดำเนินงานของแผนปฏิบัติการประจำปีในทุกโครงการ/กิจกรรม  

          3. ปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด

          4. ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่ได้กำหนดไว้ในโครงการ กิจกรรม

ผลการดำเนินงาน

           โครงการ /กิจกรรมต่างๆที่กำหนดในแผนปฏิบัติการประจำปี  ได้รับการดำเนินการจากผู้รับผิดชอบตามที่กำหนดไว้ในโครงการ กิจกรรม บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้  มีการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า และผู้เกี่ยวข้องร้อยละ 80 ขึ้นไปพึงพอใจในการดำเนินงาน

           แต่มีบางโครงการในปีงบประมาณ 2563 ที่ไม่สามารถดำเนินการตามแผนที่วางไว้เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ทำให้กิจกรรมส่งเสริมความความสามารถพิเศษ ในโครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้สู่ผู้เรียน และกิจกรรมการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์โคกยาง ในโครงการสายสัมพันธ์
โคกยางมีส่วนร่วมสู่ชุมชน ไม่สามารถดำเนินการได้

          4.2.4  การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม

การดำเนินงานของสถานศึกษา

                    โรงเรียนได้แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผล ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา   
ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน  ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานต้นสังกัด  1 คน ตัวแทนจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  1  คน  ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านการบริหารการจัดการศึกษา 1 คน ครูผู้รับผิดชอบงานระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา  1  คน  มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการอย่างชัดเจนและดำเนินการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา  ปีละ 1 ครั้ง  และรายงานผลการประเมิน
ให้หน่วยงานต้นสังกัดทราบ  พร้อมนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินมาสังเคราะห์เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ผลการดำเนินงาน

                    ผลจากการมีการวางแผนและกำหนดแนวทางการประเมินฯคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่ชัดเจน
มีเครื่องมือประเมินคุณภาพภายในที่ครอบคลุมมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาทุกระดับการศึกษา ทำให้โรงเรียน
บ้านโคกยางมีระบบประกันคุณภาพภายในที่มีมาตรฐาน

          4.2.5  ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ ดีมาก

การดำเนินงานของสถานศึกษา

                    โรงเรียนบ้านโคกยางได้มีคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการติดตามผลการดำเนินงานของสถานศึกษา
มีเครื่องมือติดตามผลการดำเนินงาน มีผู้รับผิดชอบในการติดตามผลการดำเนินงาน และมีกระบวนการสร้างความเข้าใจในการติดตามฯระดับสถานศึกษา มอบหมายงานตามความรู้ ความสามารถ ร่วมกันวางแผนกำหนดภารกิจและปฏิทินการติดตามฯและมีการประสานงานอย่างเป็นระบบ มีการติดตามผลการดำเนินงานของสถานศึกษาภาคเรียนละ 1 ครั้ง
ทั้งระดับบุคคลและระดับสถานศึกษาที่แสดงผลการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการโดยมีวิธีการและเครื่องมือ
ที่หลากหลาย

ผลการดำเนินงาน

                    ผลจากการดำเนินงานที่ระบบและขั้นตอนชัดเจนทำให้สถานศึกษาพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

           4.2.6  จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษา             เป็นประจำทุกปี

ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินฯ  อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม

การดำเนินงานของสถานศึกษา

       โรงเรียนบ้านโคกยาง  ได้สรุปและจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาที่สะท้อนคุณภาพผู้เรียน และผลสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษาอย่างชัดเจน  ครอบคลุมตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาตามรูปแบบที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนดโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกฝ่าย และมีการตรวจสอบ ปรับปรุง คุณภาพของรายงานให้มีความชัดเจนและสมบูรณ์ แล้วจึงเสนอรายงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบอย่างเป็นระบบตามช่วงเวลาที่กำหนด มีการเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนพร้อมกับนำความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากผู้ที่ได้รับการเผยแพร่ไปใช้สำหรับการพัฒนาการจัดการศึกษาอย่างมีระบบ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน 

          มีการจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาให้แก่หน่วยงานต้นสังกัด  คือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง  เขต 2  เป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่อง  ทันตามกำหนดเวลาที่หน่วยงานตันสังกัดกำหนด  และนำข้อเสนอแนะมาปรับใช้ในการพัฒนาการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

 

 

4.3  ผลงานเด่นของสถานศึกษา  ปีการศึกษา 2562 – 2563

 

ลำดับที่

รางวัล

หน่วยงานที่มอบให้

ปีการศึกษา 2562

ได้รับรางวัล รองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภทลูกเสือสามัญ

รุ่นใหญ่ การประกวดระเบียบแถวลูกเสือ-เนตรนารี ระดับจังหวัด ประจำปี 2562

สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

โรงเรียนบ้านโคกยางผ่านการประเมินรอบสอง บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีกุมารี

มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

ผลการประเมินภายนอกรอบสี่ ปี ( พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๓) ได้ระดับดีมากทุกมาตรฐาน ทั้งระดับปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์กรมหาชน)

ปีการศึกษา 2563

โรงเรียนบ้านโคกยางผ่านการประเมินผลงานด้านนวัตกรรมโครงการ 1 โรงเรียน 1 นวัตกรรม ของโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

       



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     ขายทอดตลาดครุภัณฑ์ยานพาหนะชำรุดและไม่จำเป็นไว้ใช้ในราชการต่อไป 6 ส.ค. 2564
     การเผยแพ่รการประเมินตนเองของสถานศึกษา 29 มิ.ย. 2564
     การเผยแพ่การประเมินตนเองของสถานศึกษา 29 มิ.ย. 2564
     การเผยแพร่การประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report:SAR) ปีการศึกษา 2563 16 มิ.ย. 2564
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านนำ้ฉา 9 มิ.ย. 2564


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.