บทสรุปของผู้บริหาร
ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
ชื่อโรงเรียน บ้านควนพญา ที่อยู่ 259 หมู่ที่ 6 ตำบลบางกุ้ง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นางสาวอรุณศรี เที่ยงธรรม เบอร์โทรศัพท์ 0918214710 จำนวนครู 14 คน จำแนกเป็น ข้าราชการครู 8 คน พนักงานราชการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 3 คน และเจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน จำนวนนักเรียน รวม 163 คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล 42 คน ระดับประถมศึกษา 121 คน
ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
1. ระดับการศึกษาปฐมวัย
1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา
โรงเรีียนบ้านควนพญามีกระบวนการพัฒนาเด็กหลากหลายครอบคลุมพัฒนาการทั้ง
4 ด้าน ประกอบด้วยด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา ดังนี้
ด้านร่างกาย โรงเรียนบ้านควนพญาได้ได้ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนโดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการตามหน่วยการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดกิจกรรมตามตารางประจำวันเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาที่สมวัย มีการจัดอาหารกลางวันและอาหารเสริมนมให้แก่ผู้เรียนและมีการดูแลสุขภาพของนักเรียนโดยการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงปีการศึกษาละ 4 ครั้ง โดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหนือคลองเข้ามาช่วยดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้เร่ียน นอกจากนี้โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนได้เล่นกีฬาตามความถนัดและความสนใจของนักเรียน
ด้านสังคม ครูผู้สอนดำเนินการจัดประสบการณ์เชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมแสดงออกด้านสังคมได้อย่างเหมาะสมกับวัย เช่น ส่งเสริมให้เด็กมีการช่วยเหลือตนเอง เป็น สมาชิกที่ดีของสังคม มีวินัยในตนเอง มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีมารยาทที่ดีรู้จัก ช่วยเหลือ แบ่งปันเพื่อนในห้องเรียน ทำงานร่วมกับเพื่อน ๆ ได้ โดยการใช้กิจกรรมกลุ่มในการจัดประสบการณ์ ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักประเพณี วัฒนธรรม ด้วยกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย รู้จักทดแทนบุญคุณพ่อ แม่ ครู โดยจัดกิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันพ่อ วันแม่ วันไหว้ครู และจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น
ด้านอารมณ์ โรงเรียนบ้านควนพญาได้มีการพัฒนาและส่งเสริมผู้เรียน ให้มีพฤติกรรมที่ แสดงออกทางอารมณ์จิตใจและความรู้สึกที่เหมาะสมกับวัย โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องผ่านกิจกรรมร้อง เล่น เต้น อ่าน ฝึกให้ผู้เรียนมีความอดทน มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก นอกจากนี้ได้มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ ดนตรี ให้นักเรียนได้วาดภาพระบายสี ร้องเพลง เพื่อเสริมสร้างจินตนาการและอารมณ์ที่ผ่องใสให้แก่ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ทั้งในและนอกห้องเรียน โดยการบูรณาการในหน่วยการเรียนรู้ต่าง ๆ
ด้านสติปัญญา โรงเรียนบ้านควนพญาได้มีการส่งเสริมและพัฒนาด้านสติปัญญา โดยจัด ประสบการณ์การเรียนการสอนอย่างหลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนได้มีทักษะทางภาษา และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย ทำให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติการทดลอง การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา มีการจัดกิจกรรมโครงงานเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว กล้าซักถามเพื่อค้นหาคำตอบ
จุดเด่น
เด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย สามารถดูแล สุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ อุบติภัย และสิ่งเสพติด มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ พึงประสงค์ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนา สิ่งแวดล้อม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ใน สังคมได้อย่างมีความสุข มีสติปัญญาเรียนรู้ได้ตาม กิจกรรมประจำวันอย่างดี
จุดที่ควรพัฒนา
เพื่อให้เด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านควนพญา มีความพร้อมด้านพัฒนาการและได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ โรงเรียนควรกำหนดการจัดกิจกรรมออกกำลังกายตอนเช้าอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงเครื่องเล่นสนามให้มีความพร้อมสำหรับการใช้งาน และมีความปลอดภัย จัดกิจกรรมพัฒนาด้านวินัยนักเรียนปฐมวัยอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งจัดกิจกรรม STEM ให้แก่เด็กเพื่่อให้เด็กมีความรู้คู่คุณธรรมและพร้อมเป็นเด็กในศตวรรษที่ 21
1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา
ผู้บริหารสถานศึกษามีความเข้าใจปรัชญา แนวคิด หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย มีความมุ่งมั่นและพัฒนาตนเองมาโดยตลอด เข้าร่วมประชุม/อบรม /สัมมนาตามที่หน่วยงานต้นสังกัดส่งเสริมให้ครูได้อบรมพัฒนาตนเองและนำความรู้มาใช้ในการจัดการประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีวิสัยทัศน์มีความเป็นผู้นำ จัดประชุมครูเพื่อปรึกษาหารือนิเทศชั้นเรียน ให้ คำแนะนำเกี่ยวกับผู้เรียนและการจัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ สนับสนุนให้มีการสอนแบบโครงงานและให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ตลอดเวลาทั้งในและนอกโรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษาให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางด้านวิชาการและ เอาใจใส่การจัดการศึกษาเต็มเวลาและเต็มศักยภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ มีการจัดทำ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีที่มีโครงการ/กิจกรรมที่มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพ การศึกษาและคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย มีคำสั่งมอบหมายงานและหน้าที่อย่างเหมาะสม จัดโครงสร้างการบริหารงานภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบและชัดเจน นอกจากนี้ผู้บริหารส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ โดยส่งเสริมให้ เข้ารับการอบรมในสาขาวิชาที่สอนอย่างต่อเนื่อง มีการนำคณะครูศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มประสบการณ์และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆร่วมวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง
จุดเด่น
สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ถูกต้องตามหลักการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และเป็นแบบอย่างได้ มีครูที่จบวิชาเอกการศึกษาปฐมวัย และครูที่มีประสบการณ์ในด้านการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก มีครูครบชั้นส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กอย่างหลากหลาย มีสื่อเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ มีระบบบริหารที่มีคุณภาพ และเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งยังมีการดำเนินการระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างมีระบบ
จุดที่ควรพัฒนา
พัฒนาห้องสื่อปฐมวัยให้พร้อมใช้งานเพื่อฝึกพัฒนาการเด็ก เสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนด้วยรูปแบบ Montessori ปรับปรุงเครื่องเล่นสนามให้มีความปลอดภัย พร้อมใช้งาน
1.3 มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ
ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา
โรงเรียนบ้านควนพญาให้ความสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อสามารถอยู่ ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ภายใต้คำว่า เก่ง ดี มีสุข จัดประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้มีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ส่งเสริมครูและบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้ครูสามารถจัดประสบการณ์ต่างๆให้เด็กอย่างเหมาะสม พัฒนาเครื่องมือการวัดและประเมิน พัฒนาการของผู้เรียนอย่างหลากหลาย ครูบริหารจัดการชั้นเรียนที่ส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสม เน้นสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนในเชิงบวก มีการบันทึกผลการพัฒนาเป็นรายบุคคล เพื่อนำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาครูเพื่อจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กอย่างทั่วถึง มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่ สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพ ภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผล การประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม พร้อมทั้งรายงานผลการประเมิน ตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดทราบอย่างต่อเนื่อง
จุดเด่น
1. โรงเรียนมีแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่มีความสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เหมาะสมกับวัยและศักยภาพของผู้เรียน ครูผู้สอนจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการแบบบูรณาการ 6 กิจกรรม มีการบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคลของนักเรียน เพื่อนำมาวางแผนการจัดประสบการณ์
2. ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้ลงมือทดลองทางวิทยาศาสตร์ ได้รับประสบการณ์ตรงจากการเรียนรู้นอกห้องเรียน
3. จัดบรรยากาศทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ได้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน มีพื้นที่แสดงผลงาน มีมุมประสบการณ์ที่หลากหลาย มีป้ายนิเทศให้ความรู้ มีสื่อการสอนเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐานเหมาะสมกับวัย มีสื่อและของเล่นที่ส่งเสริมการเรียนรู้
4. มีการประเมินพัฒนาการนักเรียนตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลายครบทุกด้าน นำผลการประเมินมาพัฒนาคุณภาพเด็กอย่างสม่ำเสมอ
จุดที่ควรพัฒนา
1. ครูต้องสร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข โดยการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ ไม่เน้นเพียงด้านใด ด้านหนึ่ง
2. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรม และจัดกิจกรรมที่มีความแปลกใหม่หลากหลาย ให้โอกาสในการเลือกแหล่งเรียนรู้ที่ตนเองสนใจ โดยพิจารณาจากความเหมาะสมในด้านความปลอดภัย ความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
3. การจัดบรรยากาศภายในและภายนอกห้องเรียนให้มีความสะอาดปลอดภัยอยู่เสมอ
4. ศึกษาวิธีการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่หลากหลาย เลือกใช้วิธีการประเมินที่เหมาะสมกับวัยและสมรรถนะของผู้เรียน นำผลการประเมินมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนในการจัดประสบการณ์ให้กับนักเรียน
2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี
กระบวนการพัฒนา
โรงเรียนบ้านควนพญาได้ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนในการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ โดยมีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และนำหลักสูตรไปใช้จัดการเรียนการสอนในห้องเรียน ด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับระดับชั้นและผู้เรียน โดยมีการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมอง แบบลงมือปฏิบัติจริง แบบร่วมมือกันเรียนรู้ แบบใช้กระบวนการคิด การใช้โครงงาน และเน้นเรื่องการอ่านออก เขียนได้ของผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และบรรลุโครงการในแผนปฏิบัติการประจำปี ได้แก่ โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 โครงการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน โครงการเหล่านี้มีกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมผู้เรียน ทั้งด้านการอ่าน การสื่อสาร การคิดคำนวณ คิดวิเคราะห์ ซึ่งประกอบไปด้วย กิจกรรมการเขียนเรื่องจากภาพ กิจกรรมรักการอ่าน และมีการจัดกิจกรรมหน้าเสาธงทุกวัน ให้นักเรียนนำเสนอคำศัพท์ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข่าว เพื่อฝึกความกล้าแสดงออกให้กับผู้เรียน จัดกิจกรรมในห้องเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน เช่น การสนทนาก่อนเริ่มเรียน ท่องบทอาขยาน ฝึกให้นักเรียนได้อ่านทุกวันทั้งอ่านเดี่ยว อ่านพร้อมกันและฝึกอ่านตามครู เขียนตามคำบอกของครูและฝึกเขียนคำในบทเรียน ฝึกสะกดคำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การอ่านคำพื้นฐาน แบบฝึกหัดคิดเลขเร็ว เกมคณิตศาสตร์ คณิตคิดในใจ มีกิจกรรมการรายงาน การนำเสนอผลงาน นอกจากนี้โรงเรียนบ้านควนพญาได้ดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ความรู้ ส่งเสริมทักษะพื้ันฐานและเจตคติที่ดีต่ออาชีพ ดำเนินโครงการโรงเรียนสีขาวเพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงโทษจากยาเสพติดและอบายมุขและป้องกันผู้เรียนไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและอบายมุข
จุดเด่น
1. ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด
2. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด
3. ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สามารถอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และร่วมกันแก้ปัญหาได้
4. ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสมปลอดภัย
5. นักเรียนมีความรู้ และทักษะพื้นฐานในด้านอาชีพซึ่งได้เรียนรู้จากฐานเศรษฐกิจพอเพียง
5. นักเรียนปลอดยาเสพติด 100%
5. นักเรียนมีความสามารถทางด้านกีฬาและดนตรีไทย
6. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ที่กำหนด
จุดที่ควรพัฒนา
1. ควรเพิ่มความเข้มข้นในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ในทุกระดับชั้น
2. ครูผู้สอนทำวิจัยเพื่อช่วยในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
3. พัฒนาการใช้สื่อ และใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ให้คุ้มค่าเกิดประสิทธิภาพให้ครบทุกระดับชั้น
4. พัฒนาการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้งการอ่านออกเสียงและอ่านรู้เรื่องให้เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเท่ียบกับปีก่อนหน้า 2 ปีการศึกษา
5. ยกระดับบผลการทดสอบ NT ทั้งด้านภาษาและด้านคำนวณให้เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเท่ียบกับปีก่อนหน้า 2 ปีการศึกษา
6. ยกระดับผลทดสอบ O-NET ใน 4 สาระวิชาให้เพิ่มสูงกว่าระดับประเทศเมื่อเท่ียบกับปีก่อนหน้า 2 ปีการศึกษา
1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา
โรงเรียนบ้านควนพญามีการใช้กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพเชิงระบบตามวงจรเดมมิ่ง โดยยึดหลักการของความร่วมมือจากทุกฝ่ายมีการประชุม ระดมความคิดเห็นจากบุคลากรทุกฝ่าย ทั้งในสถานศึกษาคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง นักเรียน และใช้ข้อมูลสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการร่วมกันวางแผนกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนครบทุกกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ เพื่อให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดำเนินการปรับภูมิทัศน์และแหล่งเรียนรู้เพื่อให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและปลอดภัย
จุดเด่น
โรงเรียนมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และหลักสูตรของสถานศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ตามมาตรฐานวิชาชีพ ส่งผลให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการกำหนดปฏิทินและลำดับขั้นตอนในการนิเทศ กำกับ ติดตาม ที่ชัดเจน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาทุกปีการศึกษา
จุดที่ควรพัฒนา
สถานศึกษาควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มีความเข้มแข็ง และขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาสถานศึกษาในหลาย ๆ ช่องทาง
1.3 มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา
โรงเรียนบ้านควนพญาจัดทำโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา มอบหมายให้ครูได้จัดทำหน่วยการเรียนรู้ แผนจัดการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนสำคัญเน้นการส่งเสริมให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง ดำเนินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนที่สอดคล้องกับข้อมูลผู้เรียนรายบุคคลที่นักเรียนและครูได้ร่วมกันจัดทำ จัดกิจกรรมซ่อมเสริมนักเรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีเข้ามาประกอบการสอน ช่วยกระตุ้นความสนใจของนักเรียนก่อให้เกิดห้องเรียนเชิงบวก ผู้เรียนรักที่จะเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ในการตรวจสอบวัดผลและประเมินผลความรู้ความเข้าใจ โรงเรียนมีการจัดทำระเบียบว่าด้วยการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้รายสาระระดับสถานศึกษา ระเบียบการวัดผลประเมินผลการอ่าน คิดวิเคราะห์และการเขียน การประเมินสมรรถนะ การประเมินคุณลักษณะพึงประสงค์ กำหนดให้มีการวัดประเมินผลปลายปี แบ่งสัดส่วนคะแนนตามความเหมาะสมของสาระการเรียนรู้ จัดทำแบบบันทึกคะแนนที่เหมาะสมกับสัดส่วนคะแนน กำหนดวิธีการประเมินผลให้สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ กิจกรรมการเรียนรู้ จัดหาเครื่องมือการประเมินผลที่สอดคล้องกับวิธีการประเมิน โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นการสอบ ประเมินสภาพจริง การประเมินผลงาน และกิจกรรมต่าง ๆ
จุดเด่น
1. ครูผู้สอนจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของสถานศึกษา
2. สถานศึกษามีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ทำให้เข้าใจนักเรียนได้ดียิ่งขึ้น
3. ครูผู้สอนจัดกิจกรรมให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
4. ครูผู้สอนจัดให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการจัดการเรียนรู้ รวมถึงการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
5. ครูผู้สอนจัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้โดยการใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อฝึกทักษะ การกล้าแสดงออก การนำเสนอผลงาน การแสดงความคิดเห็น ผ่านกระบวนการกลุ่ม
จุดที่ควรพัฒนา
1. ควรพัฒนากิจกรรมการสอน STEM ให้เป็นรูปธรรม เพื่อเสริมทักษะในการคิด และการแก้ปัญหาของผู้เรียนส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะในการคิดขั้นสูงต่อไป
2. ปรับปรุงพัฒนาห้องสมุดให้พร้อมใช้งานและครูผู้สอนควรสนับสนุนการค้นคว้าด้วยตนเอง และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ของนักเรียนโดยการให้นักเรียนเข้าใช้ห้องสมุดเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านของนักเรียน
|