[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self Assessment Report)
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านท่าปาบ
วันที่   24   พฤษภาคม   2564
เข้าชม : 263
Bookmark and Share


 

บทสรุปของผู้บริหาร

 

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

              โรงเรียนบ้านท่าปาบที่อยู่ เลขที่ ๘๗  หมู่ที่ ๑ ตำบลบ่อน้ำร้อน  อำเภอกันตัง  จังหวัดตรังรหัสไปรษณีย์ ๙๒๑๑๐  สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต ๒  เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๑  ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ผู้บริหารโรงเรียนบ้านท่าปาบ นางกานดา เหมือนพรรณรายเบอร์โทรศัพท์ ๐๘๐-๘๖๗๘๘๐๒  จำนวนครู ๑๒ คน  จำแนกเป็น ข้าราชการครู ๖ คน พนักงานราชการ - คน ครูอัตราจ้าง ๖ คน จำนวนนักเรียน  รวม ๑๐๕ คน  จำแนกเป็นระดับอนุบาล ๒๗ คน ระดับประถมศึกษา ๗๘  คน

 

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

๑.      ระดับการศึกษาปฐมวัย

๑.๑  มาตรฐานที่    คุณภาพของเด็ก   มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

๑.๒  มาตรฐานที่    กระบวนการบริหารและการจัดการ   มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

๑.๓  มาตรฐานที่   การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ   มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

 

โรงเรียนบ้านท่าปาบจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย มีนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๑-๓ รวม ๒๗ คน ครูผู้สอน ๑ คนครูอัตราจ้าง ๑ คน จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพของตนเอง (SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๓เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่นๆ ผลการประเมินตนเองในภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเลิศ มีผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้

เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้เด็กระดับปฐมวัย ๒๗ คน มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ จำนวน ๒๕ คนมีน้ำหนักส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์จำนวน ๒ คนมีกิจกรรมหนูน้อยวัยใสใส่ใจสุขภาพ เป็นโครงการที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้

คุณภาพเด็กด้านอารมณ์จิตใจควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้โรงเรียนบ้านท่าปาบได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กๆได้สนุกสนาน มีความสุขในการเรียนรู้กิจกรรม ร้องเล่นเต้น มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมตามวัย

คุณภาพเด็กด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านท่าปาบทุกคนช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน มีวินัยในตนเองรู้จักการประหยัดพอเพียง มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียน มีมารยาททางวัฒนธรรมไทย เช่น การไหว้การทักทาย กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยกิจกรรม ยิ้ม ไหว้ ทักทายกัน ส่งผลให้นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านท่าปาบ มีพัฒนาการด้านสังคมช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมได้อย่างเหมาะสม

คุณภาพเด็กด้านสติปัญญา สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ นักเรียนระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านท่าปาบทุกคน สนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัย และพยายามค้นหาคำตอบ เล่าเรื่องได้เหมาะสมกับวัย มีความสามารถในการคิดรวบยอด การคิดแก้ปัญหา และความสามารถตัดสินใจเรื่องง่ายได้นักเรียนมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสม

ด้านกระบวนการจัดการบริหารและการจัดการหลักสูตร โรงเรียนบ้านท่าปากมีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่น และสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา เป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อมเน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่น และการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองสอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัวชุมชนและท้องถิ่น จากโครงการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช ๒๕๖๒ ส่งผลให้โรงเรียนบ้านท่าปาบมีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยตามพุทธศักราช ๒๕๖๒

ด้านการจัดครูให้เพียงพอต่อชั้นเรียน โรงเรียนบ้านท่าปาบได้มีการจัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือมีครูประจำการที่จบการศึกษาปฐมวัย และมีครูอัตราจ้างที่ผ่านการอบรมทางด้านการดูแลเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านท่าปาบได้ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง จากกิจกรรมโรงเรียนจัดหาพี่เลี้ยงเด็กปฐมวัยส่งผล ให้โรงเรียนบ้านท่าปาบมีครูเพียงพอต่อชั้นเรียนในระดับหนึ่ง

ด้านส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยววชาญด้านการจัดประสบการณ์ โรงเรียนบ้านท่าปาบได้มีการพัฒนาคุณภาพครูด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยทุกคนล้วนมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรมทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครองจากโครงการพัฒนาบุคลากรกิจกรรม PLC  กิจกรรมการประชุมสัมมนา ประชุมเชิงปฏิบัติการส่งผลให้ ครูโรงเรียนบ้านท่าปาบมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์

จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและพอเพียง โรงเรียนบ้านท่าปาบมีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียนส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคล และรายกลุ่ม มีมุมประสบการณ์และสื่อ การเรียนรู้ที่หลากหลายที่ได้จากธรรมชาติหรือสื่อในชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการเรียนรู้ มีสื่อเทคโนโลยีใช้ในการสืบเสาะหาความรู้ จากกิจกรรมปรับปรุงสภาพแวดล้อมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ส่งผลให้โรงเรียนบ้านท่าปาบ มีการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อ เพื่อการเรียนรู้อย่างปลอดภัยและพอเพียง

การให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์โรงเรียนบ้านท่าปาบ มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ เพื่อพัฒนาครูอย่างพอเพียงและทั่วถึง

มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม โรงเรียนมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด ได้มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมพร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง จากโครงการส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ส่งผลให้โรงเรียนบ้านท่าปาบมีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีส่วนร่วมด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมพัฒนาการในทุกๆด้านให้เหมาะสมกับวัย

ด้านร่างกาย พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกายเด็กเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมตามจินตนาการ เพื่อให้ร่างกายทุกส่วนทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านอารมณ์จิตใจ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอยกล้าแสดงออกช่วยเหลือแบ่งปันมีความรับผิดชอบ

ด้านสังคม เด็กช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ มีวินัยในตนเอง เล่นร่วมกับผู้อื่นได้มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่

ด้านสติปัญญา เด็กมีความคิดร่วมยอด รู้จักการแก้ปัญหา สื่อสารและมีทักษะความคิดพื้นฐาน แสวงหาความรู้ได้อย่างเหมาะสมตามวัย ได้มีการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ

การสร้างโอกาสให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติอย่างมีความสุข โรงเรียนบ้านท่าปาบได้ ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรง จากการเรียนผ่านการเล่น โดยลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและการเรียนรู้รายกลุ่ม เพื่อก่อให้เกิดความมีน้ำใจ ความสามัคคี การแบ่งปัน และการรอคอย เพื่อส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข ได้มีการจัดประสบการณ์ที่สร้างโอกาสให้เด็กได้ ประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข

จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย โรงเรียนบ้านท่าปาบได้จัด บรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ มีความเอื้อเผื่อเพื่อแต่ต่อกันและกัน ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการ อยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่เด็กนักเรียน นอกจากนี้โรงเรียนบ้านท่าปาบมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส กว้างขวางพอเหมาะ มีมุมส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ มีการตกแต่งห้องเรียนให้สดใส และมีสื่อการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน จากโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับปฐมวัย กิจกรรมเปิดบ้านอนุบาล ส่งผลให้โรงเรียนบ้านท่าปาบได้มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย

ด้านการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการ จัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก โรงเรียนบ้านท่าปาบมีกระบวนการ การประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดกิจวัตรประจำวัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การสอบถาม การสำรวจ และการวิเคราะห์ผลพัฒนาการของเด็ก โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม เพื่อได้นำผลการประเมินไปพัฒนาศักยภาพของเด็กและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียน จากโครงการส่งเสริมศักยภาพทักษะพื้นฐานผู้เรียนระดับปฐมวัย กิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิชาการ ส่งผลให้โรงเรียนบ้านท่าปาบ ได้มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง และนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไป ปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

 

๒.   ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๒.๑  มาตรฐานที่    คุณภาพของผู้เรียน  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

๒.๒  มาตรฐานที่  ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

๒.๓  มาตรฐานที่    กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 

                           มีผลการประเมิน อยู่ในระดับ ดีเลิศ

 

ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

โรงเรียนบ้านท่าปาบจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๗๘ คน ครูผู้สอน ๑๒ คน จัดทำรายงานการประเมินคุณณภาพของตนเอง (SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๓ เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่น ๆ ผลการประเมินตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับ ดีเลิศ มีผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้

โรงเรียนบ้านท่าปาบกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน ๒ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ๒) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ สำหรับด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และมีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทยการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

ประเด็นภาพความสำเร็จด้านคุณภาพผู้เรียนสถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียนโดยใช้ข้อมูลฐาน ๓ ปีย้อนหลังเป็นเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้ พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ จัดแหล่งเรียนรู้ภายในให้เหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมี สุขภาพกาย สุขภาพจิตดี มีความกล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข เน้นทักษะการทำงานร่วมกัน ทำให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิด คำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้น ดังนั้นโรงเรียนบ้านท่าปาบจึงกำหนดมาตรฐาน การศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน ๒ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ๒) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความสามารถใน การวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ สำหรับด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ ผู้เรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และมีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทยการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย โดยมีประเด็นภาพความสำเร็จด้านคุณภาพผู้เรียน ดังนี้ นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้น มีความสามารถในการคิดจำแนก แยกแยะ ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล มีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด โครงการ โครงงาน ชิ้นงาน ผลผลิตความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง และสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน อย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรมมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานเดิมในด้านความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ กระบวนการต่าง ๆ รวมทั้งมีความก้าวหน้าในผลการทดสอบระดับชาติ หรือผลการทดสอบอื่น ๆ มีความรู้ ทักษะพื้นฐานในการจัดการ เจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น การทำงานหรืองานอาชีพมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและจิตสำนึกตามที่สถานศึกษากำหนดโดยไม่ขัดกับกฎหมาย และวัฒนธรรมอันดีของสังคมมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ วัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญา ผู้เรียนยอมรับการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ภาษาวัฒนธรรม ประเพณี มีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม แสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัยสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข เข้าใจผู้อื่นไม่มีความขัดแย้งกับผู้อื่น

ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการเพื่อให้บรรลุตามกระบวนการบริหารและการจัดการ คุณภาพของสถานศึกษาในโรงเรียน การดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยใช้ข้อมูลฐานในการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจน ในดำเนินการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน ตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกกลุ่มเป้าหมายเชื่อมโยงกับชีวิตจริง จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา ดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพ ตามความต้องการของครูและสถานศึกษา จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน โดยประเมินภาพความสำเร็จดังนี้ โรงเรียนมีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่โรงเรียนกำหนดชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและของต้นสังกัด รวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมมีระบบการบริหารจัดการคุณภาพอย่างเป็นระบบ วางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโดยนำแผนไปปฏิบัติ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และปรับปรุง พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลังทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการนิเทศภายใน นำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนา บุคลากร และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนในการวางแผน ปรับปรุง พัฒนาและร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษามีการบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ พัฒนาหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพ ผู้เรียนรอบด้าน เชื่อมโยงวิถีชีวิตจริงและครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรตรงตามความต้องการและจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ ของผู้เรียนจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อ ต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ มีความปลอดภัยจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สนับสนุน การบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน จัดหา พัฒนาและบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดให้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม

ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงานโครงการ กิจกรรมอย่างหลากหลาย มุ่งส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning) ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ การบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูลมาร่วมพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และสอนตามแผน ครูผลิตนวัตกรรม แผนการจัดการเรียนรู้ อีกทั้งปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้สนับสนุนให้ครูจัดการเรียน

การสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียน การสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่าง ๆทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้ครูทุกคนทำงานวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษาละ ๒ เรื่อง โดยมีประเด็นภาพความสำเร็จด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดกิจกรรมสำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ ได้แสดงความคิดเห็น ได้แสดงออกเป็นผู้สามารถสรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ครูใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ นักเรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับครู ครูกับเด็ก เด็กกับเด็ก เด็กรักการเรียนรู้ และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ครูร่วมกันออกแบบการวัดผลประเมินผลเพื่อตรวจสอบ และประเมินผู้เรียนอย่างมีขั้นตอน ใช้เครื่องมือวิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสม พร้อมทั้งนำผลไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูผู้สอนร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ (PLC)



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     ขายทอดตลาดครุภัณฑ์ยานพาหนะชำรุดและไม่จำเป็นไว้ใช้ในราชการต่อไป 6 ส.ค. 2564
     การเผยแพ่รการประเมินตนเองของสถานศึกษา 29 มิ.ย. 2564
     การเผยแพ่การประเมินตนเองของสถานศึกษา 29 มิ.ย. 2564
     การเผยแพร่การประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report:SAR) ปีการศึกษา 2563 16 มิ.ย. 2564
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านนำ้ฉา 9 มิ.ย. 2564


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.