บทสรุปของผู้บริหาร
ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านหนองหมอ ที่อยู่ เลขที่ 83 หมู่ 1 ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 92210
ผู้บริหารโรงเรียน นายดนัยนันท์ ขุนสาเร๊ะ เบอร์โทรศัพท์ 082-8153880
จำนวนครู 14 คน จำแนกเป็น ข้าราชการครู 11 คน ครูอัตราจ้าง 3 คน
จำนวนนักเรียน รวม 143 คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล 31 คน ระดับประถมศึกษา 76 คน
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 36 คน
ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
1. ระดับการศึกษาปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
เด็กมีพัฒนการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา บรรลุตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรและมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเสริมในการพัฒนาเด็กอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี
สถานศึกษามีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีครูที่จบการศึกษาปฐมวัย มีการส่งเสริมให้ครูได้เข้ารับการพัฒนาให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดประสบการณ์ที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็กเป็นรายบุคคล จัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย มีสื่อเพื่อการเรียนรู้ ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพตามมารตฐานของสถานศึกษา
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
ครูจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างสมดุล เต็มศักยภาพของเด็กเป็นรายบุคคล สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้ลงมือทำและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ครูประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริง
แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น
สถานศึกษามีแนวทางในการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น โดยมุ่งจัดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล เน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุข สนุก รู้สึกท้าทาย คิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต
2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายที่เป็นไปตามปัญหาและความต้องการพัฒนาตามสภาพของผู้เรียน สอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพของชุมชนท้องถิ่น จนมีผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอยู่ในระดับ ดี พัฒนาการของค่าเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติสูงขึ้น ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านและเขียน การสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความสามารถในการคิดคำนวณ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ดี และมีความประพฤติด้านคุณธรรมจริยธรรมค่านิยมและคุณลักษณะตามที่สถานศึกษากำหนดปรากฏอย่างชัดเจน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
สถานศึกษาจัดระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา มีการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์และ พันธกิจ สามารถดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาในทุกกลุ่มเป้าหมาย จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรให้มี ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ สถานศึกษามีการวางแผน ออกแบบกิจกรรมและดำเนินงานตามแผนที่เกิดจากการมีส่วนร่วม ใช้ผลการประเมินและการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นฐานในการพัฒนา และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนา ตรวจสอบผลการดำเนินงาน และการปรับปรุงแก้ไขงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการวิเคราะห์ ออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามความต้องการของหลักสูตร และบริบทสถานศึกษา พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ใช้สื่อการเรียนรู้ ติดตามตรวจสอบและช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหารายบุคคล และการประเมินผลจากสภาพจริงในทุกขั้นตอน สถานศึกษาดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นขั้นตอน จนเกิดคุณภาพและประสิทธิผลจนมีผลประเมินอยู่ในระดับ ดี โดยสถานศึกษาให้ความสำคัญกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อเกิดความร่วมมือในการวางระบบและดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นอย่างดี
แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น
1. พัฒนาความรู้ของครูทางด้านการจัดกระบวนการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ดำเนินโครงการศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม
2. การส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
3. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล เน้นการนำเสนอ อภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมเหตุสมผล และพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา
4. พัฒนาการสร้างข้อสอบให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตามแนวทางของการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ (O-NET, NT) และ RT
5. สถานศึกษามีการประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษาโดยเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการประเมิน และนำผลการประเมินมาปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทและนโยบายด้านการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
6. การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของชุมชน สร้างเครือข่ายความร่วมมือในรูปแบบกระบวนการ PLC ในการจัดการศึกษาให้มีความเข้มแข็ง
7. การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสำหรับครูและนักเรียนให้มีโอกาสเข้าถึงสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอกับความต้องการ
8. พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วมโดยใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการให้เป็นรูปธรรม
สรุปผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ
นายดนัยนันท์ ขุนสาเร๊ะ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองหมอ
|