บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
โรงเรียนบ้านพระม่วง ตั้งอยู่ เลขที่ ๖๐/๑ หมู่ ๔ ตำบลนาเกลือ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต ๒ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เปิดจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียนจำนวน ๑๐๙ คน มีบุคลากรจำนวน ๙ คน ประกอบด้วย ข้าราชการครู ๕ คน ครูอัตราจ้างของโรงเรียน ๒ คน เจ้าหน้าที่ธุรการ ๑ คน และพนักงานบริการ ๑ คน
ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
๑. ระดับการศึกษาปฐมวัย
๑.๑ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
๑.๒ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
๑.๓ มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย
โรงเรียนบ้านพระม่วง จัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย มีนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๑ - ๓ รวม ๓๕ คน ครูผู้สอน ๒ คน จัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา ๒๕๖๓ เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่นๆ ผลการประเมินตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับ ดีเลิศ มีผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ เด็กระดับปฐมวัย ๓๕ คน มีผลการประเมินพัฒนาการในระดับดีขึ้นไป เป็นดังนี้ ด้านร่างกาย ร้อยละ ๑๐๐ ด้านอารมณ์จิตใจ ร้อยละ ๑๐๐ ด้านสังคม ร้อยละ ๑๐๐ ด้านสติปัญญา ร้อยละ ๑๐๐ ซึ่งบรรลุตามเป้าหมายที่โรงเรียนได้กำหนดไว้
มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ โรงเรียนบ้านบ้านพระม่วง มีหลักสูตรปฐมวัยที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา เป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อม เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น โดยมีการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน ทั้งนี้ ทางโรงเรียนได้มีการประเมินและทำการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ เพื่อเป็นการตรวจสอบผลการนำหลักสูตรไปใช้
มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โรงเรียนบ้านบ้านพระม่วง ได้มีการจัดครูที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยได้ส่งบุคคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ครูด้านการศึกษาปฐมวัยมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถาน ศึกษาปฐมวัย มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลมีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดกิจกรรม ทักษะการสังเกต และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง
๒. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๒.๑ มาตรฐานที่ ๑ ด้านคุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
๒.๒ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
๒.๓ มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ใน

|