[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านไสมะม่วง
วันที่   21   พฤษภาคม   2564
เข้าชม : 233
Bookmark and Share


 บทสรุปของผู้บริหาร

 

โรงเรียนบ้านไสมะม่วง ที่อยู่ 181 หมู่ที่ 3 ตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 92130                ผู้บริหารโรงเรียน นายศุภโชค  สินกั้ง เบอร์โทรศัพท์ 089-4722605 เปิดสอนชั้นปฐมวัย ถึงชั้นประถมศึกษา  ปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2563 มี จำนวนครูและบุคลากร จำนวน 11 คนจำแนกเป็น ข้าราชการครู 8 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 2 คน  ครูธุรการ 1 คน นักการภารโรง 1 คน จำนวนนักเรียนรวม                 123 คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล 26 คน ระดับประถมศึกษา 99  คน เป็นสถานศึกษาที่ใช้กลักการบริหารโดยการมีส่วนร่วม แบ่งงานเป็น 4 กล่มงาน ในภาพรวม มีโครงสร้างการบริหารที่เป็นระบบ บุคลากรเข้มแข็ง ร่วมกันพัฒนาโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ อีกทั้งได้รับความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของ                         คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน ในการพัฒนาการศึกษา ดังผลการประเมินคุณภาพมาตรฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ดังนี้

ระดับการศึกษาปฐมวัย

มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

จุดเด่น

          เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย สมบูรณ์ แข็งแรง  เติบโตตามวัย มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัยที่เหมาะสม มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ อารมณ์ร่าเริง แจ่มใส สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ นักเรียนรู้จักช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน

 

จุดที่ควรพัฒนา

          ควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการคิด การสังเกตและการมีเหตุผลโดยเน้นการจัดกิจกรรมที่สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการป้องกันการทุจริตให้เหมาะสมกับวัย

 

มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

          จุดเด่น

          มีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และบริบทของท้องถิ่น               มีระบบการบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาโดยการเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมเพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา   ครูมีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ                     ด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็ก โรงเรียนเข้าร่วมโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย                    ในพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ” โรงเรียนคุณภาพมาตรฐานกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

          จุดที่ควรพัฒนา

          ควรจัดให้มีสื่อ เครื่องเล่น เพื่อสนับสนุนัฒนาการเด็ก

 

 

 

มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

จุดเด่น  

          เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติกิจกรรมเรียนรู้ลงมือทำและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านตามวัย บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย

จุดที่ควรพัฒนา

ควรมีสื่อ วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการทดลองวิทยาศาสตร์อย่างเพียงพอ   ส่งเสริมสนับสนันการจัดหาสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และควรมีสื่อสำหรับเด็กมุด ลอด ปีนป่ายเพื่อการสืบเสาะหาความรู้ และพัฒนาการทางด้านร่างกายที่สมบูรณ์

 

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

จุดเด่น

โรงเรียนบ้านไสมะม่วง มีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและวิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล โดยยึดความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งจากสาพแวดล้อม  ความเป็นอยู่ของครอบครัว                         ความแตกต่างของระดับการเรียนรู้ของผู้เรียน  มีการกำหนดเป้าหมายทางการเรียน มีกิจกรรมและโครงการที่หลากหลายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น  มีความรู้ ความสามารถ                   ตามสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นไปตามเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด                     จัดกิจกรรม/โครงการส่งเสริมด้านการจัดการเรียนรู้โดยเน้นการปฏิบัติ  ทักษะการอ่าน  การเขียน                          การคิดคำนวณ   บูรณาการความรู้ระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้และบริบทของชุมชน ส่งเสริมให้เกิดทักษะ               การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  นักเรียนมีทักษะในการทำงานสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีเจตคติที่ดี                ต่ออาชีพสุจริต  กล้าแสดงออก รักการออกกำลังกาย รู้จักการยอมรับในกฎกติกาของกลุ่ม                              ของสถานศึกษา ของสังคม

จุดที่ควรพัฒนา

การส่งเสริมทักษะการสื่อสารทางภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์  การแสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดยใช้วิธีที่หลากหลาย ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน และการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมผู้เรียนสู่ความยั่งยืน

 

 

 

 

 

 

 มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม

จุดเด่น

โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการที่เป็นระบบ มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่กำหนดไว้ชัดเจน                มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน วัตถุประสงค์ของแผน                    การจัดการศึกษาชาติ นโยบายของรัฐบาล และต้นสังกัดทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม พัฒนางานด้านวิชาการ เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน ตามหลักสูตรสถานศึกษาและส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญตรงตามความต้องการ ให้เป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ   สร้างเครือข่ายความร่วมมือ                ของผู้ปกครองนักเรียนแต่ละชั้นในการจัดการศึกษาของโรงเรียน มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ  มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน และการจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา                             คุณภาพสถานศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

1. พัฒนาเครือข่ายผู้ปกครองให้มีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง

2. จัดให้มีอาคารและห้องปฏิบัติการที่เพียงพอเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้

 

มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

จุดเด่น

ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน ครูรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีการอุทิศเวลาในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้ เน้นจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการคิด การปฏิบัติจริง                  สอนตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตร  มีการใช้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูแต่ละสาระในการพัฒนาการเรียนการสอน มีผลงานวิจัยในชั้นเรียนที่เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาและคุณภาพของผู้เรียน

จุดที่ควรพัฒนา

1. ควรส่งเสริมผู้เรียนด้านการคิดวิเคราะห์ คิดเป็น ทำเป็น การปฏิบัติจริง ใฝ่เรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง ดำเนินการในด้านต่างๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของสถานศึกษาให้ยั่งยืน

2. สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษ และภาษาในอาเซียน สนับสนุนครูและ นักเรียนเรียนรู้  มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

3. การส่งเสริมให้นักเรียนใช้สื่อการเรียนรู้อย่างหลากหลาย

4. ควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

5.ครูควรพัฒนาตนเองในการนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

6. ควรวัดและประเมินผลผู้เรียนด้วยวิธีที่เหมาะสมกับสภาพผู้เรียน ประเมินผลตามสภาพจริงและหลากหลากหลาย และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนและผู้ปกครองทันทีเพื่อการพัฒนาตนเอง

 

          สรุปผลการประเมินในภาพรวม  อยู่ในระดับคุณภาพ  ยอดเยี่ยม



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     ขายทอดตลาดครุภัณฑ์ยานพาหนะชำรุดและไม่จำเป็นไว้ใช้ในราชการต่อไป 6 ส.ค. 2564
     การเผยแพ่รการประเมินตนเองของสถานศึกษา 29 มิ.ย. 2564
     การเผยแพ่การประเมินตนเองของสถานศึกษา 29 มิ.ย. 2564
     การเผยแพร่การประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report:SAR) ปีการศึกษา 2563 16 มิ.ย. 2564
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านนำ้ฉา 9 มิ.ย. 2564


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.