[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : การเผยแพร่รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (Seft- Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2563
ผู้เขียน : โรงเรียนวัดทุ่งใหญ่
วันที่   19   พฤษภาคม   2564
เข้าชม : 159
Bookmark and Share


 

บทสรุปของผู้บริหาร

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

              ชื่อโรงเรียนวัดทุ่งใหญ่ ที่อยู่ 222/2 หมู่ 3 ตำบลท่าสะบ้า อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง  สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2  โทรศัพท์ 075 296929  โทรสาร 075296929 เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล 2 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที 3 จำนวนบุคลากรทั้งหมด 11 คน ผู้บริหาร 1 คน ข้าราชการครู 6 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน เจ้าหน้าที่อื่น ๆ 2 คน ปัจจุบันมีนักเรียนจำนวน    75   คน  

                             นักเรียนชั้นอนุบาล                  จำนวน    11       คน

                                                ชาย               จำนวน      7    คน

                                                หญิง              จำนวน      4     คน

                             นักเรียนชั้นประถมศึกษา            จำนวน    46    คน

                                                ชาย               จำนวน     23   คน

                                                หญิง              จำนวน     23   คน

                             นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา            จำนวน   18    คน

                                                ชาย               จำนวน      8    คน

                                                หญิง              จำนวน     10   คน

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1.      ระดับการศึกษาปฐมวัย

1.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก                             มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี

1.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ         มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี

1.3   มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

              1) พัฒนาเด็กที่มีน้ำหนัก ส่วนสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยสถานศึกษานำผลจากแบบสรุปน้ำหนักส่วนสูงของเด็กรายบุคคลมาดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนา เด็กให้มีน้ำหนัก ส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์เพิ่มมากขึ้น สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมในด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ให้กับเด็กอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กได้มีประสบการณ์ที่หลากหลายเหมาะสมตามวัย ควรส่งเสริมด้านการสื่อสารในภาษาอังกฤษให้เหมาะสมและเป็นไปตามวัยและจัดให้มีสนามเด็กเล่นเพื่อพัฒนาเด็กทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

                2) จัดครูให้เพียงพอต่อชั้นเรียน ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ ควรจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และพอเพียง เช่น สนามเด็กเล่น รวมถึงมีการกำหนดแผนการพัฒนาครูอย่างชัดเจน

ส่งเสริมบุคลากรให้พัฒนาสื่อ นวัตกรรมของตนเองให้หลากหลายชัดเจนเพิ่มมากขึ้น

               3) ครูควรได้รับการพัฒนาทักษะที่มุ่งเน้นเด็กเป็นสำคัญ เพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กให้เป็นบุคคล แห่งการเรียนรู้   ในศตวรรษที่ 21

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน                      มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

1.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ    มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

1.3  มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ    

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น

พัฒนาการจัดกิจกรรมฝึกทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารณญาณ และมีความคิดสร้างสรรค์ ไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ  ของโลก ฝึกผู้เรียนให้เป็นผู้คิดค้นและประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ๆ   ผ่านกิจกรรม STEM ฝึกทักษะในการพูดอ่านเขียน เพื่อการสื่อสาร โดยเฉพาะภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น โดยการสร้างแหล่งเรียนรู้ให้เหมือนสถานการณ์จริง เช่น STEM Zone ส่งเสริมให้นักเรียน รู้จักสืบค้นและเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้องและเหมาะสม เหมาะกับช่วงวัยของผู้เรียน ครูวางแผนและใช้กระบวนการในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง ด้วยวิธีการที่หลากหลายและทันสมัย เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ ความต้องการและเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมไปถึงบริบทของสถานศึกษา  ส่งเสริมให้มีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่งเสริมมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการ PLC พัฒนาการใช้ ไอซีที มีการวางแผนให้ นักเรียนทุกระดับชั้นได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบและทั่วถึง สำรวจแหล่งเรียนรู้ในชุมชมเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มที่ เพื่อส่งเสริมในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพในอนาคต และจัดเก็บข้อมูลผู้เรียนอย่างเป็นระบบเพื่อสะดวกในการจัดการเรียนการสอน เช่น โปรแกรมระบบช่วยเหลือนักเรียน มีการเชื่อมโยงและแลก เปลี่ยนความรู้ภูมิปัญญาในชุมชนมากขึ้น โดยการใช้วิทยากรท้องถิ่น มีการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบและรวดเร็วยิ่งขึ้นเพื่อสามารถตรวจสอบและประเมินผลได้อย่างรวดเร็ว ประเมินผลการดำเนินงานโดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย ทั้งการทดสอบความรู้ ความเข้าใจ การสัมภาษณ์   และการสังเกตพฤติกรรมบุคลากรครูและผู้เรียนเพื่อให้ได้ผลการประเมินที่ตรงกับเป้าหมาย



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     ขายทอดตลาดครุภัณฑ์ยานพาหนะชำรุดและไม่จำเป็นไว้ใช้ในราชการต่อไป 6 ส.ค. 2564
     การเผยแพ่รการประเมินตนเองของสถานศึกษา 29 มิ.ย. 2564
     การเผยแพ่การประเมินตนเองของสถานศึกษา 29 มิ.ย. 2564
     การเผยแพร่การประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report:SAR) ปีการศึกษา 2563 16 มิ.ย. 2564
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านนำ้ฉา 9 มิ.ย. 2564


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.