บทสรุปผู้บริหาร
ชื่อโรงเรียน บ้านช่องหาร ที่อยู่: เลขที่ ๒๐๒ หมู่ที่ ๓ ตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ ๙๐๒๒๒
ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นางนุชนาฎ ภักดีชน เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๗-๖๒๗๗๗๕๐
จำนวนครู ๙ คน จำแนกเป็น ข้าราชการ ๖ คน พนักงานราชการ ๑ คน ครูอัตราจ้าง ๒ คน
จำนวนนักเรียน รวม ๑๑๑ คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล ๒๘ คน ระดับประถมศึกษา ๘๓ คน
ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
๑. ระดับการศึกษาปฐมวัย
๑.๑ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก
มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
จุดเด่น
เด็กมีน้ำหนัก-ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขมีร่างกายสมส่วนเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว มีสุขภาพแข็งแรง มีพัฒนาการด้านอารมณ์- จิตใจดี เรียนรู้อย่างมีความสุข สุขภาพจิตดี มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น ร่วมกิจกรรมด้วยความสุข ด้านสังคม มีวินัย มีความรับผิดชอบ รู้จักช่วยเหลือ ประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทยได้เหมาะสมกับวัย มีทักษะทางด้านภาษา สามารถพูดคุย โต้ตอบสื่อสารได้
จุดที่ควรพัฒนา
เด็กบางส่วนยังต้องได้รับการดูแลด้านสุขภาวะส่วนตัวที่ดี เพื่อปลูกฝังให้เด็กรู้จักดูแลอนามัย ของตนเองได้ดีขึ้น เช่น ความสะอาดของเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เป็นต้น ด้านวินัย เช่น การเก็บของเข้าที่ให้ เป็นระเบียบ เรียบร้อย พัฒนาให้เด็กมีความซื่อสัตย์ ต่อตนเองและผู้อื่น พัฒนาทักษะด้านกระบวนการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการคิดหาเหตุผล
๑.๒ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ
จุดเด่น
โรงเรียนมีระบบการบริหารและการจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย มี หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ๒๕๖๑ ที่มีครู พ่อ แม่ ผู้ปกครองและชุมชน มีส่วนร่วม เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
จุดที่ควรพัฒนา
สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาปฐมวัย เข้ามามีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาปฐมวัย
๑.๓ มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ
จุดเด่น
โรงเรียนมีครูผู้สอน ที่มีวุฒิ/ความรู้และประสบการณ์ด้านการดูแลเด็กปฐมวัย มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ เข้าใจในพฤติกรรมและธรรมชาติของเด็ก ห้องเรียนมีพื้นที่เพียงพอในการจัดกิจกรรม มีบรรยากาศเอื้อต่อ การเรียนรู้ เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข
จุดที่ควรพัฒนา
ครูควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้ามาจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่เด็กอย่างหลากหลาย
แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น
๑. โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
๒. โครงการพัฒนาการศึกษาปฐมวัย
๓. โครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
๔. โครงการกิจกรรมวันสำคัญ
๕. โครงการพัฒนาบุคลากร
๖. โครงการสัมพันธ์ชุมชน
๒. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๑.๑ มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน
มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ
จุดเด่น
ผู้เรียนอ่านหนังสือออกและอ่านคล่อง รวมทั้งสามารถเขียนเพื่อการสื่อสารได้ทุกคน สามารถ ใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ ผู้เรียนมี ความรับผิดชอบในโครงการโรงเรียนปลอดขยะ กิจกรรมกลุ่มทำความสะอาดตอนเช้า ทำให้สิ่งแวดล้อม ในบริเวณโรงเรียนสะอาด ร่มรื่น เป็นที่ยอมรับของขุมซนและสังคม
จุดที่ควรพัฒนา
- ผู้เรียนในระดับขั้น ป.๑ - ป.๖ ยังต้องเร่งพัฒนาด้านการสรุปความคิด การใช้ภาษาในการนำเสนอ การอภิปราย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมเหตุสมผล และต้องพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ ได้อย่างเหมาะสม
- การจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการยกผลสัมฤทธิ์ ยังขาดการปฏิบัติที่ต่อเนื่อง และจริงจัง การยกระดับผลสัมฤทธิ์แต่ละกลุ่มสาระประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง นักเรียนส่วนใหญ่ยังต้องได้รับการพัฒนาต่อไป
๑.๒ มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ
มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ
จุดเด่น
โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ โรงเรียนได้ใช้เทคนิคการ ประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุม กลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมใน การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ซัดเจน มีการ ปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ที่สอดคล้องกับผล การจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงาน และ จัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา
จุดที่ควรพัฒนา
๑. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน
๒. สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพ การจัดการศึกษา
๓. โรงเรียนควรจัดให้มีห้องปฏิบัติการที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้ มีการนิเทศ ติดตามที่ชัดเจน
๑.๓ มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ
จุดเด่น
ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ โดย การคิดได้ปฏิบัติจริง มีการให้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
จุดที่ควรพัฒนา
ควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ และ การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีเพื่อนักเรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง
แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น
๑. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ชัดเจนขึ้น
๒. การส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
๓. การพัฒนาบุคลากรโดยส่งเข้ารับการอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย ติดตามผล การนำไปใช้ และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
|