[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : การเผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR)
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านห้วยน้ำเย็น
วันที่   17   พฤษภาคม   2564
เข้าชม : 204
Bookmark and Share


 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
 
โรงเรียนบ้านห้วยน้ำเย็น  ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 ตำบลหนองช้างแล่น อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 โทร.089 – 8755521  e - mail : hnyschool@hotmail.com  เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชื่อผู้บริหารโรงเรียน   นายกรศิวัชร์   อินทร์ทอง  เบอร์โทรศัพท์   089 - 8755521  จำนวนครู 7 คน  จำแนกเป็นข้าราชการครูจำนวน  4 คน  พนักงานราชการ จำนวน 1 คน ครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน จำนวน 1 คน ครูอัตราจ้าง   จำนวน  1 คน จำนวนนักเรียน รวมทั้งสิ้น  61 คน จำแนกเป็นระดับชั้นอนุบาล จำนวน  17 คน และระดับชั้นประถมศึกษาจำนวน  44 คน  
 
ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
1. ระดับการศึกษาปฐมวัย สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา ระดับ ดีเลิศ
1.1 มาตรฐานที่ 1   คุณภาพของเด็ก               มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
1.2 มาตรฐานที่ 2   กระบวนการบริหารและจัดการ       มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
1.3 มาตรฐานที่ 3   การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
 
กระบวนการพัฒนา
โรงเรียนได้มีการพัฒนานักเรียนระดับชั้นปฐมวัย โดยการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ปฏิบัติกิจกรรม 6 กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมเกมการศึกษา ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการด้านร่างกาย การมีร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ พัฒนาการด้านอารมณ์  มีอารมณ์ที่ร่าเริง แจ่มใส สนุกสนาน มีจิตใจดีงาม สามารถควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ ปลูกฝังให้เด็กมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง มีความอดทน มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก มีการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปะ ดนตรี ให้นักเรียนได้วาดภาพ ระบายสีต่างๆ พัฒนาการด้านสังคม สามารถช่วยเหลือตนเอง เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และพัฒนาการด้านสติปัญญา รู้จักคิด ช่างสังเกต เรียนรู้ได้เหมาะสมตามวัย
 
ผลการพัฒนา
เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านเหมาะสมตามวัย มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สะอาดเรียบร้อย สวยงาม มีสื่อการเรียนรู้เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ มีการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย ส่งผลให้กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมายมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยที่กำหนดไว้
 
จุดเด่น
เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง เติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัยที่เหมาะสม  มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ อารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน ร่วมกิจกรรมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีพัฒนาการด้านสติปัญญาดี รู้จักคิด ช่างสังเกต เรียนรู้ได้เหมาะสมตามวัย ครูตรงวิชาเอก
 
จุดที่ควรพัฒนา
เด็กยังขาดกระบวนการคิดรวบยอด มีสื่อเทคโนโลยีชำรุด ไม่พร้อมต่อการใช้งาน และผู้ปกครองบางส่วนยังขาดความเข้าใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของระดับชั้นอนุบาลตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
 
แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
การส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนระดับปฐมวัยในทุกๆด้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ส่งเสริมสมรรถภาพและสุนทรียภาพผู้เรียน มีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน พัฒนาเครื่องเล่นสนาม พัฒนาบรรยากาศ จัดหางบประมาณเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้และจัดหาสื่อการสอนที่ทันสมัยและเพียงพอต่อจำนวนนักเรียน พัฒนาห้องเรียนตามเกณฑ์ห้องเรียนคุณภาพระดับปฐมวัย 
 
ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สรุปผลการประเมินในภาพรวมของสถานศึกษา ระดับ ดีเลิศ
1.1 มาตรฐานที่ 1   คุณภาพของผู้เรียน       มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
1.2 มาตรฐานที่ 2   กระบวนการบริหารและการจัดการ       มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
1.3 มาตรฐานที่ 3   กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  
                                                                              มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี
กระบวนการพัฒนา
โรงเรียนได้มีการพัฒนานักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โดยผู้เรียนมีความพร้อมและมีทักษะจำเป็นในการเรียนรู้ สามารถอ่าน เขียน สื่อสาร และคิดคำนวณได้ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดในแต่ละระดับชั้น สามารถคิดวิเคราะห์ และพิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาได้ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา มีความรู้ มีทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีพร้อมต่อการศึกษา มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
สถานศึกษามีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านห้วยน้ำเย็น ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลายเพื่อให้นักเรียนได้บรรลุตัวชี้วัดตามที่หลักสูตรสถานศึกษากำหนด และมุ่งเน้นนักเรียนเป็นรายบุคคล สอนซ่อมเสริมอย่างจริงจังต่อเนื่องและเป็นระบบให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง ประเมินผลตามสภาพจริง ครูผู้สอนได้รับการพัฒนาตนเองตามมาตรฐานวิชาชีพทุกคน สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพและผู้เรียนมีสามารถบรรลุผลการเรียนรู้ตามเป้าหมาย สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เหมาะสมตามวัย
 
ผลการพัฒนา
นักเรียนผ่านการประเมินตามตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนของนักเรียน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พัฒนาบรรลุตามเป้าหมายมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด นักเรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พัฒนาสิ่งแวดล้อมน้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต มีสุขภาวะทางด้านร่างกายและจิตใจที่ดีงาม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
 
 
จุดเด่น
สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา  ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล  ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มีการใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ
 
จุดที่ควรพัฒนา
ครูควรมีการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนให้สูงขึ้นและนำแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการพัฒนาผู้เรียน
 
แนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
การส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นในทุกรายวิชา และมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning และส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์อย่างหลากหลาย และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้มีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา และการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 
 
   กรศิวัชร์  อินทร์ทอง
(นายกรศิวัชร์  อินทร์ทอง)
   ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยน้ำเย็น
 


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     ขายทอดตลาดครุภัณฑ์ยานพาหนะชำรุดและไม่จำเป็นไว้ใช้ในราชการต่อไป 6 ส.ค. 2564
     การเผยแพ่รการประเมินตนเองของสถานศึกษา 29 มิ.ย. 2564
     การเผยแพ่การประเมินตนเองของสถานศึกษา 29 มิ.ย. 2564
     การเผยแพร่การประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report:SAR) ปีการศึกษา 2563 16 มิ.ย. 2564
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านนำ้ฉา 9 มิ.ย. 2564


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.