บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
ชื่อโรงเรียนบ้านเกาะลิบง ที่อยู่ 78 หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นายอยุทธา ศรีจันทร์งาม เบอร์โทรศัพท์ 062-2430754
จำนวนบุคลากร จำแนกเป็น ผู้บริหาร 1 คน ข้าราชการครู 9 คน เจ้าหน้าที่อื่นๆ 2 คน
จำนวนนักเรียน รวม 128 คน จำแนกเป็นระดับอนุบาล 42 คน ระดับประถมศึกษา 86 คน
ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
1. ระดับการศึกษาปฐมวัย
1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
1.3 มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย
โรงเรียนบ้านเกาะลิบงจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย มีนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 รวม 42 คน ครูผู้สอน 3 คน จัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2563 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่นๆ ผลการประเมินตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม มีผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
ด้านร่างกาย เด็กมีร่างกายเติบโตตามวัย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุภัย และสิ่งเสพติด ด้านอารมณ์ จิตใจ มีคุณธรรมจริยธรรม ร่าเริงแจ่มใส มีความกล้าแสดงออก ชอบในการทำงานศิลปะ และการเคลื่อนไหวประกอบเพลง แสดงความรู้สึกได้เหมาะสมรู้จักยับยั้งชั่งใจ มีความภูมิใจในผลงานของตนเอง มีการแสดงออกถถึงการชื่นชมในผลงานของเพื่อน และรู้จักการแบ่งปัน ด้านสังคมมีการช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และห่างไกลจากการทุจริต ทำกิจกรรมและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและรักความสะอาดทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน และรวมถึงชุมชน การมีวินัย การรู้จักการอดออม การรู้จักความพอเพียงในตนเอง มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยการรู้จักการไหว้ การมีสัมมาคารวะ กับพ่อแม่ ผู้ใหญ่ และครูบาอาจารย์ และด้านสติปัญญา มีความสามารถในการคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ การคิดแก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจในเรื่องง่ายๆ ได้ สร้างสรรค์ผลงานตามความคิดและจินตนาการ และการเคลื่อนไหวประกอบเพลง รู้จักสนทนาโต้ตอบกับผู้อื่นและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจได้ สามารถเล่านิทานจากภาพให้เป็นเรื่องราวได้เหมาะสมกับวัย
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
โรงเรียนบ้านเกาะลิบงมีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและบริบทของท้องถิ่น มีครูที่จบการศึกษาปฐมวัยเพียงพอกับชั้นเรียน มีทักษะในการจัดประสบการณ์และประเมินพัฒนาการเด็ก ครูปฐมวัยได้เข้าร่วมการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง จึงมีทักษะในการจัดประสบการณ์และการพัฒนาการเด็ก มีการสังเกตและประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็ก ส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม มีการจัดบรรยากาศในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีมุมประสบการณ์ และสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ครูปฐมวัยมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก ผู้ปกครอง และชุมชน มีอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาครูอย่างเหมาะสมและเพียงพอ มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงคุณภาพสถานศึกษา พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัดอย่างต่อเนื่อง
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
โรงเรียนบ้านเกาะลิบงจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ จากการวิเคราะห์มาตรฐาน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ในหลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล และตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล จากการเรียนรู้ที่หลากกลาย เด็กได้เรียนรู้ ลงมือปฏิบัติจริง และหาคำตอบได้ด้วยตนเองครูจัดสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับเด็กโดยมีห้องเรียนที่กว้างขวาง สะดวกต่อการทำกิจกรรมต่างๆ สะอาด น่าอยู่ มีอากาศถ่ายเทสะดวก มีมุมประสบการณ์ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ใช้สื่อการสอนและสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็ก
2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.1 มาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
2.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
2.3 มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
ผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โรงเรียนบ้านเกาะลิบง จัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 –6 มีนักเรียน จำนวน 86 คน ครูผู้สอน 9 คน จัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2563 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานอื่น ๆ ผลการประเมินตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม มีผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
มาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพของผู้เรียน
ในด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่านออกตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้รู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นได้อย่างสร้างสรรค์ สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถวิเคราะห์จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญ จำเป็น รวมทั้งรู้เท่าทันสื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติดต่างๆ เลือกรับประทานอาหารที่สะอาดและมีประโยชน์ รักการออกกำลังกาย นักเรียนทุกคนสามารถเล่นกีฬาได้อย่างน้อยคนละหนึ่งประเภท ยอมรับในกฎกติกาของกลุ่ม ของสถานศึกษา ของสังคม มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และระหว่างวัย
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ โรงเรียนได้ใช้เทคนิคการประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่มเพื่อให้ทุกฝ่าย มีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายที่ชัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา และโรงเรียนได้ใช้กระบวนการวิจัยในการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
จากการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลายเพื่อให้เกิดกระบวนการการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา เกิดการสร้างโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีการบริหารจัดการเรียนเชิงบวก สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและแระเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียนรวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การให้ข้อมูลป้อนกลับ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
|