บทสรุปของผู้บริหาร
ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
โรงเรียนวัดห้วยนาง (วันครู 2501 ) ตั้งอยู่ เลขที่ 50 หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยนาง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92130 โทรศัพท์ 075-294080 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรังเขต 2
ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นายศรชัย สุขเจริญ เบอร์โทรศัพท์ 085 - 2263005
e-mail : 1092140115@pracharath.ac.th
มีบุคลากรทั้งสิ้น 20 คน จำแนกเป็น ผู้บริหาร 1 คน ข้าราชการครู 12 คน ครูอัตราจ้าง 3 คน ธุรการ 1 คน ลูกจ้างตำแหน่งอื่น ๆ 3 คน เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียน รวม 269 คน
ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
1. ระดับการศึกษาปฐมวัย มีบุคลากรครู จำนวน 3 คน นักเรียนจำนวน 43 คน
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
จุดเด่น เด็กมีน้ำหนัก-ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขมีร่างกายสมส่วน
เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว มีสุขภาพแข็งแรง มีพัฒนาการด้านอารมณ์- จิตใจดี เรียนรู้อย่างมีความสุข สุขภาพจิตดี มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น ร่วมกิจกรรมด้วยความสุข ด้านสังคม มีวินัย มีความรับผิดชอบ รู้จักช่วยเหลือ ประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทยได้เหมาะสมกับวัย มีทักษะทางด้านภาษา สามารถพูดคุย โต้ตอบสื่อสารได้
จุดที่ควรพัฒนา จัดกิจกรรมด้านการคิดรวบยอดทักษะทางด้านการใช้ภาษาในการสื่อสาร การ
อ่าน การพัฒนากระบวนการสอนที่เน้นทักษะการคิด จัดทำแผนการช่วยเหลือ การปลูกฝังด้านจิตอาสา เน้นการออกกำลังกายทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน เน้นกระบวนการ PLC มาใช้ในการแก้ไขปัญหา
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเลิศ
จุดเด่น โรงเรียนมีระบบการบริหารและการจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
ปฐมวัย มีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2563 ที่มีครู พ่อ แม่ ผู้ปกครองและชุมชน มีส่วนร่วม เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
จุดที่ควรพัฒนา กำหนดแผนการพัฒนาครูอย่างชัดเจน ส่งเสริมให้ใช้กระบวนการ PLC ในการ
แก้ไขปัญหาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมการใช้สื่อเทคโนโลยี ใช้วิธีการสอน การประเมินที่หลากหลาย จัดให้มีมุมประสบการณ์ที่เหมาะสมกับจำนวนเด็ก พัฒนาตนเองให้รอบด้านเพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก
ปัจจุบัน จัดหาสื่อการเรียนการสอนให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ ระดมทรัพยากรเพื่อสร้างสนามเด็กเล่นให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและเพียงพอกับจำนวนนักเรียน
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
จุดเด่น โรงเรียนมีครูผู้สอน ที่มีวุฒิ/ความรู้และประสบการณ์ด้านการดูแลเด็กปฐมวัย มีความ
มุ่งมั่น ตั้งใจ เข้าใจในพฤติกรรมและธรรมชาติของเด็ก ห้องเรียนมีพื้นที่เพียงพอในการจัดกิจกรรม มีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข
จุดที่ควรพัฒนา จัดวัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนให้เพียงพอต่อจำนวนเด็ก พัฒนา
ปรับปรุงเครื่องเล่นสนามและระบบสาธารณูปโภคให้เหมาะสม ครูจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ให้ครบทุกคน จัดหาสื่อเทคโนโลยีให้เพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน ส่งเสริมการทำกิจกรรมทั้งกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อยและจัดหาสื่อการสอนมาให้เพียงพอเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
จุดเด่น ผลการสอบการอ่าน RT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับดี ทุกด้าน ผลการทดสอบ NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ความสามารถด้านภาษาเพิ่มขึ้น 11.43 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพิ่มขึ้นทุกวิชา ยกเว้น คณิตศาสตร์ และเพิ่มมากสุดในวิชาภาษาไทย
คือเพิ่มขึ้น 7.56 นักเรียนมีผลการประเมินด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สูงกว่าค่าเป้าหมายของโรงเรียน เพราะมีโครงการพัฒนาคุณธรรมภายใต้การดูแลของมูลนิธิยุวพัฒน์ นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ อภิปราย ถอดบทเรียนได้เป็นที่ชื่นชมและเป็นแบบอย่างแก่โรงเรียนอื่น ๆ เนื่องจากโรงเรียนผ่านการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทางด้านการศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563
จุดที่ควรพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร ควรได้รับการปรับปรุง และร่วมกันหาแนวทางเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น มีการสอนซ่อมเสริมนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
จุดเด่น สถานศึกษามีการดำเนินงานพัฒนาวิชาการผู้เรียนรอบด้าน ตามหลักสูตรสถานศึกษา มีหลักสูตรท้องถิ่น ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และทักษะอาชีพ ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง ครูทุกคนมีวุฒิการศึกษาอย่างต่ำปริญญาตรี ครูมีการพัฒนาตนเอง โดยการอบรมออนไลน์ ร้อยละ 80 ครูมีผลงานเชิงประจักษ์ ดังนี้ ครู 3 คน ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการประกวดวิธีปฏิบัติที่ดี 1 นวัตกรรม 1 โรงเรียนสิ่งแวดล้อม ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครู 3 คน ได้รับการคัดเลือกเป็นครูผู้สอนดีเด่นเนื่องในวันครู
ครั้งที่ 64 พ.ศ. 2564 ของอำเภอห้วยยอด ครู 1 คน ได้รับรางวัลครูดีไม่มีอบายมุข สถานศึกษามีการมอบรางวัล ครูดีศรีห้วยนาง เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ครูในการทำงาน
จุดที่ควรพัฒนา เรื่องการจัดให้มีวัสดุอุปกรณ์ สื่อเทคโนโลยี ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการ เรียนรู้อย่างรอบด้าน และมีการนิเทศ ติดตาม ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลการประเมินอยู่ในระดับ : ดีเลิศ
จุดเด่น ครูมีความมุ่งมั่น ตั้งใจพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมที่เน้นทักษะกระบวนการคิด ให้ผู้เรียนได้ ปฏิบัติจริง ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สามารถประยุกต์ใช้กับการจัดการ เรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้และใช้ในกระบวนบริหารและการจัดการของสถานศึกษา ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียน รักการเรียนและอยากเรียนอยากรู้มากยิ่งขึ้น
จุดที่ควรพัฒนา ส่งเสริมให้ครูได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ PLC กันมากขึ้น เพื่อพัฒนางาน
ส่งเสริมให้ครูมีเครื่องมือในการวัดผลตรงตามสภาพจริง อิงตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดและให้ข้อมูล ย้อนกลับแก่ผู้เรียนทันที เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูใช้กระบวนการวิจัยมาจัดการ เรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
|