บทสรุปผู้บริหาร
ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
ชื่อโรงเรียน บ้านควนหนองยาง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4 ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง 92130 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
e-mail school_t138@hotmail.com
ชื่อผู้บริหารโรงเรียน นายสุทัศน์ จริยาโสวรรณ เบอร์โทรศัพท์ 087-6235519
จำนวนครูและบุคลากรทั้งหมด 7 คน จำแนกเป็น ข้าราชการครู 3 คน ครูอัตราจ้าง 2 คน เจ้าหน้าที่อื่นๆ 2 คน
ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
1. ระดับการศึกษาปฐมวัย
1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
1.3 มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
กระบวนการพัฒนา
การจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนบ้านควนหนองยาง ได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และ พันธกิจของสถานศึกษาไว้อย่างชัดเจน มีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะขับเคลื่อนการศึกษาระดับปฐมวัยได้แก่ การพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพ สำหรับโดยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา โดยให้มีการประสานความร่วมมือเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ ได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นซึ่งเอื้อประโยชน์ และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาเด็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคมและสติปัญญา คือ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการจัดการเรียนรู้ พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมกับเด็ก มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นมีความสุขในการ มีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐาน ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
ผลการพัฒนา
- มีการพัฒนาด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี ดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ คือเด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน เคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดี ใช้มือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดี ดูแลรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตนและปฏิบัติจนเป็นนิสัย ปฏิบัติตนตามข้อตกลงเกี่ยวกับความปลอดภัย
- มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้เด็กร่าเริงแจ่มใส คือเด็กแสดงอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสม อดทนในการรอคอย ยอมรับและพอใจในความสามารถ และผลงานของตนเองและผู้อื่น มีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดีออมีความมั่นใจกล้าพูด กล้าแสดงออก ช่วยเหลือแบ่งปัน เคารพสิทธิ รู้หน้าที่รับผิดชอบ อดทนอดกลั้น ซื่อสัตย์สุจริตมีคุณธรรม ชอบศิลปะดนตรี การเคลื่อนไหว
- มีการพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมเด็กช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีวินัยในตอนเอง ประหยัดและพอเพียงมีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียน มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย เช่น การไหว้ การยิ้ม ทักทาย และมีสัมมาคาราวะต่อผู้ใหญ่
- มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ เด็กสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัยพยายามค้นหาคำตอบ อ่านนิทานและเล่าเรื่องที่ตนเองอ่านได้เหมาะสมกับวัย
แนวทางการพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น
การดำเนิน โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัย และ โครงการอื่นๆ ตามแผนปฏิบัติการ การทำกิจกรรมเสริมสติปัญญาให้เหมาะสมตามวัย ส่งเสริมให้มีความคิดรวบยอด และการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง
1. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม
2.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
2.3 มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ
กระบวนการพัฒนา
โรงเรียนบ้านควนหนองยางมีกระบวนการพัฒนาและส่งเสริมความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนด้วยวิธีการ ที่หลากหลาย ตามโครงการพัฒนาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ส่งผลให้ผู้เรียนบรรลุและมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานเดิมในด้านความรู้ ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการต่าง ๆ และเน้นเรื่องการอ่านออกเขียนได้ โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคน อ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้น ป. 1 มีความสามารถในการสื่อสารภาษาไทย จัดกิจกรรมคิดเลขเร็วในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดคำนวณของผู้เรียน พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเทคนิควิธีสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน ใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ได้แก่ ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ ครูร่วมกันกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดผลและการประเมินผลแบบบูรณาการ ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ ให้ผู้เรียนอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาร่วมกัน ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างนวัตกรรม เช่นการจัดทำบันทึกการอ่าน แผนผังความคิด ชิ้นงาน โครงงานวิทยาศาสตร์และสิ่งประดิษฐ์ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล รวมถึงนำเสนอผลงาน นอกจากนี้ ได้มีการดำเนินการ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ส่งเสริมทักษะอาชีพโดยการให้ความรู้และฝึกลงมือปฏิบัติในการแปรรูปอาหาร อาหารคาว-หวานโดยนำวัตถุดิบ ในท้องถิ่นมาใช้ประกอบอาหาร การปลูกผักสวนครัว การบำรุงดูแลรักษาสวนปาล์มน้ำมัน การปลูกไม้ดอก ไม้ประดับบริเวณหน้าอาคารเรียน ส่งผลให้มีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ
ผลการพัฒนา
คุณภาพผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนโดยรวม ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้อยู่ในระดับ ดี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 80.98 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.78 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.46 และผลประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน อยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 84.62 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา เคารพในกฎกติกา ค่านิยมและจิตสำนึกตามที่สถานศึกษากำหนดโดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคมผู้เรียน มีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรม และประเพณี รวมทั้งภูมิปัญญาไทย ผู้เรียนยอมรับและ อยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้าน เพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรมและประเพณี ผู้เรียนมีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์และสังคม แสดงออกอย่างเหมาะสม ในแต่ละช่วงวัยสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข เข้าใจผู้อื่น
แนวทางการพัฒนาคุณภาพเพื่อยกระดับให้สูงขึ้น
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ชัดเจนขึ้น
2. การส่งเสริมให้ครูจัดทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ และเผยแพร่อย่างเป็นระบบ
3. จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของชุมชน
|