[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านทุ่งขี้เหล็ก
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านทุ่งขี้เหล็ก
วันที่   14   พฤษภาคม   2564
เข้าชม : 168
Bookmark and Share


 บทสรุปของผู้บริหาร

         

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา 

ชื่อ โรงเรียนบ้านทุ่งขี้เหล็ก ที่อยู่ - หมู่ที่ 6 ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง

ชื่อ ผู้บริหารโรงเรียน นางจินทนา  เหมะรักษ์ เบอร์โทรศัพท์ 081-0884439

จำนวนครู 7 คน จำแนกเป็นข้าราชการครู 4 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน วิทยากรอิสลาม 1 คน ครูจ้าง 1 คน จำนวนนักเรียน รวม  91  คน   จำแนกเป็นระดับอนุบาล 24 คน ระดับประถมศึกษา 67 คน

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

1.    ระดับการศึกษาปฐมวัย

1.1  มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของเด็ก  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

1.2  มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

1.3    มาตรฐานที่ 3  การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

คุณภาพของเด็ก

             เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา บรรลุตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด มีความพร้อมในการศึกษาระดับที่สูงขึ้น มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตร และมีแผนงานโครงการในการพัฒนาเด็กอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เช่น โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัย  โครงการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก

กระบวนการบริหารและการจัดการ

                    โรงเรียนบ้านทุ่งขี้เหล็ก มีการประเมินและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและบริบทของท้องถิ่น ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็ก ตรงความต้องการของครูและสถานศึกษา และจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จัดสภาพแวดล้อมอย่างปลอดภัย และมีสื่อเพื่อการเรียนรู้อย่างเพียงพอและหลากหลาย มีบริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่เหมาะสม  และต่อเนื่อง ส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษา และการปฏิบัติงานเน้นเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม จนได้รับการยอมรับจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

                โรงเรียนบ้านทุ่งขี้เหล็กจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างสมดุลเต็มศักยภาพโดยความร่วมมือของพ่อแม่ ครอบครัว ชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง และเป็นแบบอย่างที่ดี สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้ลงมือกระทำ และสร้างองค์ความรู้  ด้วยตนเองอย่างมีความสุข จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้โดยเด็กมีส่วนร่วม ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย ครูประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลายโดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมนำผลการประเมินที่ได้ไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

                จุดเด่น

                    เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ -จิตใจ สังคมและสติปัญญา บรรลุตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด      มีแผนงานโครงการในการพัฒนาเด็กอย่างองค์รวม ครอบคลุมพัฒนาการเด็ก ทั้ง 4 ด้าน มีการวางแผนพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่องโดยอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม

เน้นการจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย โดยเด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น

                จุดที่ควรพัฒนา 

                     สร้างเครือข่ายที่หลากหลายกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

                   สร้างเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย โดยประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง คณะครูปฐมวัยและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ปรึกษาหารือแนวทางในการดูแลพัฒนาและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้เด็กปฐมวัย มีการจัดอบรมให้ความรู้กับผู้ปกครองในการดูแลและพัฒนาเด็ก การส่งเสริมพัฒนาการเด็กจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจและการส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกันของทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้ปกครองจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่ถูกต้องและเหมาะสมตามวัย เข้าใจหลักการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในระดับปฐมวัย ทั้งนี้เพื่อร่วมกันรับผิดชอบการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยให้แก่เด็กปฐมวัยในสถานศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ

                    พัฒนาครูและบุคลากรสู่มืออาชีพ ส่งเสริมให้ครูปฐมวัยได้รับการการพัฒนาอย่างหลากหลาย  ทั้งการอบรม สัมมนาและศึกษาดูงาน  เพื่อนำความรู้มาพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการใช้สื่อที่หลากหลาย

                      การระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษา ดำเนินการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับเด็กปฐมวัยมากขึ้น เช่นปรับปรุงอาคารสถานที่และจัดภูมิทัศน์ จัดบรรยากาศห้องเรียนปฐมวัยให้มีความปลอดภัย สวยงาม แสงสว่างเพียงพอ และถูกสุขลักษณะเอื้อต่อการเรียน

                   การส่งเสริมการเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชนในการร่วมกันวางแผนให้เด็กได้เรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

   2.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2.1 มาตรฐานที่ 1  คุณภาพของผู้เรียน  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

2.2 มาตรฐานที่ 2  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

2.3 มาตรฐานที่ 3  กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

          จากการดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมต่างๆ ตามแผนปฏิบัติการ ส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งผลการประเมินโดยรวมของสถานศึกษาอยู่ในระดับดีเลิศ

            คุณภาพผู้เรียน

                   ผู้เรียนอ่านและเขียนได้เหมาะสมตามระดับชั้น สามารถสื่อสารภาษาไทยได้เข้าใจ ชัดเจน  สามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง  ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่งผลให้มีผลการประเมินการอ่าน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยด้านทั้ง 2 ด้านสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศและเพิ่มขึ้นจากที่ที่ผ่านมา  นอกจากนี้  ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ( NT/O-NET) มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา ผู้เรียนกล้าแสดงออก มีความคิดริเริ่ม และสร้างสรรค์ ผลงานด้วยความภาคภูมิใจ โดยมีการสืบค้นข้อมูล หรือแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง สามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดี สำคัญ จำเป็น รวมทั้งรู้เท่าทันสื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว     ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง  มีสมรรถภาพทางกายและน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ ตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติด     มีระเบียบวินัย  เคารพกฎกติกา  ระเบียบของสังคม  มีมารยาทงามและเห็นคุณค่าเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย  และ แสดงออกได้อย่างเหมาะสม จนเป็นเอกลักษณ์ของ สถานศึกษาเป็นที่ยอมรับของชุมชน  เป็นต้น

           กระบวนการบริหารและการจัดการ

                   ผู้บริหารมีความตั้งใจ  มีความมุ่งมั่น  มีหลักการบริหาร  และมีวิสัยทัศน์ที่ดีในการบริหารงาน  สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน และคณะกรรมการสถานศึกษามีความตั้งใจ และมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาท มีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ แบ่งโครงสร้างการบริหารงานเป็น ๔ กลุ่มงาน  ยึดหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SMB) ใช้เทคนิคการประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการ กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายที่ชัดเจน   มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และ นโยบายการปฏิรูปการศึกษา มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มี ความรู้ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานตำแหน่ง มีข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคม ที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้   ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ  มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา  ใช้กระบวนการวิจัยในการรวบรวม ข้อมูล เพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพ สถานศึกษา มีการระดมทรัพยากร เพื่อการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาจากผู้ปกครองนักเรียน ส่งผลให้โรงเรียนมี สื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

           กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                   ครูพัฒนาตนเองอยู่เสมอ  มีความตั้งใจ  มุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มเวลา และเต็มความสามารถ จัดกิจกรรมให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ  สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จัดกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้จากการคิดได้ปฏิบัติจริงด้วยวิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ ครูจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์นักเรียน และจัดกิจกรรม Active learning เพื่อส่งเสริมการคิดและปฏิบัติจริงทุกชั้นเรียน ครูได้รับการพัฒนาตามโครงการพัฒนาวิชาชีพ  และนำความรู้มาจัดทำแผนการเรียนรู้ พัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน และเครื่องมือวัดและประเมินผลผู้เรียนที่หลากลาย มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้  ทำวิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนละ 1 เรื่อง เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน 

                   จุดเด่น

                     ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถเหมาะสมตามระดับ มีทักษะการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต  และทักษะอาชีพ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 

                     กระบวนการดำเนินงานและการบริหารจัดการ  เน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยใช้กระบวนการ PDCA       เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษส่งผลให้เกิดสัมฤทธิ์ผลตามวิสัยทัศน์ ปรัชญา จุดเน้นและเป้าหมายที่กำหนด จนเป็นที่ยอมรับของชุมชนและท้องถิ่น 

                      ครูมุ่งมั่นในพัฒนาตนเอง และพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด

                     จุดที่ควรพัฒนา

           กระบวนการดำเนินงานและการบริหารจัดการ  ควรมีการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของสถานศึกษา อย่างรอบด้าน ทั้งด้านตัวผู้เรียนโดยการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลโดยใช้เครื่องที่เป็นรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียน ด้านตัวครู ศึกษารูปแบบเทคนิคการจัดเรียนการสอนที่หลากหลาย เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และด้านสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ภายในและภายนอก เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

        แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

                   การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้ชัดเจนขึ้น ส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ ส่งเสริมการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้มากขึ้น

                   พัฒนาบุคลากรโดยส่งเข้ารับการอบรม  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย  ติดตามผลการนำไปใช้  และผลที่เกิดกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง พัฒนาให้ครูเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คือ ลดภาระงานพิเศษให้น้อยลง จัดหาแหล่งเรียนรู้ สื่อ อุปกรณ์ อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ครูโดยเฉพาะ  มีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงาน เปิดรับ การเปลี่ยนแปลง และสิ่งใหม่ ๆ เปิดโอกาสด้านการแสดงออกทางความคิดอย่างเสรีมากขึ้น สร้างแรงจูงใจ ในการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เพิ่มมากขึ้น ส่งเสริมกิจกรรมร่วมคิด ร่วมทำ  เพื่อเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ร่วมกันของโรงเรียน โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ/อบรม/สัมมนา  และศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง            

                    สถานศึกษามีการประสานการระดมทรัพยากร โดยประสานทุกภาคส่วนเพื่อระดมทรัพยากรต่าง ๆ ทั้ง ความคิด ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา การปรับปรุงคุณภาพด้านต่าง ๆ ของโรงเรียน รวมถึงการระดมงบประมาณ  เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน พัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรภายในโรงเรียนและนำมาใช้ในการสร้างขวัญกำลังใจให้กับครูและบุคลากรภายในโรงเรียน

                    



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     ขายทอดตลาดครุภัณฑ์ยานพาหนะชำรุดและไม่จำเป็นไว้ใช้ในราชการต่อไป 6 ส.ค. 2564
     การเผยแพ่รการประเมินตนเองของสถานศึกษา 29 มิ.ย. 2564
     การเผยแพ่การประเมินตนเองของสถานศึกษา 29 มิ.ย. 2564
     การเผยแพร่การประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report:SAR) ปีการศึกษา 2563 16 มิ.ย. 2564
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านนำ้ฉา 9 มิ.ย. 2564


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.