[x] ปิดหน้าต่างนี้
T&T-2018 All rights reserved ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สพป.ตรัง เขต 2.

เรื่อง : เผยแพร่รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านเหนือคลอง
ผู้เขียน : โรงเรียนบ้านเหนือคลอง
วันที่   14   พฤษภาคม   2564
เข้าชม : 167
Bookmark and Share


 บทสรุปของผู้บริหาร

 

 

 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

โรงเรียนบ้านเหนือคลอง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๕  หมู่ที่  ๘ ตำบลบางกุ้ง  อำเภอห้วยยอด   จังหวัดตรัง    สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต ๒ โทรศัพท์ ๐๘๑–๓๘๘๑๙๗๓   e-mail : bnk-school@hotmail.com   เปิดสอนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๑  ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

ชื่อผู้บริหารโรงเรียน   นางสาววรรณา   คล้ายฉิม  เบอร์โทรศัพท์   ๐๘๑ - ๓๘๘๑๙๗๓

จำนวนครู ๗ คน  จำแนกเป็นข้าราชการครูจำนวน  ๕ คน  ครูอัตราจ้าง   จำนวน  ๒ คน จำนวนนักเรียน รวมทั้งสิ้น   ๘๒  คน จำแนกเป็นระดับชั้นอนุบาล จำนวน  ๑๙ คน และระดับชั้นประถมศึกษาจำนวน  ๖๓ คน

ผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

๑.      ระดับการศึกษาปฐมวัย

          มาตรฐานที่ ๑   คุณภาพของเด็ก  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

จุดเด่น

เด็กปฐมวัยมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน สุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง มีสุขภาวะอนามัยที่ดี มีพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย  ด้านสติปัญญา  ด้านอารมณ์ - จิตใจ และด้านสังคมเหมาะสมตามวัย  รู้จักระมัดระวังภัยจากบุคคล  สิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย ร่าเริงแจ่มใส มีความสุขเมื่อปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น  รู้จักอดทนในการรอคอย มีจิตอาสา พอใจในผลงานของตนเองและชื่นชมผลงานของผู้อื่น มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม  มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และพร้อมที่จะเรียนรู้ในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นไป 

 

จุดที่ควรพัฒนา

จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในด้านทักษะการคิด ทักษะภาษา การรู้จักการใช้ความคิดรวบยอดให้มากยิ่งขึ้น การรู้จักแก้ปัญหาที่เกิดในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เน้นการเสริมสร้างความมีระเบียบวินัยในตนเอง  การมีระเบียบวินัยต่อสังคม การซื่อสัตย์ ประหยัดและพอเพียง  ครูควรส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีความกล้าแสดงออก การเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง  

 

           มาตรฐานที่ ๒  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

จุดเด่น

โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่ครอบคลุมการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น และสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ยืดหย่น  มีการออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เตรียมความพร้อม ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม  มีแผนการจัดประสบการณ์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติจริง ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็กปฐมวัย  มีครูผู้สอนที่สำเร็จการศึกษาปฐมวัยและผ่านการอบรมพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีทักษะ ความชำนาญในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ร่มรื่น กว้างขวางและเอื้อต่อการจัดประสบการณ์ ห้องเรียนกว้างขวางมีแสงสว่างเพียงพอ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม  พร้อมทั้งมีสื่อและเทคโนโลยีที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์ เปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมในการประเมินและตรวจสอบคุณภาพภายในของสถานศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

โรงเรียนควรจัดครูปฐมวัยให้เพียงพอกับชั้นเรียน ส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีเครือข่ายทางการศึกษาให้กว้างขวาง โดยผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย  จัดให้บริการสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศที่หลากหลาย ดึงดูดความสนใจและตรงกับความต้องการของเด็กปฐมวัย

  มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

จุดเด่น

ครูผู้สอนจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้ง ๔ ด้าน อย่างเต็มศักยภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล  จัดทำแผนการจัดประสบการณ์จากการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัยได้รับประสบการณ์ตรงจากสื่อการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา  เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข จัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมเพื่อให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ  ตามความต้องการ ความสนใจ  ความสามารถ ของเด็กเป็นรายบุคคล เน้นการจัดประสบการณ์ตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  จัดบรรยากาศในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีมุมประสบการณ์และมุมกิจกรรมต่างๆหลากหลาย  มีพื้นที่แสดงผลงานเด็กปฐมวัย และมีการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามสภาพจริงอย่างต่อเนื่อง 

 

จุดที่ควรพัฒนา

การใช้สื่อและเทคโนโลยีควรเป็นสื่อที่เหมาะสมกับช่วงอายุ ระยะความสนใจและวิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยให้มากยิ่งขึ้น และในการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามสภาพจริงแล้ว ควรนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาการจัดประสบการณ์ในครั้งต่อไปอย่างเป็นรูปธรรมพร้อมทั้งใช้เครื่องมือในการประเมินพัฒนาการให้หลากหลายและสอดคล้องกับกิจกรรม กิจวัตรประจำวันของเด็กปฐมวัย   

สรุปผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ

 

      ๒. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                 มาตรฐานที่ ๑  คุณภาพของผู้เรียน   มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

จุดเด่น

ผู้เรียน มีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด  สามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในชีวิติประจำวันอย่างง่ายได้  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์สูงกว่าค่าเป้าหมายของสถานศึกษา  ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓  ปีการศึกษา ๒๕๖๓ มีค่าเฉลี่ยรวมความสามารถทั้ง ๒ ด้านสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ โดยสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยรวมร้อยละ ๕๑.๖๘ ระดับประเทศ มีค่าเฉลี่ยรวมร้อยละ  ๔๓.๙๗  ค่าความแตกต่างร้อยละ ๗.๗๑  นอกจากนี้มีค่าเฉลี่ยในการพัฒนาสูงขึ้นกว่าปีการศึกษา ๒๕๖๒  ร้อยละ  ๙.๕๓    และผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖  กลุ่มสาระ ภาษาไทย  วิทยาศาสตร์  ภาษาอังกฤษ  มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ และค่าเฉลี่ยรวมทั้ง ๔ กลุ่มสาระสูงกว่าระดับประเทศ โดยสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยรวมร้อยละ ๔๖.๕๘ ระดับประเทศ มีค่าเฉลี่ยรวมร้อยละ  ๔.๑๓  ค่าความแตกต่างร้อยละ  ๔.๔๕  และมีค่าเฉลี่ยในการพัฒนาสูงกว่าปีการศึกษา ๒๕๖๒  ร้อยละ  ๑๑.๖๘   ผู้เรียนมีการสร้างผลงานของตนเองได้ มีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรู้จักแก้ปัญหา  มีทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีในการสร้างอาชีพที่สุจริต  มีค่านิยมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์สูงกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ภูมิใจในสถาบันหลักของชาติและค่านิยมประเพณี วัฒนธรรมไทย  ยอมรับซึ่งความแตกต่างระหว่างบุคคล

 

จุดที่ควรพัฒนา

ผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑  ปีการศึกษา ๒๕๖๓ มีผลการทดสอบทั้งด้านการอ่านออกเสียงและด้านการอ่านรู้เรื่อง ต่ำกว่าระดับประเทศ  อีกทั้งผลการทดสอบมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าปีการศึกษา ๒๕๖๒ ร้อยละ ๑๔.๘๗  ควรยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และครูผู้สอนควรได้รับการพัฒนาตนเองในด้านการจัดการเรียนรู้ให้มีความชำนาญมากขึ้น  ผู้เรียนบางส่วนขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดความกล้าแสดงออกในทางที่สร้างสรรค์

                มาตรฐานที่ ๒  กระบวนการบริหารและการจัดการ  มีผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีเลิศ

จุดเด่น

โรงเรียนมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารและการจัดการคุณภาพของสถานศึกษา  มีแผนพัฒนาการศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่สามารถตรวจสอบได้   หลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่นสอดคล้องกับบริบทของชุมชนที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา   มีการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาทุก ๆ ๒ ปี โดยความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  มีแผนการพัฒนาวิชาการที่คำนึงถึงคุณภาพของผู้เรียน  ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนได้รับการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  สภาพแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคมเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ปลอดภัย มีแหล่งสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตที่เข้าถึงได้

 

จุดควรพัฒนา

โรงเรียนควรจัดให้มีการพัฒนาและการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ  ควรพัฒนาห้องปฏิบัติการต่าง ๆให้มีความพร้อมและเอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น  ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์  ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์  ห้องปฏิบัติการทางภาษา จัดให้ทุกห้องเรียนเป็น Learning Classroom และใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า

            มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ

จุดเด่น

โรงเรียนจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านกระบวนการคิดและการปฏิบัติจริง สามารถนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันได้ ครูผู้สอนทุกคนมีการผลิตสื่อการเรียนรู้อย่างหลากหลาย และเร้าความสนใจของผู้เรียน  มีการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล และนำผลไปสังเคราะห์เพื่อวางแผนพัฒนาการจัดการเรียนรู้ มีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้  ครูมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันผ่านกระบวนการ PLC

                    จุดที่ควรพัฒนา

ครูควรมีการใช้สื่อเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนให้สูงขึ้น ใช้เทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย  และครูทุกคนควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง เป็นระบบ ชัดเจน และสะท้อนข้อมูลย้อนกลับเพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ในคราวต่อไป

สรุปผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับคุณภาพ ดีเลิศ

 

แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น

             โรงเรียนปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทและนโยบายด้านการจัดการศึกษาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เน้นการจัดการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงและอาศัยสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยในรูปแบบที่หลากหลาย จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสามารถที่จะนำเสนอ อภิปราย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสมเหตุสมผล พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน การแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์  พัฒนาสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาให้เพียงพอ มีประสิทธิภาพและเข้าถึงได้ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือในรูปแบบกระบวนการ PLC ในการจัดการศึกษาให้มีความเข้มแข็งและเป็นระบบ



ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

     ขายทอดตลาดครุภัณฑ์ยานพาหนะชำรุดและไม่จำเป็นไว้ใช้ในราชการต่อไป 6 ส.ค. 2564
     การเผยแพ่รการประเมินตนเองของสถานศึกษา 29 มิ.ย. 2564
     การเผยแพ่การประเมินตนเองของสถานศึกษา 29 มิ.ย. 2564
     การเผยแพร่การประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report:SAR) ปีการศึกษา 2563 16 มิ.ย. 2564
     เผยแพร่รายงานการประเมินตนเอง SAR ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านนำ้ฉา 9 มิ.ย. 2564


ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
My Office V 6.4 - 2018 Copyright @T&T-2018 All rights reserved.