บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐ ตั้งอยู่เลขที่ 43/1 หมู่ที่ 4 ตำบลย่านซื่อ อำเภอกันตังจังหวัดตรัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต ๒ หมายเลขโทรศัพท์ 075-825819 เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้บริหารสถานศึกษาชื่อ นางปฐมาพร เบ็ดเสร็จ โทรศัพท์ 099-4692874 มีบุคลากรครูจำนวน 8 คน จำแนกเป็นข้าราชการครู 5 คน ครูอัตราจ้าง 2 คน เจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน 1 คน มีการจัดการศึกษา 2ระดับ คือ
1.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การศึกษาปฐมวัย (3-6 ปี) มีนักเรียนจำนวน 28 คน
2.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : ประถมศึกษา จำแนกเป็น
ประถมศึกษา มีนักเรียนจำนวน 44 คน
รวมทั้งสถานศึกษา มีนักเรียนจำนวน 77 คน
สถานศึกษามีผลการบริหารจัดการศึกษาในปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมมีโครงสร้าง และ การบริหารงานอย่างเป็นระบบ โดยมีการแบ่งการบริหารงานเป็น 4 ฝ่าย จัดระบบข้อมูลสารสนเทศ ผู้บริหารมีภาวะผู้นำที่ดี บุคลากรครูมีความรู้ความสามารถ และมีประสิทธิภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
ผลงานเด่นของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563
- รางวัลผลการขับเคลื่อนคุณภาพสถานศึกษาระดับจังหวัด ภายใต้โครงการ Coaching Teams
เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ระดับดี
- ได้รับรางวัลวิธีการปฏิบัติที่ดีการบริหารจัดการและจัดการเรียนการสอน (1 นวัตกรรม 1 โรงเรียน) ระดับดีเด่น ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
- โรงเรียนบ้านทุ่งอิฐเป็นตัวแทนกลุ่มยุวเกษตรกรดีเด่นระดับอำเภอกันตัง และได้รับการประเมินระดับจังหวัดเป็นตัวแทนแข่งขันระดับเขตจังหวัดภาคใต้
สรุปผลการประเมินคุณภาพภายในรายมาตรฐานของสถานศึกษาโดยภาพรวมในแต่ละด้านของ
สถานศึกษา มีดังนี้
1. ระดับการศึกษาปฐมวัย
1.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก มีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
1.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ
1.3 มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ
ในภาพรวมมีผลการประเมินระดับการศึกษาปฐมวัยอยู่ในระดับ ดีเลิศ
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในระดับปฐมวัย ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ทั้ง 3 มาตรฐาน มาจากผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ บรรลุวัตถุประสงค์ โดยโรงเรียนให้ความสำคัญของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีสุขภาพส่งผลให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด ผู้ปกครองให้ความไว้วางใจ นำบุตรหลานเข้าเรียนในสถานศึกษา เด็กมีพัฒนาการที่ดีทั้ง 4 ด้าน ได้ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม มีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดี เกิดการเรียนรู้ เกิดประสบการณ์ และมีความสุขในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ส่งผลทำให้เด็กมีความพร้อมที่จะอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข
จุดเด่น
- โรงเรียนมีการเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้มีการพัฒนาไปในทางที่ดียิ่งขึ้น
- ผู้เรียนมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย มีความสุขในการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ทำให้เด็กปฐมวัย มีการเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว มีการทรงตัวได้ดี มีอารมณ์ร่าเริง แจ่มใส กล้าพูดกล้าแสดงออก มีมารยาทเรียบร้อย มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน สามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เป็นอย่างดี
- โรงเรียนจัดกิจกรรมให้เด็กได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกสนาน มีพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน ที่เหมาะสมตามวัย
จุดที่ควรพัฒนา
- ควรพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมที่หลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน
- ควรจัดทำนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านต่างๆของผู้เรียน งๆของผมความต้องการขอ
- หารูมต่างๆ ทำให้เด
- ควรมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆให้มากยิ่งขึ้น ผ่านหลากหลายช่องทางที่มีความทันสมัย เพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น
- มีการส่งเสริมพัฒนาครูเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีการติดตามผลการนำไปใช้ต่อเนื่อง
- ส่งเสริมให้ความสำคัญกับผู้ปกครอง เพื่อร่วมดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีพัฒนาการที่สมวัย
- การนำผลการจัดประสบการณ์ของครู มาทำการวิจัยในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถมศึกษา)
2.1 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ
2.2 มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ
2.3 มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้น มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเลิศ
ผู้เรียนเป็นสำคัญ
ในภาพรวมมีผลการประเมินระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับ ดีเลิศ
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ทั้ง 3 มาตรฐาน โดยมีผลการประเมินสรุปอยู่ในระดับ ดีเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตามหลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรอบรู้ ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสา มีการสอนในรูปแบบโครงงาน ส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถพิเศษทางด้านวิชาการ ด้านดนตรี ด้านกีฬา สอดแทรกกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมทักษะอาชีพให้นักเรียนทุกระดับชั้น สามารถสร้างรายได้เสริมให้แก่นักเรียนได้ เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์หลีกเลี่ยงจากสิ่งอบายมุข และยาเสพติด มีโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเข้มแข็ง โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่พร้อมใช้งาน ด้านครูผู้สอนมุ่งเน้นการพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ โดยเน้นการศึกษาดูงาน เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ มีการนิเทศติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนมีระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนครูจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์นักเรียน และจัดกิจกรรม Active learning เพื่อส่งเสริมการคิดและปฏิบัติทุกชั้นเรียน และนำความรู้มาจัดทำแผนการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน และเครื่องมือวัดและประเมินผลผู้เรียน ด้านผู้บริหารมีสัมพันธภาพที่ดีกับบ้าน วัด และชุมชน โดยมีการประสานความร่วมมือกับชุมชนหรือหน่วยงานภายนอก เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนเป็นไปอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด
จุดเด่น
- สถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดค่าเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้สูงขึ้น
- ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด
- ด้านการบริหารจัดการศึกษา โรงเรียนได้ประสานความร่วมมือกับชุมชนหรือหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
- มีการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนได้เหมาะสม มีสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
- ครูมีความมุ่งมั่น ตั้งใจในการพัฒนาการเรียนการสอนให้กับนักเรียนอย่างเต็มความสามารถ
- ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีปราชญ์ชาวบ้านมาเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ให้กับนักเรียน
- ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
- ผู้เรียนมีความรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
จุดที่ควรพัฒนา
- การจัดการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
- มุ่งเน้นกิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามกลุ่มสาระต่างๆ
- ส่งเสริมกิจกรรมด้านการอ่าน การเขียน และคิดวิเคราะห์ให้กับนักเรียนมากยิ่งขึ้น
- การพัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ให้ผู้เรียนให้มีความสามารถในการอ่านออก สื่อสารได้ดียิ่งขึ้น
แนวทางการพัฒนาในอนาคตเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น
- การจัดกิจกรรมที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
- ส่งเสริมครูในการจัดกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้นวัตกรรมการเรียนรู้โดยการบูรณาการเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เน้นการคิดวิเคราะห์ โดยให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง ( Active Learning )
- ส่งเสริมให้ครูเข้ารับการพัฒนาตนเอง มีการอบรมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมติดตามนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
- ทางด้านนักเรียนมุ่งส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพและตามความสนใจพัฒนาความสามารถ
|